สร้างสุขแห่งการอ่าน เปิดโลกแห่งการเรียนรู้

          โครงการสถานศึกษาต้นแบบชุมชนอ่านสร้างสุข" ปี 2557 ต่อเนื่องจากผลสำเร็จของโครงการ "อ่านสร้างสุขในโรงเรียนและสถานศึกษา"ซึ่งดำเนินการมา 2 ปีแล้ว โดยในปีนี้จะยกระดับการทำงานและขยายฐานการทำงานจากโรงเรียนสู่ความร่วมมือในชุมชน เพื่อปลูกฝังให้ประชาชน เยาวชนอ่านหนังสือจนเป็นนิสัย 


/data/content/24885/cms/e_abefgioxz168.jpg


          คุณสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการสถานศึกษาต้นแบบชุมชนอ่านสร้างสุข" ปี 2557 ภายใต้แนวคิด "อ่านสร้างสุข" ได้ร่วมกับ สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) ได้จัดทำโครงการสถานศึกษาต้นแบบชุมชนอ่านสร้างสุข" ปี 2557 ต่อเนื่องจากผลสำเร็จของโครงการ "อ่านสร้างสุขในโรงเรียนและสถานศึกษา" ซึ่งดำเนินการมา 2 ปีแล้ว ปีนี้จึงยกระดับการทำงานและขยายฐานการทำงานจากโรงเรียนสู่ความร่วมมือในชุมชน จากการทำงานเราพบว่า การปลูกฝังให้ประชาชน เยาวชนในประเทศอ่านหนังสือจนเป็นนิสัยนั้น ต้องเริ่มต้นในครอบครัว และกิจกรรมในสถานศึกษากว่า ร้อยละ 90 ต้องอาศัยการอ่า เพื่อเปิดมุมมอง เปิดความคิด และเปิดโลกทัศน์ โดยชุมชนต้องร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมหนุนเสริมอย่างต่อเนื่อง


          นางศกุนตลา สุขสมัย ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาและส่งเสริมวิทยบริการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ หนึ่งในภาคีร่วมงาน กล่าวว่า "ทางหน่วยงานของเราได้ดำเนินการส่งเสริมการอ่านให้เด็กนักเรียนโรงเรียนในสังกัดมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว และโอกาสนี้ สพฐ.ได้ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้แนวคิด "อ่านสร้างสุข" ทำให้ขอบเขตการดำเนินงานส่งเสริมอ่านขยายไปยังภาคประชาชน ชุมชน วัด โรงพยาบาล หมู่บ้าน ผู้ปกครองเป็นการขยายกลุ่มนักการอ่านให้กว้างขวางครอบคลุมชุมชนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทำให้เด็ก ๆ หันมาสนใจการอ่านมาก ส่งผลให้เด็ก ๆ มีผลการเรียนที่ดีขึ้น ทำข้อสอบได้คะแนนดี อันนำไปสู่คุณภาพมาตรฐานด้านการศึกษาที่ดีในอนาคต"


          เด็กชายนครินทร์ โคตรศรี นักเรียนโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ผู้ได้รับ/data/content/24885/cms/e_abefghkpyz28.jpgรางวัลยุวทูตการอ่าน กล่าวว่า ตนเป็นคนชอบอ่านหนังสือ เพราะการอ่านเป็นการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ ทำให้ได้ความรู้ที่หลากหลายจากการอ่าน การเข้าร่วมโครงการส่งผลให้การเรียนดีขึ้น สอบได้คะแนนดีขึ้น เกรดเฉลี่ยดีขึ้นจากเดิม ตรงนี้เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจมาก หนังสือเล่มโปรดของผมคือ "ภูมิรักษ์ธรรมชาติ" ชุด ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันอีสาน  ภาคใต้ เป็นหนังสือที่รวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาอาชีพจาก "ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ" มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต วิถีชีวิต การค้า อาชีพ ของคนพื้นถิ่นดั้งเดิม การทำเกษตรอินทรีย์และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเกษตรทฤษฎีให่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ การทำปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร 


          "นอกจากนี้แล้วผมยังชอบอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับโครงการพระราชดำริเนื่องจากผมสนใจงานด้านการเกษตรอยู่แล้ว จึงชื่นชอบหนังสือประเภทนี้ และหนังสือทฤษฎีทางการเกษตร ส่วนมากมักมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับในหลวงของเราผมชอบมากครับ นอกจากได้รับความรู้แล้ว ผมยังได้นำความรู้ไปปฏิบัติจริง ที่บ้านผมกับแม่ได้ช่วยกันทำแปลงผักสวนครัวไว้รับประทานเอง เช่น กะเพรา โหระพา นอจากนี้ผมยังได้ทดลองปลูก "พริกกลับหัว" ซึ่งทำให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกแบบธรรมดาทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้มาจากการอ่านทั้งสิ้นครับ" เด็กชายนครินทร์ เล่า


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code