สสส. ขับเคลื่อนบริการสุขภาพดิจิทัล

ที่มา : มติชน


ภาพประกอบจาก สสส.


สสส. ขับเคลื่อนบริการสุขภาพดิจิทัล thaihealth


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) เปิดเวที "ThaiHealth Academy Forum 2019" ครั้งแรก ภายใต้แนวคิด "Digital Health (สุขภาพดิจิทัล)" ลุยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พร้อมหนุนให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมขับเคลื่อนระบบสุขภาพด้วย Digital Health ในอนาคต


ปฏิเสธไม่ได้ว่าคลื่นลูกใหญ่ "Digital Health" จะมีบทบาทช่วยพัฒนาระบบการบริการสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันการใช้ Digital Health ยังถือว่ามีความท้าทายและความกังวล อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับประเด็นจริยธรรม กฎระเบียบ และความปลอดภัยในการจัดการข้อมูล เวที "Academy Forum" จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่ สสส. หวังจะช่วยเพิ่มสมรรถนะให้แก่ภาคีเครือข่าย ได้รู้เท่าทัน-ใช้งาน Digital Health ที่กำลังเป็นกระแส โดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมการปาฐกถาพิเศษ การเสวนา การสร้างความสัมพันธ์และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ รวมถึงมีกิจกรรมฐานการเรียนรู้อีก 12 ฐาน


สสส. ขับเคลื่อนบริการสุขภาพดิจิทัล thaihealth


ณัฐพันธุ์ ศุภกา รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. กล่าวในการประชุมวิชาการ "ThaiHealth Academy Forum 2019" หัวข้อ "สสส. กับ Digital Health" ว่า ที่ผ่านมาจะเห็นการขับเคลื่อนในเรื่องของภาคนโยบาย วิชาการ ประกอบธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Health ที่ช่วยยกระดับการทำงาน เพิ่มทักษะการเปลี่ยนพฤติกรรมให้สุขภาพดีขึ้น นำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมให้คนรอบรู้และ รู้เท่าทัน ซึ่งปัจจุบันได้ก็พยายามขับเคลื่อนงานโดยใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ มุ่งเน้นไปที่ 1. ข้อมูล โดย จะทำให้ระบบข้อมูลมีความเรียลไทม์และละเอียดมากขึ้นในระดับบุคคล หมู่บ้าน ชุมชน เพื่อจัดการแก้ปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่ เช่น สถิติบุหรี่ เหล้า จะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลที่เร็วขึ้น และที่สำคัญสามารถมอนิเตอร์ข้อมูลได้


2. การยกระดับการให้บริการสุขภาพ เช่นเรื่องเวชระเบียน สิทธิ ประวัติผู้ป่วย จะเน้นให้มี การเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้บริการและโรงพยาบาล เพื่อออกแบบการทำงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน มากขึ้น และ 3. มุ่งพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ ที่กรองและส่งข่าวสารด้านสุขภาพที่ ถูกต้องไปสู่ระบบออนไลน์


สสส. ขับเคลื่อนบริการสุขภาพดิจิทัล thaihealth

          

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "Digital transformation : แนวโน้มและความท้าทายของโลกสุขภาพในยุคดิจิทัล" ใจความตอนหนึ่งว่า ปัญญาประดิษฐ์หรือที่เรียกกันว่า "AI" ถูกนำมาใช้ในระบบสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการจดจำและวิเคราะห์จากภาพต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน AI และระบบดิจิทัลที่เอามาใช้ด้านสุขภาพ หลักๆ มี 4 ด้าน ได้แก่ 1. ส่งเสริมและป้องกันโรค เช่น อุปกรณ์ในการใช้วัดการเดิน ค่าการของเต้นหัวใจ ซึ่งมีระบบแจ้งเตือนที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยที่เป็น ความดันโลหิตสูง ปกป้องตัวเองได้เร็วขึ้น เป็นต้น 2. การวินิจฉัย เช่น ดูภาพถ่ายลักษณะของผิวหนังว่าเป็นมะเร็งผิวหนังหรือไม่ 3. การรักษา เช่น การใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดอวัยวะภายในในส่วนที่มือคนไป ไม่ถึง และ 4. การฟื้นฟู เช่น การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ออกแบบและผลิตอวัยวะเทียม


นอกจากนี้ AI ยังสามารถที่จะวิเคราะห์โครโมโซมจากน้ำลายของผู้ป่วยว่าเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้นำวิธีการนี้มาใช้ตรวจในกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และในอนาคตก็อาจสามารถวิเคราะห์จาก DNA แล้วรู้หน้าตาคนได้ เป็นต้น


"AI เก่งกว่าคน แต่มีสิ่งหนึ่งที่จะเหนือกว่า AI คือ ไซบอร์ก โดยให้คนตัดสินใจ และ AI ช่วยคิดตาม ซึ่งเราต้องเอา AI มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยต้องนำ AI มาจับคู่คนให้ได้" 


บนเวทีเสวนาเรื่อง "การขับเคลื่อน Digital Health ในไทย" มีประเด็นที่น่าจับตามองอยู่หลายเรื่อง โดย นพ.อนันต์ กนกศิลป์ ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สป.สธ. ได้กล่าวถึงภาคนโยบายในการ ปรับปรุงระบบสุขภาพว่า โครงสร้างนโยบาย กฎระเบียบต่างๆ ที่ออกมา มีทั้งโอกาสและต้อง พึงระวัง ซึ่งในเดือนตุลาคมนี้จะคิกออฟ "HL7 FHIR" จะเชื่อมทุกระบบเข้าหากันและสามารถสืบค้น ย้อนหลังได้ โดยเฉพาะระบบยา และพยายามผลักดันให้เกิดมาตรฐานกลาง รวมถึงทำอย่างไรให้กองทุนต่างๆ ยอมรับได้


ขณะที่ จักร โกศัลยวัตร นายกสมาคมเฮลท์เทคไทย มองว่า โมบายเฮลท์ เป็นทั้ง โอกาสและเข้าถึงง่ายที่สุด แต่ด้วยปัจจุบันไทยทำเรื่อง "Sick Care" มากกว่า "Health Care" ทุกคนแยกกันทำเรื่อง "Health Tech" จึงมองว่าไม่เกิดการทำงานร่วมกัน เป็นผลให้สิ้นเปลืองงบประมาณหรือไม่ หรือทำให้การรักษาไม่ดีเท่าที่ควร และ ผู้ป่วยยังล้นโรงพยาบาลหรือไม่


อย่างไรก็ตาม ผู้ร่วมเสวนาก็ได้มองไปในทิศทางเดียวกันว่า สิ่งสำคัญคือ "แฟลตฟอร์ม" ที่จะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพราะหากมีข้อมูลที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน ความปลอดภัยจะเกิดขึ้นสูงและด้านผู้ป่วยเอง ก็จะได้รับการดูแลที่ดีขึ้นตามไปด้วย


ทั้งหมดนี้ เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่สร้างความเข้าใจและการเรียนรู้นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ซึ่งจะมีการนำไปใช้ประโยชน์ในงานสร้างเสริมสุขภาพให้ได้เกิดผลเป็นรูปธรรมเร็ว แค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไป

Shares:
QR Code :
QR Code