สวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ

        จาก “สวดมนต์ข้ามปี” สู่ “สวดมนต์สร้างปัญญาพัฒนาสุขภาวะ” ประสบการณ์จริง จากผู้สวดภาวนา ทั้งสร้างค่านิยมและนวัตกรรมใหม่ๆ ในพื้นที่


สวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ thaihealth


        เมื่อวันอังคาร-พุธ ที่ ๑๗-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ณ วัดปัญญานันทาราม ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในเวที “แลกเปลี่ยนประสบการณ์โครงการสวดมนต์ สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ ระดับประเทศ ครั้งที่ ๑” ซึ่งจัดโดย เครือข่ายประชาคมสร้างเสริมสุขภาวะ(คปสส.)และสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีผู้เข้าร่วมจากหลากหลายกลุ่มทั้งพระสงฆ์ โต๊ะอิหม่าม คริสตชน ภาครัฐ ประชาชนและประชาคมกว่า ๑๔๐ รูป/คน


      นายประญัติ เกรัมย์ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า  การจัดในรูปแบบเวทีทำนองนี้ เน้นการเปิดใจใช้ปัญญาเพื่อพัฒนาสุขภาวะทั้งกาย จิต สังคมให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันในนามศาสนิกสัมพันธ์ คือ เพื่อการเข้าใจศาสนาตนอย่างแจ่มแจ้ง เข้าใจศาสนาเพื่อนอย่างแจ่มชัด และสุดท้ายคือไม่หลงทุนนิยมติดการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยนั่นเอง กลุ่มบุคคลที่มีหัวจิตหัวใจในการเข้าร่วมจัดกิจกรรมสวดมนต์ภาวนาข้ามปี ในโครงการสวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ ที่ผ่านมา ประกอบด้วย ๓ กลุ่มหลักจาก ๓ ศาสนา คือ พุทธ(สวดมนต์ภาวนา) คริสต์ (มิสซา) อิสลาม(ละหมาด) โดยแต่ละกลุ่มพยายามจัดกิจกรรม ทำกระบวนการและหารูปแบบให้คนที่มาร่วม ได้มีโอกาสเข้าใจเข้าถึงและน้อมนำหลักธรรม พิธีกรรมไปใช้กับตนเอง ชุมชนหรือองค์กรได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละศาสนา


    สวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ thaihealth   “การจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์โครงการสวดมนต์ สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ ระดับประเทศ ครั้งที่ ๑ ครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการเชิญชวนให้เพื่อนศาสนิกในศาสนาคริสต์และอิสลาม ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและสังเกตการณ์หลักคิดและกระบวนการสวดมนต์ สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะตามแบบพุทธศาสนา โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์โครงการสวดมนต์ สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ ครั้งที่ ๒-๓ จะมีการประสานงานเพื่อจัดในศาสนาสถานของเพื่อศาสนาศาสนาคริสต์และอิสลามตามความเหมาะสมต่อไป” นายประญัติ เกรัมย์ กล่าว


สวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ thaihealth      กิจกรรมภาคเช้าเริ่มต้น ด้วยภารภาวนา ๓ ศาสนา และทบทวนลำดับโครงการสวดมนต์สร้างปัญญาพัฒนาสุขภาวะที่ผ่านมาทั้งโครงการฯ พร้อมให้ผู้แทนแต่ละภาคมานำเสนอกิจกรรมในโครงการสวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ ที่ทำมา พร้อมกับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยมีโจทย์ท้ายทายอยู่ ๓ ข้อ คือ


      ๑)ยกตัวอย่างกระบวนการสวดมนต์ที่เกิดให้เกิดปัญญาที่ทำมาแล้ว


      ๒)สนใจทำโครงการฯต่อหรือไม่


      ๓) ถ้าทำต่อจะทำอย่างไร ต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง


       ช่วงบ่ายกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โครงการสวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะเปลี่ยนไปเป็นแบบ เชิญตัวแทนศาสนาและภาค มาเล่าผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมสวดมนต์สร้างปัญญาฯที่ผ่านมา พร้อมเปิดเวทีให้คนอื่นๆที่มาได้ร่วมนำเสนอและแลกเปลี่ยน พร้อมกับคำถามเชิงท้าทายว่า ปีใหม่ไทย และวันสำคัญทางศาสนาเราจะเข้าไปร่วมบูรณาการให้มีการสวดมนต์สร้างปัญญาอย่างไร และตลอดการร่วมกิจกรรมทั้งวัน เราได้อะไรจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหากนำไปใช้ จะบูรณาการอย่างไร


      พระครูศาสนกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดสวนสมบูรณ์ อ.ละแม จ.ชุมพร กล่าวว่า  อาตมามีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมนี้  ได้องค์ความรู้ในการทำการสวดมนต์มากหมาย มีหน่วยราชการ คือ ท่านนายอำเภอมาร่วมผ่านการเชื่อมประสานงานของประชาคมจังหวัดชุมพรให้มาร่วมงานกัน มีการตั้งเป้าให้งานดูดี มีสาระ ที่ออกมาน่าสนใจ อาตมาได้ทำภาพนกยูงจากดอกไม้ไว้ถ่ายรูปที่หน้าวัด จัดกิจกรรมจูงลูกหลายทานขนมฟรีมีโรงทานฟรีจากชาวบ้าน ดูการละเล่นของชุมชน ลอดซุ้มมงคล ไหลน้ำสรงพระ ปีนี้ทำให้คนมาเยอะมากกว่าทุกปี ได้คนรุ่นใหม่เยาวชนมาร่วมกับปู่ย่า มีกิจกรรมนั่งแคร่แลลูกหลานให้ลูกหลายมารดนำขอพรจากผู้ใหญ่


      “หลังจบสวดมนต์ข้ามปี ได้จัดกิจกรรมสวดมนต์สร้างปัญญา ด้วยการเดินเท้าจากวัดสู่หมู่บ้านจากหมู่บ้านสู่โรงเรียนจากโรงเรียนสู่วัด ทำไปใน ๘ วัด ๙ โรงเรียน อาตมาเห็นว่าพอไทยเปิดอาเซียน ลัทธิจะเข้ามาเยอะมาก ถ้าเราไม่รุก คนในวัดจะหายไป มีกิจกรรมพิเศษขึ้นด้วย คือ ในโรงเรียนนั้นๆ ถ้าใครไหว้พระได้เราจะให้ทุนการศึกษาตามเนื้อหาหลักสูตรที่วางไว้ ครูเราก็ให้ด้วย ครอบครัวที่ทำกิจกรรมไหว้พระเราจะมีทุนให้ด้วย เขาจะได้ไหว้พระเป็น ถ้าเราไม่สร้างคนรุ่นใหม่ คนก็จะน้อยและหมดไปในที่สุด วัดและโรงเรียนที่เราประสานก็เต็มใจที่จะทำ ที่ภูมิใจมากคือ หมู่บ้านที่พะโต๊ะเขารับและจะไปทำต่อเป็นกิจกรรมไหว้พระในหมู่บ้าน มีครูให้ความร่วมมือนักเรียนมาร่วมกิจกรรมกว่า ๗๐๐ คนในการเดินทางไปแต่ละหมู่บ้าน นี่เป็นเรื่องดีมากๆ”


       นายเรืองยศ ณ สิงห์บุรี จากทีมงานโครงการสวดมนต์สร้างปัญญาให้ภาคกลาง กล่าวว่า “มาปีนี้มีสวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ thaihealthความมหัศจรรย์ คือ หลายๆวัดไม่ต้องรอการหนุนเสริมจากเรา จัดกันเอง เด็กๆเยาวชนเข้าไปร่วมกิจกรรมด้วยตนเอง จบจากสวดมนต์ข้ามปี เราก็ออกแบบกิจกรรมที่จะเสริมสร้างปัญญาได้ เราก็เลยจัดกิจกรรมปั่นจักรยานสร้างปัญญาด้วยการไปวัดสนทนาธรรมกับพระกับบาทหลวงและโต๊ะครู เรียนรู้ประวัติศาสตร์และหลักธรรม คุณธรรมต่างๆในการเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน คนที่ไปด้วยมีทั้งเยาวชนและชาวบ้านที่รอรับในแต่ละจุด และยังมีการปั่นสร้างสามัคคีสานเครือข่ายทำดีสวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ thaihealthภาวนาไปถวายพระพรในหลวงพร้อมกับรณรงค์ ๗ วันอันตรายด้วย  มีการรวมกลุ่มเด็กๆ มาทำกิจกรรมวาดภาพสื่อธรรมะสื่อชีวิตและอบายมุข ก่อนกิจกรรมเราจะมีการสวดมนต์และภาวนาเพื่อให้ใจนิ่ง นวัตกรรมเราคือ เราได้นำเอาศิลปะ ดนตรี กีฬา และสวดมนต์ มาผสมกันให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างปัญญาแบบของภาคกลาง ซึ่งได้รับคำชมและความสนใจเป็นอย่างมาก”


