สร้างสังคมแห่งปัญญาด้วยการอ่าน

สร้างสังคมแห่งปัญญาด้วยการอ่าน thaihealth


ปลายปีที่แล้วกระวานได้สัมภาษณ์ 'นพ.วิชัย โชควัฒน' ในฐานะนักอ่านตัวยง ทำให้ทราบว่าคุณหมอกำลังผลักดันให้มีการแปลวรรณกรรมสำคัญๆ ของโลก จำนวน หนึ่งเล่ม ในนาม 'มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม' โดยได้รับการสนับสนุนการจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  


เว็บไซต์ของมูลนิธิระบุถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งว่า เพื่อผลิตหนังสือดี มีคุณภาพ สนองการเรียนรู้ทางสังคม สร้างสังคมที่มีปัญญา โดยการแปลและผลิตหนังสือดีสู่สังคมไทย ให้เยาวชนและประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงได้ ส่วนวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) ส่งเสริมการศึกษา และการอ่านวรรณกรรมโลก ในกลุ่มเด็ก เยาวชน และประชาชนไทย 2) สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้หนังสือดีที่มีคุณค่าเป็นสื่อ 3) ส่งเสริมการแปลงานวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าของโลกเป็นภาษาไทยอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานดีในระดับสากล ฯลฯ


จากเหตุผลที่ว่าปัจจุบันคนไทยอ่านหนังสือน้อยลง ทั้งหนังสือที่อ่านอาจเป็นแนวเพ้อฝันซึ่งมีขายอยู่ทั่วไป ขณะที่หนังสือดีมีคุณค่ากลับหายาก แม้ว่าจะมีผู้อยากอ่านอยู่บ้าง มูลนิธิเชื่อว่าสังคมจะมีคุณภาพสูงขึ้นได้ หากคนในสังคมมีนิสัยรักการอ่าน แม้ไม่มีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรง แต่การอ่านทำให้เราได้รับข้อมูล ความคิด ประสบการณ์จากหนังสือที่ผู้เขียนถ่ายทอดไว้ เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง


สร้างสังคมแห่งปัญญาด้วยการอ่าน thaihealthวิทยากร เชียงกูล ประธานกรรมการมูลนิธิ บอกว่า "มูลนิธินำหนังสือที่คัดสรรจากทั่วทุกมุมโลกที่คู่ควรกับสังคมไทย แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มาตีพิมพ์ฉบับภาษาไทย เพื่อยกระดับค่านิยมในการอ่าน ส่งเสริมและสนับสนุนหนังสือดีมีคุณค่า ให้ข้อคิดและแง่มุมแก่ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน"


น่ายินดีว่าขณะนี้ทางมูลนิธิได้ตีพิมพ์หนังสือต่างๆ ออกมาจำนวนหนึ่งแล้ว อาทิ ชีวิตของเซอร์วิลเลียม ออสเลอร์ หมอผู้ปฏิรูปการสอนในอเมริกา ซึ่งคุณหมอวิชัยบอกว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่มากในวงการแพทย์แต่คนไทยเกือบไม่มีใครรู้จัก


ใครที่เป็นแฟนภาพยนตร์ซีรีส์ญี่ปุ่นเรื่องเรียวมะ ซึ่งแพร่ภาพทางช่องไทยพีบีเอสเมื่อสองปีก่อน และอยากรู้จักตัวตนของเขาให้มากขึ้น ทางมูลนิธิได้จัดพิมพ์ 'เรียวมะ ซามูไรผู้นำการเปลี่ยนแปลง' แล้วเช่นกัน เล่มนี้เขียนโดย โรมูลัส ฮิลล์ส์เบอโรห์แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท เนื้อหาบอกเล่าชีวิตของนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่แห่งญี่ปุ่น ที่มุ่งมั่นในการเปลี่ยนญี่ปุ่น เพื่อให้ชาติรอดพ้นจากการคุกคามของมหาอำนาจต่างชาติ


ผู้เขียนได้ค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และเอาข้อมูลจริงมาเขียน ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคทันสมัยใกล้เคียงกับไทย เรียวมะเป็นซามูไรที่มีส่วนอย่างมากต่อการปฏิรูปเมจิ


'ผู้เที่ยงธรรม' เขียนโดย อัลแบรต์ กามูส์ กล่าวถึงการขับเคี่ยวทางความคิดระหว่างนักปฏิวัติสองคน ในเรื่องการปฏิวัติเชิงสันติวิธี แฝงด้วยข้อคิดและแง่มุมในเชิงปรัชญา ผ่านบทสนทนาของตัวละคร แปลโดย โคทม-พรทิพย์ อารียา ส่วน 'สองมือแห่งศรัทธา ชีวิตแพทย์ผู้สร้างแรงบันดาลใจ นายแพทย์เบนจามิน คาร์สัน' หนังสือเล่มหนาขนาด 380 หน้า เป็นเล่มต่อไปที่กระวานตั้งใจว่าจะหยิบมาอ่าน (จนใจว่ายังไม่มีเวลาว่างนานพอที่จะอ่านเสียที จะมีโอกาสอ่านหนังสือเล่มสร้างสังคมแห่งปัญญาด้วยการอ่าน thaihealthโตๆ ก็ตอนที่ป่วยทำงานไม่ได้นั่นแหละ)


ใบแนะนำหนังสือบอกว่าเล่มนี้เป็นกำลังใจได้ดีสำหรับคนที่ตั้งใจทำงาน ทุกคนสามารถเรียนรู้จากหมอคาร์สัน ถึงการสู้ชีวิต การฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เป็นบทเรียนที่สอนว่าผู้ที่ปรารถนาจะทำสิ่งใดให้สำเร็จ ต้องมีความมุมานะ มีวินัย มีจิตใจที่กล้าหาญพร้อมเสียสละ เรื่องของหมอเบ็น คาร์สัน ถูกนำไปสร้างละครและภาพยนตร์หลายครั้งแล้ว


'ปราการอุดมคติ' เขียนโดย นายแพทย์เอ.เจ. โครนิน แปลโดย เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร นวนิยายเรื่องนี้พูดถึงการต่อสู้ ระหว่างแนวคิดในการทำงานตามอุดมคติ เพื่อประโยชน์สุขของผู้รับบริการและสังคมโดยรวม กับแนวคิดในการทำงานเพื่อแสวงหาเงินและชื่อเสียง เพื่อตนเองและครอบครัว โดยอาศัยการทำหน้าที่แพทย์ของตัวละครเป็นสื่อนำเสนอ


ท่านที่ต้องการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่หนังสือ สามารถสนับสนุนโครงการได้ 2 ส่วน ดังนี้ 1) ซื้อหนังสือ โดยมูลนิธิฯ จะนำเงินไปซื้อหนังสือเพื่อส่งเข้าห้องสมุดต่างๆ 2) บริจาคเงินหรือสิ่งของสำหรับจัดกิจกรรม ซึ่งทางมูลนิธิจัดประมาณเดือนละครั้ง อาทิ ประกวดเรียงความการอ่านหนังสือของโครงการ, เปิดเวทีให้ครอบครัวได้เล่าช่วงเวลาแห่งความสุขที่ได้มีกิจกรรมการอ่านร่วมกัน, กิจกรรมบุ๊คแชร์, การอ่านหนังสือเพื่อคนตาบอด เป็นต้น


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.08-1699-0050 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่https://www.facebook.com/bookforsociety


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์เนชั่นสุดสัปดาห์


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code