สร้างชุมชนน่าอยู่พัฒนา ‘หมู่บ้านขี้คุย’

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


สร้างชุมชนน่าอยู่พัฒนา 'หมู่บ้านขี้คุย' thaihealth


การผลักดันให้ชุมชนช่วยกันแก้ปัญหาและจัดการกันเอง ภายใต้กฎกติกาที่กำหนดร่วมกัน หรือที่เรียกว่าการ "ตั้งสภาผู้นำชุมชน" เพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะของคนในชนบท ถือเป็นหน้าที่หลักของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)


ล่าสุดได้ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนการทำงาน โดยการจัดการ "ชุมชนน่าอยู่ บ้านสำโรง" โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี และ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. เป็นประธานจัดงานและลงพื้นที่ ด้วยการเป็นพี่เลี้ยงเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพ ตลอดจนสนับสนุนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการสร้างชุมชนน่าอยู่โดยอาศัยผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นแนวคิดจากบ้านหนองกลางดง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่เป็นเครือข่ายสร้างสุขภาพจาก สสส.


สร้างชุมชนน่าอยู่พัฒนา 'หมู่บ้านขี้คุย' thaihealthเพื่อนำมาเป็นโมเดลและประยุกต์ในการแก้ไขปัญหาเรื่องสุขภาวะให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ "บ้านสำโรง" ต.ท่าสว่าง จ.สุรินทร์ ซึ่งได้รับฉายา "หมู่บ้านขี้คุย" ที่ประสบกับปัญหาหลักอย่างการใช้สารเคมีในชุมชน (เป็นชุมชนที่ปลูกผักขาย) การดื่มสุราในงานบุญต่างๆ การทิ้งขยะมูลฝอยซึ่งเป็นสาเหตุของมลพิษในชุมชน อีกทั้งปัญหายุงลายและไข้เลือดออกในพื้นที่ จวบจนกระทั่งปัจจุบันที่หมู่บ้านเข้าร่วมกับ สสส. ระหว่างปี 2555-2559 ทำให้ปัญหาชุมชนดังกล่าวลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน และประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น


ผู้ใหญ่ พีรวัศ คิดกล้า ผู้นำชุมชนแห่ง "บ้านสำโรง" บอกว่า การจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน หรือการสนับสนุนให้คนในชุมชนแก้ไขและจัดการปัญหาโดยคนในชุมชนเองภายใต้กฎกติกาที่กำหนดร่วมกัน จึงทำให้ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับหมู่บ้านสำโรงของตัวเอง เห็นได้จากการที่ปัจจุบันนี้สามารถลดการซื้อสารเคมีในการปลูกผักได้สูงถึง 80% (ก่อนเข้าร่วมโครงการ ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสารเคมีสูงถึงปีละ 89,975 บาท เหลือเพียง 15,485 บาท) รวมถึงลดจำนวนผู้ดื่มสุราในชุมชนได้สูงถึง 55 คน จากที่มีผู้ดื่มสุราและนำมาซึ่งการทะเลาะวิวาท อยู่ที่ 188 คนทั้งหมู่บ้าน (ตั้งแต่ปี 2555-2559) และทำให้ชุมชนปลอดเหล้าทุกเทศกาล (ตั้งแต่ปี 2556-2559) อีกทั้งคนในชุมชนสามารถคัดแยกขยะและลดการทิ้งขยะเกลื่อนกลาดได้สูงถึงร้อยละ 187 ครับ ที่สำคัญตั้งแต่ 2557 ถึงปัจจุบันจำนวนของเด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกไม่มีให้เห็นในหมู่บ้านเลย


"ซึ่งความสำเร็จในการจัดการปัญหาชุมชนมาจากแนวคิดในการ "ตั้งสภาผู้นำชุมชน" ซึ่งในปีแรก (ปี 2555) หลังจากได้รับชุดข้อมูลจาก สสส.จึงทำให้เรามีการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนจำนวน 53 ราย ซึ่งมาจากคนในชุมชนทุกกลุ่ม เช่น อสม, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีแนวคิดต่าง, เยาวชน และผู้นำคุ้มทั้ง 6 คุ้มในบ้านสำโรง ฯลฯ เมื่อได้จำนวนสภาชุมชนดังกล่าวทั้ง 53 รายนั้น โดยสภาผู้นำชุมชนจะต้องทำงานร่วมกันภายใต้นโยบาย 5 ข้อที่ได้รับการเสนอแนะและสร้างชุมชนน่าอยู่พัฒนา 'หมู่บ้านขี้คุย' thaihealthคัดกรองจากปัญหา


ในชุมชน เช่น 1.ทุกบ้านต้องปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อกินเอง 5 ชนิด 2.ทุกบ้านต้องคัดแยกขยะ และดูแลรอบบ้านให้สะอาด 3.ลดละเลิกการกินเหล้าในงานศพและงานบุญ 4.ทุกบ้านต้องไม่มีลูกน้ำยุงลาย 5.ทุกคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้นำชุมชน ต้องเข้าร่วมประชุมเดือนละ 1 ครั้ง (ใน 1 เดือน ประชุมร่วมกัน 3-4 ครั้ง)


