สสส.-สพฐ.-P2H ผนึกภาคี พัฒนาระบบ e-Learning เพศศึกษา

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข


ภาพประกอบจาก สสส.


สสส.-สพฐ.-P2H ผนึกภาคี พัฒนาระบบ e-Learning เพศศึกษา  thaihealth


สสส.-สพฐ.-P2H ผนึกภาคี พัฒนาระบบ e-Learning เพศศึกษา เพิ่มสมรรถนะแม่พิมพ์ของชาติ พบยอดสมัครเรียนแล้ว 3 หมื่นกว่าคน อบรมสำเร็จแล้ว 1.2 หมื่นโรง หวังขยายผลไปยังสังกัดอื่นทั่วประเทศ


วันที่ 26 ก.ย.62 ที่ห้องประชุม สพฐ.1 อาคาร สพฐ.4 ชั้น 2 จัดการแถลงข่าว “ผลการขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรมอนามัย มูลนิธิแพธทูเฮลท์ UNFPA มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย


สสส.-สพฐ.-P2H ผนึกภาคี พัฒนาระบบ e-Learning เพศศึกษา  thaihealth


นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาอิสระด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กล่าวว่า ข้อมูลจากสำนักการอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปีต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ข้อมูลปี 2555-2560 เท่ากับ 53.4, 51.1, 47.9, 44.8, 42.5 และ 39.6 ตามลำดับ แต่หากเทียบกับประเทศจีนที่มีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพียง 5 ต่อพันคน จึงเป็นความท้าทายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในบ้านเราที่ต้องเดินหน้าลดตัวเลขให้ต่ำลงอีก โดยกระทรวงศึกษาธิการนับว่ามีบทบาทสำคัญ ตามที่ระบุในมาตรา 6 พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 เพราะนอกจากจะต้องจัดให้มีการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแล้ว อีกหนึ่งบทบาทสำคัญคือการอำนวยความสะดวกและเปิดโอกาสให้เด็กที่ตั้งครรภ์ได้เรียนต่อตามระบบปกติด้วย


สสส.-สพฐ.-P2H ผนึกภาคี พัฒนาระบบ e-Learning เพศศึกษา  thaihealth


ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย พัฒนารูปแบบการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัดแบบบูรณาการ ตามแนวทางภารกิจ 9 ด้าน โดย 1 ในภารกิจที่ต้องขับเคลื่อนคือเรื่องการสอนเพศวิถีศึกษา ตามมาตรา 6 ของพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ที่กำหนดหนึ่งในสาระสำคัญให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน และจัดหาและพัฒนาผู้สอนให้สามารถสอนเพศให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษาและให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา จึงเป็นที่มาของการสนับสนุนระบบการเรียนเพศวิถีศึกษาแบบ Electronic-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูทั่วประเทศให้สามารถจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตให้กับผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต


สสส.-สพฐ.-P2H ผนึกภาคี พัฒนาระบบ e-Learning เพศศึกษา  thaihealth


ดร.พีระ รัตนวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า โปรแกรมพัฒนาครูเพศวิถีศึกษาแบบออนไลน์สำหรับผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย 8 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ เพศวิถีศึกษา, มองเรื่องเพศรอบด้าน, สังคม วัฒนธรรม และเพศวิถี, ครูกับการสื่อสารเรื่องเพศ, การจัดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, ห้องเรียนเพศวิถีที่นักเรียนมีส่วนร่วม, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศ ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดพบว่ามีผู้เข้ารับการอบรมแล้วทั้งหมด 41,706 คน แบ่งเป็นครู 37,836 คน ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษาและอื่นๆ 3,972 คน โดยมีครูที่เข้ารับการอบรมแล้วทั้งสิ้น 12,724 โรงเรียน (ในสังกัดสพฐ.) และครูที่ยังไม่ได้อบรม 17,388 โรงเรียน ส่วนแผนระยะยาวคือการขยายผลการอบรมไปสู่โรงเรียนในสังกัดอื่นๆทั่วประเทศ


ด้านนางสาวภาวนา เหวียนระวี ผู้อำนวยการมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโปรแกรมนี้มุ่งที่จะให้ครูเรียนรู้กระบวนการสอนเพศวิถีศึกษากับนักเรียนระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา โดยคาดหวังว่าครูที่ผ่านหลักสูตรแล้ว จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสู่การสอนจริงในห้องเรียน เพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิต รู้จักป้องกันตัวเอง และหากครูเข้ามาเรียนรู้หลักสูตรผ่านระบบ e-Learning นี้แล้ว ยังสามารถนำทักษะการสอนที่น่าสนใจไปประยุกต์สอนในวิชาอื่นๆได้ ไม่ใช่แค่เฉพาะเพศวิถีศึกษาเท่านั้น จึงขอใช้โอกาสนี้เชิญชวนครูและบุคลากรทางการศึกษาของทุกหน่วยงาน ทุกสังกัด สมัครเรียนรู้หลักสูตรทั้ง 8 Modules ผ่านทางเว็บไซต์ http://cse-elearning.obec.go.th


สสส.-สพฐ.-P2H ผนึกภาคี พัฒนาระบบ e-Learning เพศศึกษา  thaihealth

Shares:
QR Code :
QR Code