       ด้าน นายเอ นพรัตน์ คณะทำงานโครงการสวดมนต์สร้างปัญญาพัฒนาสุขภาวะคาทอลิกไทย จากสำนักเลขาธิการกรรมาธิการฝ่ายสังคม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผมขอขอบคุณที่ได้รับโอกาสดีๆในการนำเสนอกิจกรรมสวดมนต์สร้างปัญญาของคาทอลิกและที่พิเศษเหนือความคาดหมาย คือได้เป็นตัวแทนชาวคริสต์เพียงคนเดียวในการถ่ายทอดผลงานดี ๆ ที่เกิดขึ้นของชาวคริสต์ในการสวดมนต์ข้ามปี 2557 ที่ผ่านมา สำหรับผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมนี้ ผมขอสรุปอย่างนี้ คือ เราได้เห็นข้อมูลและจำนวนของวัด/โบสถ์ที่ทำมิสซาและภาวนาข้ามปีมากขึ้นในสื่อต่างๆที่เราประสานกันอยู่ คณะทำงานได้เรียนรู้กิจกรรมใหม่ๆในการดึงชุมชนเข้ามาใกล้ชิดและการทำให้วัด/โบสถ์เป็นศูนย์กลางการทำดี ศูนย์รวมจิตใจอีกครั้ง ชาวบ้านสนใจเข้ามาสวดมนต์มากขึ้น เพราะเป็นกระแส เห็นพี่น้องร่วมกันสวด นอกจากนี้ เริ่มมีเด็ก เยาวชนและมากันเป็นครอบครัว เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์มากขึ้นสำหรับคนที่อยากสวด ที่สำคัญเป็นกระแสให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดผู้นำศาสนาในชุมชน เปิดตัวและปรับตัวในการสวดมนต์แบบเดิม ไม่ใช่จบแค่พิธีกรรม แต่มีการตั้งวง มีเวทีสนทนา ทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในชีวิตได้ด้วย ที่น่าสนใจมากคือ มีการขยายผลไปในชุมชนคริสต์หลายๆแห่ง และยังต่อยอดมาที่กิจกรรมประจำปี ”เทศกาลมหาพรต” ที่เป็นโอกาสขอการอดออมเพื่อผู้อื่นๆและทำดีให้กับตนเอง


      “เราจะเห็นว่า เราก็แพร่ธรรมได้และสิ่งที่คาทอลิกเราทำกันมาชั่วชีวิต ก็มีหลายสิ่งที่ดีไม่ด้อยกว่า บางทีก็นึกเสียดายและสงสารพระเยซู พระองค์คงจะต้องถูกตรึงอย่างนี้อีกนาน ถ้าคริสตชนยังไม่กล้าที่จะออกจากศาสนาตัวเอง ออกจากกรอบแคบๆ  และทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ พระเยซูพยายามทำเรื่องธรรมะที่เป็นเรื่องเข้าใจยากนั้น ให้เข้าใจง่าย ผ่านอุปมา เปรียบเทียบและการกระทำ คนงานของพระองค์ จึงไม่ควรสูงส่ง และทำให้ธรรมะที่ยากอยู่แล้วนั้นกลับยากขึ้นไปอีก จนมนุษย์ปุถุชนท้อใจและทิ้งไป”


