สร้างฐานเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการจัดระบบซะกาต

ที่มา : มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)


ภาพประกอบจากมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)


สร้างฐานเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการจัดระบบซะกาต thaihealth


สสม.รวมพลังเครือข่ายสร้างฐานเศรษฐกิจชุมชน ด้วยกลไกการจัดการระบบซะกาต


เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุมโรงแรม ซีเอส ปัตตานี แผนงานสร้างสุขมุสลิมไทย มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) จัดโครงการสร้างฐานเศรษฐกิจชุมชนด้วยกลไกการจัดการระบบซะกาต โดยมีผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายมัสยิด เครือข่ายปอเนาะ กลุ่มสตรีแม่บ้าน เครือข่าย อสม.จากโครงการเลิกบุหรี่เริ่มที่บ้าน สหกรณ์ออมทรัพย์บีนา บุคลากรและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และประชาชนผู้สนใจ รวมทั้งหมดประมาณ 190 คน ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เป็นประธานในพิธีเปิดดังกล่าว


สร้างฐานเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการจัดระบบซะกาต thaihealthสร้างฐานเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการจัดระบบซะกาต thaihealth


การจัดโครงการในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นเป็นสองช่วงสำคัญ ได้แก่ภาคเช้าและภาคบ่าย ได้รับเกียรติจาก ผศ.อับดุลรอชีด เจ๊ะมะ อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บรรยายในหัวข้อ การสร้างฐานเศรษฐกิจชุมชนด้วยกลไกการจัดการระบบซะกาต โดยเป็นการนำเสนอแนวทางในการให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการสร้างฐานเศรษฐกิจด้วยระบบกองทุนซะกาตเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและสามารถให้ความช่วยเหลือครัวเรือนที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างลำบากโดยอาศัยมัสยิดเป็นศูนย์กลางและมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อน และช่วงเวลาถัดมาได้รับเกียรติจากมูลนิธิซะกาตและการสาธารณกุศล โดยนายแพทย์มูหมัดดาโอ๊ะ เจะเลาะ ประธานมูลนิธิซะกาตและการสาธารณกุศล นายเศรษฐ มูดอ และคณะ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิซะกาตและการสาธารณกุศล รวมไปถึงการรวบรวมแหล่งเงินทุนและการแจกจ่ายตลอดจนการช่วยเหลือสังคมมุสลิมในรูปแบบต่างๆ แล้วแต่สถานการณ์ของพี่น้องผู้เดือดร้อน จนได้รับความชื่นชนจากผู้เข้าร่วมถึงการเข้าถึงผู้เดือดร้อนโดยตรง


สร้างฐานเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการจัดระบบซะกาต thaihealthสร้างฐานเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการจัดระบบซะกาต thaihealth


ในส่วนของภาคบ่ายได้มีการแบ่งกลุ่มใหญ่ๆ ออกมาเป็น 3 กลุ่มด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมผ่านประเด็นคำถาม ดังนี้


1.ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการชะกาตในประเทศไทย


2.บทบาทของมัสยิดและองค์กรศาสนาในประเทศต่อการส่งเสริมชะกาต


3.การจัดการกองทุนชะกาตเพื่อความยั่งยืน


โดยให้ตัวแทนในแต่ละกลุ่มออกมานำสนอปประเด็นหัวข้อดังกล่าวข้างต้นและกล่าวปิดพิธีโครงการโดย รองผู้อำนวยการศูนย์กิจกรรมภาคาใต้ตอนล่าง นายฮาซัน หะยีมะเย็ง พร้อมๆกับได้รับคำมั่งสัญญาจากเครือข่ายในการกลับไปมีส่วนในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนผ่านกลไกการจัดการระบบซะกาต

Shares:
QR Code :
QR Code