สสส. บุกเบิกมาตรฐานงานวิ่งไทย วิ่งดี วิ่งดัง ปังระดับสากล
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ภาพประกอบจาก สสส.
"การวิ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางกาย ที่คนนิยมอันดับต้นๆ ของโลก โดยประเทศไทยมีนักวิ่งกว่า 17 ล้านคน มีการจัดวิ่งมาราธอนเกือบ 3 พันงาน ต่อปี แต่ก็ยังเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณเท่านั้น ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ มีคุณภาพตามมาด้วย โดยเอาสุขภาพนำ วิ่งแล้วไม่เกิดโรค ไม่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และต้องสนุกสนาน.." ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในสัมมนาแถลงงาน "GOOD GUY RUN DNA SEMINAR 2019" วิ่งดี วิ่งดัง ปังทุกงานวิ่ง งานที่ประเดิมจัดเพื่อร่วมกัน สร้างมาตรฐานสำหรับนักวิ่งไทยและ ผู้จัดการแข่งขันให้ก้าวสู่มาตรฐานวิ่ง ระดับชาติและนานาชาติ
ดร.นพ.ไพโรจน์ บอกต่อว่าสิ่งสำคัญ ที่กำหนดไว้เป็น DNA ของนักวิ่งมี 6 ประเด็นคือ 1.เอกสิทธิ์ไม่ขาดตอน คือเวลาสมัครวิ่ง จะได้รับ Bib เป็นเอกสิทธิ์ของเราจะขาย ให้ใครก็ได้ แต่จริงๆ มีปัญหามาก เพราะ Bib จะระบุตัวตน บัตรประชาชน ถ้าเกิดอะไรขึ้นแล้วทำข้อมูลผิดคนมันจะมี ผลกระทบมาก แน่นอนว่าไม่ผิดกฎหมาย ในแง่ของคุณธรรมจริยธรรมไม่ควรทำ 2. การตรงเวลา มาสตาร์ทตรงเวลา 3. ไม่แซง ไม่แทรก เพราะการวิ่งตัดหน้าอาจทำให้เกิดอันตราย 4. วิ่งครบไม่โกงเวลา 5. มีน้ำใจ 6. จบแบบเท่ๆ การได้ถ่ายรูปสวยๆ สะท้อนถึงการมีวินัยในการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ย้ำว่า ทั้ง 6 ข้อเป็น สิ่งสำคัญที่จะเกิดประโยชน์ต่อตัวนักวิ่งเอง และยังสามารถขยายต่อถึงสังคมโดยรวม เพื่อนฝูง ครอบครัว โดยใช้งานวิ่ง good guy Run เป็นตัวเริ่ม จึงอยากให้มาลองสัมผัสประสบการณ์นี้ด้วยกัน
รัฐ จิโรจน์วณิชชากร บริษัท MICE & Communication, บางแสน 21 กล่าวว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยเกิดปรากฏการณ์ Running Boom ซึ่งต่างก็มีมาตรฐานที่ดี แต่จำเป็นต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น ระบบการแพทย์ การดูแลความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดงานวิ่ง สำหรับ DNA ของ นักวิ่งทั้ง 6 ข้อ เห็นด้วยและควรช่วยกันรณรงค์อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่อง Bib เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าข้อมูลไม่ตรงจะมีปัญหามาก
เช่น ทั้งปัญหา Bib ไม่ตรง พอได้รางวัล จะรับรางวัลไม่ได้ รวมถึงกรณีมีปัญหาสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลที่บรรจุใน Bib เมื่อ คนที่เกิดปัญหาไม่ใช่ตัวจริง โทรหาญาติที่ ระบุไว้เพราะต้องการการตัดสินใจก็ปรากฏว่า ไม่ใช่ แล้วแพทย์ก็ไม่กล้าตัดสินใจเพราะไม่รู้ข้อมูลนั้นจริงหรือไม่
"เรื่องการแพทย์เป็นเรื่องใหญ่ ยิ่งปีนี้ มีนักวิ่งหมื่นกว่าคน ทีมแพทย์เครียดมาก เพราะไทยอากาศร้อน ระบบที่ทำต้องพร้อม ทุกอย่างต้องตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มี สิ่งที่ เราทำได้คือแจ้งนักวิ่งก่อนร่วมกิจกรรมให้ยอมรับกติกา ย้ำว่าตั๋ววิ่งคล้ายกับตั๋วเครื่องบินเปลี่ยนได้แต่ต้องแจ้ง เปลี่ยนได้แต่มีค่าธรรมเนียม หรืออาจเป็นตั๋วที่ซื้อแล้วห้ามเปลี่ยน" เจ้าของออแกไนซ์เซอร์จัดงานวิ่งชื่อดังกล่าว
บุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารบริษัท มูฟ เอเชีย จำกัด ออร์แกไนเซอร์ดังอีกราย กล่าวว่า ตนมองว่า ตอนนี้เกิดอุตสาหกรรมการวิ่งขึ้นมาก แต่กลับยังไม่มีมาตรฐานในการวิ่งมากนัก แค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยหลังจากที่ สสส. ทำการส่งเสริมเรื่องนี้มานาน รัฐบาล และเอกชนทุกระดับเริ่มเห็นความสำคัญมากขึ้นแล้ว โดยแต่ละหน่วยงานมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานแตกต่างกัน เช่น วิ่งเพื่อสุขภาพ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือเป็น Sport tourism เป็นต้น ดังนั้น เมื่อบ่งบอกคาแรคเตอร์ของงานวิ่งได้ ก็จะสามารถกำหนดมาตรฐานการวิ่งที่เหมาะสมกับงานนั้นได้ ดังนั้นวันนี้เริ่มแล้วก็มีโอกาสสูงที่จะสามารถสร้างมาตรฐานการวิ่งได้ ซึ่งหากทำได้ ก็จะมี 2 สิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องคือ 1. ตัวนักวิ่ง ภาคีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแรง 2. นักวิ่งไทยเริ่มมี จรรยาบรรณมากขึ้น ทำให้การทำงานในภาพรวมง่ายขึ้น มีเวลาไปดูแลกิจกรรม ด้านอื่นๆ เรื่องจริยธรรม จรรยาบรรณ เรื่องการซื้อขาย Bib เคยมีการลงโทษไม่ให้เข้าร่วม 3 ปี แต่สุดท้ายคนที่จะทำผิดเขาก็ทำอยู่ดี
มร.ทานากะ มานาบุ อดีตผู้บริหารระดับสูงของสมาพันธ์กรีฑาประเทศญี่ปุ่น และเป็นอดีตผู้บริหารระดับสูงรวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งของ Tokyo Marathon กล่าวว่า งานโตเกียวมาราธอนจะมีนักวิ่งที่มีชื่อเสียง มีประสบการณ์สูง ด้วยความที่รู้ว่าตัวเองมีชื่อเสียงจึงพยายามสร้างสถิติใหม่ๆ ของตัวเอง และมีมาตรฐานเรื่องการวิ่งสูงอยู่แล้ว ดังนั้นนักวิ่งกลุ่มอื่นๆ ที่เข้าร่วมก็จะมีการเรียนรู้ มาตรฐานที่ดี และเก่งไปพร้อมๆ กันด้วย
มร.คิมูระ ยาซึโตะ บริษัท R-bies ผู้ดำเนินการเรื่อง Race Technology and Registration, Participation and Database Management, Race management and operations กล่าวว่า ที่ญี่ปุ่นมีการใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมการวิ่งให้มีคุณภาพ เช่นการเปิดเว็บไซต์ เพื่อบันทึกข้อมูลรายการวิ่ง ข้อมูลนักวิ่ง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็น และประสบการณ์ในการวิ่งมาราธอนแต่ละสนาม ทั้งในแง่บวก และแง่ลบ และจากนั้นมีการประเมินและให้คะแนนแต่ละกิจกรรม หากหน่วยงานใดที่จัดกิจกรรมแล้วได้รับคะแนนเยอะก็จะมีผู้ไว้ใจให้คนที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมอีกในครั้งต่อไป
สำหรับ "กู๊ด กาย รัน ปีที่ 2 (Good Guy Run 2019)" จะจัดงานในวันที่ 1 ธ.ค.2562 ณ สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ โดยการ แข่งขันแบ่งเป็น 3 ระยะทาง ประกอบด้วย วิ่ง 13 กม. วิ่ง 5 กม. และ 2 กม. กิจกรรมเน้นส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานทั้งการจัดงาน และตัวนักวิ่งเอง ซึ่งภายหลังเข้าเส้นชัย นักวิ่ง จะได้ร่วมกิจกรรมการแปรอักษรเป็นสัญลักษณ์ รูปมือร่วมกัน โดยมีการบันทึกภาพมุมสูง เพื่อแชร์พลังความดีให้ทั่วประเทศและทั่วโลก ได้รับรู้ โดยสามารถติดตามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ทางTHAIJOGGING.ORG และทางเฟซบุ๊ค แฟนเพจ GoodGuyRun