      ส่วน พระปลัดระปลัดกิตติศักดิ์ รองเจ้าอาวาสวัดลานสัก ผู้แทนเครือข่ายประชาคมจังหวัดอุทัยธานี จากภาคเหนือตอนล่าง กล่าวเพิ่มไว้อย่างน่าสนใจว่า “การทำกิจกรรมสวดมนต์สร้างปัญญาพัฒนาสุขภาวะ อาตมาได้ทำผ่านกระบวนการสวดมนต์แปล ร่วมกับวัดในอุทัยธานีนี่ทำ ๙ วัดนำร่อง เมื่อประเมินแล้วด้วยการลงในพื้นที่จริง ทุกท่านพอใจมาก อยากทำต่อให้เป็นรูปธรรมขึ้น เห็นว่ามีกิจกรรมทำให้รู้ความหมายและการนำหลักธรรมไปใช้มากขึ้นในปีใหม่ หลังสวดมนต์เรามีการลงพื้นที่ไปในสถานศึกษาระดับเล็ก กลาง ใหญ่ รวม ๘ จุด โดยเข้าไปรวมในชั่วโมงสวดมนต์ประจำสัปดาห์ เล่าอานิสงส์ และให้ธรรมะที่เด็กๆนำไปใช้และร่วมกิจกรรมนำไปใช้ต่อในบ้านได้จริงๆ ตอนนี้มีจัดทุกเดือน นี่คือสิ่งที่เราทำ มันออกดอกออกผลและเป็นประโยชน์มากกว่าสวดมนต์แค่ปีใหม่วันเดียวแล้วจบๆไป”


    สวดมนต์สร้างปัญญา พัฒนาสุขภาวะ thaihealth   ด้านตัวแทนประชาคมภาคอีสานตอนล่าง นางกัญญานันท์ ตาทิพย์ เล่าเรื่องราวผลพลอยได้ที่น่าสนใจจากโครงการฯไว้ว่า “โครงการนี้ทำให้คนในอีสานตอนล่างเกิดปัญญาในมิติต่างๆ กิจกรรมนี้ได้เป็นเครื่องมือในการกวนคน ทั้งประชาคมและหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ด้านศีลธรรมกระตือรืนร้นในการทำกิจกรรม  มีภาคีใหม่ๆเพิ่มขึ้นจากโครงการฯ เช่น มีทหารมาเข้าร่วมจาก จทบ.บุรีรัมย์ นอกจากนั้น กิจกรรมนี้ยังไปกวนเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นกลุ่มก้อนที่ไม่เคยทำกับเรามาก่อนมาร่วมงานหลายพื้นที่ จะเห็นได้ว่า การเคลื่อนตัวของโครงการนี้ มีกระบวนการเตรียมคน เข้าใจ ออกแบบการทำงาน ขอยกตัวอย่างภาพที่ชัดที่สุด ซึ่งเราถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ คือ จ.บุรีรัมย์ ที่คนทั่วไปมักจะนึกถึงงานกีฬาบวกเบียร์ช้าง แต่เชื่อไหมว่า งานกาชาดที่ผ่านมา ในงานได้บวกกระบวนการสร้างสุขด้วยการสวดมนต์ข้ามคืนทุกคืน จนส่งผลทำให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุลดลงอย่างน่าสนใจ และเรายังเอากิจกรรมนี้ไปพ่วงกับนโยบาย ๙ ดีของจังหวัดด้วย มันทำให้หมู่บ้านศีล ๕ มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ตัวชี้วัดเรื่องอบายมุขและความสุข มีรูปธรรมจับต้องได้ เพราะทั้งวัฒนธรรมจังหวัดและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด พูดถึงหมู่บ้านต้นแบบและพื้นที่รูปธรรมเหมือนเรา ทั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดร่วม”


       หลายเรื่องราวยังคงสะท้อนผ่านการเสวนาแบบเปิดอย่างเป็นกันเอง แม้หลายคนอาจไม่ได้แบ่งปัน แต่รอยยิ้มและแววตาแห่งความเบิกบานในการรับฟังเรื่องราวดีๆของเพื่อนร่วมโครงการฯ ทำให้พลังความดีแผ่ขยายครอบคลุมอย่างสงบเย็น เราปิดเวทีด้วยกิจกรรมภาวนา “ดอกไม้ในมือฉัน สู่ ดอกไม้ในใจเธอ” ให้แต่ละท่านหยิบดอกไม้ เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนมอบให้กันและกัน เพื่อทำความรู้จักกับคนที่เราอยู่ด้วยทั้งวัน ในอันที่จะสานพลังเสริมเครือข่ายนักพัฒนานวัตกรรมสวดมนต์สร้างปัญญาให้แผ่ขยายมากขั้นไปในที่สุด


 


 


       ที่มา: คณะทำงานสวดมนต์สร้างปัญญาพัฒนาสุขภาวะ

Shares:
QR Code :
QR Code