สสส.รณรงค์จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย

ที่มา : เว็บไซต์เดลินิวส์ 


ภาพโดย สสส.


สสส.รณรงค์จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย thaihealth


สสส.จับมือเครือข่ายฯ รณรงค์จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย เผยผลสำรวจ สำรวจ 5 พฤติกรรมสุดยี้ช่วงสงกรานต์ เมา ลวนลาม คุกคามทางเพศ อึ้งร้อยละ 48.7 เคยถูกลวนลาม


เมื่อวันที่ 9 เม.ย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จัดแถงข่าวรณรงค์รับมือสงกรานต์ ภายใต้แนวคิด “สงกรานต์ปลอดภัยปลอดเหล้าเคารพสิทธิ” ทั้งนี้ในงานได้ร่วมกันปล่อยขบวนสามล้อประชาสัมพันธ์ “สงกรานต์ปลอดภัย ปลอดเหล้า เคารพสิทธิ”


สสส.รณรงค์จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย thaihealth


น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. กล่าวว่า ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 พบคนไทยดื่มสุราร้อยละ 28.4 ที่น่าห่วงคือ 2.75 ล้านคนติดสุราหรือมีพฤติกรรมดื่มแบบอันตราย สำหรับสงกรานต์ ปี 2561 ศูนย์วิจัยปัญหาสุราพบคนไทยดื่มสุราร้อยละ 36 ผลกระทบรอบตัวมากมาย ทั้งปัญหาสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคตับแข็ง มะเร็งและหลอดเลือดสมอง รวมถึงเสียชีวิตจากอุบัติเหตุกว่าปีละ 20,000 คนปัญหาล่วงละเมิดทางเพศ ดังนั้น สสส.จึงขับเคลื่อนรณรงค์ให้คนไทยลดการบริโภคสุราเพื่อลดต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ อย่างเช่น การจัดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ปลอดเหล้า ปัจจุบันมี 164 แห่ง เช่น ถนนตระกูลข้าว 51 แห่ง และถนน พื้นที่เล่นน้ำต่าง ๆ อีก 113 แห่งตามแหล่งท่องเที่ยวและห้างสรรพสินค้าบางแห่ง จึงอยากชวนประชาชนให้ไปเล่นน้ำที่พื้นที่เล่นน้ำปลอดภัยเคารพสิทธิ เล่นน้ำแบบวิถีไทย ร่วมกันเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความสุขความปลอดภัยช่วงสงกรานต์นี้ด้วยกัน


สสส.รณรงค์จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย thaihealth


นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า มูลนิธิได้สำรวจความเห็นประชาชนอายุ 12 ปี–25 ปี 2,400 คนทั่วประเทศ ต่อเทศกาลสงกรานต์ตั้งแต่วันที่ 13-27 มี.ค.ที่ผ่านมา พบ ร้อยละ 48.7 เคยถูกลวนลามคุกคามทางเพศในช่วงสงกรานต์ ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงและน่าเบื่อหน่าย สร้างปัญหามากในช่วงสงกรานต์ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.เมาขาดสติ 2.ฉวยโอกาสลวนลามคุกคามทางเพศ 3.ทะเลาะวิวาท 4.อนาจารโป๊เปลือย 5.แว๊นซิ่ง ส่วนปัญหาอื่นคือเสียงดังอึกทึก โดนแซวพูดจาไม่ดีใช้อุปกรณ์อันตราย เช่น แมงลัก น้ำแข็ง ปืนแรงดันสูง บังคับให้ดื่มแอลกอฮอล์และดักรถเพื่อรีดไถเงิน ข่มขู่ ส่วนสาเหตุของพฤติกรรม ร้อยละ 32.9 มาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 20.4 การการบังคับใช้กฎหมาย ร้อยละ 19 คึกคะนอง ร้อยละ 15.3 ค่านิยมผิด ๆ และ 12.4 ไม่เคารพให้เกียรติผู้อื่น ทั้งนี้นอกจากเมาแล้วการลวนลามยังเป็นเพราะคิดว่าชายเป็นใหญ่และสงกรานต์คือโอกาสทอง อย่างไรก็ตามเราพบว่าคน ร้อยละ 59.1 ระบุว่าไม่ดื่มในช่วงสงกรานต์ ร้อยละ 89.6 เห็นด้วยควรจัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า และร้อยละ 73.5 เห็นด้วยควรงดขายสุราในวันที่ 13 เม.ย.


สสส.รณรงค์จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย thaihealth


ด้าน พ.ต.อ.เผด็จ ภู่บุบผากาญจน ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวว่า ปัญหาที่มักจะเกิดช่วงสงกรานต์และมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา อาทิ การคุกคามทางเพศ จับก้น จับหน้าอก อวัยวะเพศ กระทำอนาจารผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การอนาจาร เปลือย เปิดเผยร่างกาย หรือลามก โทษปรับไม่เกิน 500 บาท การเมาประพฤติตนวุ่นวายในที่สาธารณะ โทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท ส่วนความผิดเกี่ยวตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เช่น ห้ามขายให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี หรือขายให้คนเมาครองสติไม่ได้ โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ห้ามดื่มบนรถขณะรถอยู่บนทาง วิ่ง หรือจอดบนถนน โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การห้ามขายบนทาง ถนน ไหล่ทาง, ห้ามจัดส่งเสริมการขายลด แลก แจกแถม ก็มีโทษเท่ากันส่วนพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ.2522 กรณีเมาแล้วขับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5 พัน-2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Shares:
QR Code :
QR Code