"ส่วนตัวชี้วัดความสำเร็จ หรือการเปลี่ยนแปลงชุมชนไปในทิศทางที่ดีขึ้นนั้น เราจะใช้หลัก "มาตรการทางสังคม" อีกนัยหนึ่งคือ การใช้เสียงส่วนใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นไปยังเสียงส่วนน้อยให้ลงมือทำ ขณะเดียวกันการทำงานของสภาผู้นำชุมชนทั้ง 53 คนก็จะต้องมีการตรวจสอบหรือติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการกันเอง โดยเราจะตั้งให้มี 4 สภาผู้นำชุมชนหลัก (4 คน) ในการติดตามผลงานและเฝ้าระวัง เช่น การที่เรากำหนดให้ผู้ที่เป็นสมาชิกของสภาผู้นำชุมชนไม่ดื่มเหล้าในงานศพและงานบุญต่างๆ หากมีผู้นำสุรามาดื่มเราก็จะมีการขอร้องไม่ให้นำสุราเข้ามา จนปัจจุบัน (2556-2559) ชุมชนของเราเป็นชุมชนต้นแบบในการไม่ดื่มสุราในเทศกาลต่างๆ ได้สำเร็จ"


การันตีความสำเร็จของการจัดตั้ง "สภาผู้นำชุมชน" ที่ช่วยให้ คุณลุงนึง หอมนวล เลิกเหล้าสำเร็จ และปัจจุบันคุณลุงวัย 60 ปี ยังเป็น 1 ใน 4 สมาชิกสภาผู้นำชุมชนในการติดตามการเลิกเหล้าในงานบุญต่างๆ ว่า "ก่อนเข้าร่วมโครงการในปี 2555 นั้น ลุงติดเหล้ามากจนทำให้เกิดปัญหาทะเลาะกันของคนในครอบครัว ทำให้ภรรยาหนีไปอยู่กับลูก และทำให้ทั้งบ้านไม่มีเงินเหลือ และทำให้สุขภาพของลุงแย่มากๆ เลย คือมันติดเหล้าจนทำให้ประสาทหลอน นอนไม่หลับ ถ้าไม่สร้างชุมชนน่าอยู่พัฒนา 'หมู่บ้านขี้คุย' thaihealthได้กินเหล้า ซึม มือไม้สั่น ซึ่งสิ่งที่ทำให้ลุงเลิกเหล้าได้หลังจากเข้าร่วมโครงการนั้น คือการบอกกับตัวเองว่า เรากินมาเยอะแล้ว 20 กว่าปี เวลากินเหล้าก็ทำให้สุขภาพย่ำแย่ ครอบครัวไม่มีเงิน ถ้ากินต่อไปคงไม่ได้มายืนตรงนี้แน่ ก็เลยเลิกแบบหักดิบเลยครับ แต่แรกก็มือสั่นใจสั่น นอนไม่หลับ แต่พอนานไปก็เริ่มเลิกได้ เพราะลุงเอาชนะใจตัวเองได้ครับ"


ไม่ต่างจาก พี่แสบ หรือ แก่นแก้ว หอมนวล อายุ 39 ปี ที่โดนร้องเรียนเรื่องการใช้สารเคมีในการปลูกผัก ที่กระทบทั้งสุขภาพของตัวเองและชาวบ้านใกล้เคียง จนกระทั่งเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้นำชุมชน และเปลี่ยนจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี และใช้เทคนิคการปลูกพืช 3 ระยะ หรือเกษตรผสมผสานแทน รวมถึงการปลูกพืชที่ใช้การไล่ศัตรูพืชแทน บอกว่า "จากที่ตัวเองถูกร้องเรียน และตัวผมเองก็ได้รับการเชิญชวนให้เป็นสมาชิกสภาผู้นำชุมชน และได้รับการอบรมเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ ตอนนี้ผมไม่ให้สารเคมีในการปลูกผักมา 2 ปี กว่าแล้วครับ ทำให้ผมลดต้นทุนลงได้กว่าครึ่งครับ เหลือเงินเก็บมากขึ้น เช่น ใน 1 เดือนผมขายผักได้ 7-8 พัน แต่ผมต้องเสียเงินซื้อยาฆ่าแมลงมากถึง 2-3 พัน"


"แต่พอหลังจากเปลี่ยนมาปลูกพืช 3 ระยะ (สั้น เช่น คะน้า, ผักกาดขาว, กลาง เช่น กะเพรา, โหระพา, ยาว เช่น กล้วย, มะละกอ, ผักติ้ว) และเลือกปลูกพืชไล่แมลงแซมแปลงผัก อย่าง มะเขือยาว, ดาวเรือง, ต้นคมนิต ทำให้ลดต้นทุน ที่สำคัญผมยังมีสุขภาพที่ดีขึ้นเยอะ ไม่หอบเหนื่อยจากการใช้สารเคมีเวลาที่พ่นยา และคนกินผักของผมก็สุขภาพดีครับ"


ด้าน ลุงสมจิตร ชาวพงษ์ วัย 47 ปี สมาชิกสภาผู้นำชุมชนที่บอกถึงความเปลี่ยนแปลงเรื่องการคัดแยกขยะเพื่อป้องกันปัญหามลพิษในหมู่บ้านว่า "ปัญหาหลักของหมู่บ้านสำโรง นอกจากการทิ้งและเผาขยะริมถนนแล้ว อีกหนึ่งปัญหาสำคัญคือ การทิ้งหลอดไฟเรี่ยราด ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุและทำให้ประชาชนได้รับสารพิษที่เคลือบในหลอดไฟโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความเคยชิน แต่เมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกก็ทำให้ผมรู้จักทั้งการคัดแยกขยะและการทิ้งหลอดไฟอย่างถูกวิธีครับ คือ ถ้ามีหลอดไฟที่ใช้แล้วผมก็จะเก็บรวบรวมให้กับเจ้าหน้าที่เทศบาลที่อยู่ในหมู่บ้านเพื่อนำไปรวบรวมทิ้งอย่างถูกต้องครับ ตรงนี้ทำให้ลดการได้รับสารเคมีจากหลอดไฟใช้แล้ว อีกทั้งทำให้บ้านเรือนสะอาดปลอดภัยมากขึ้นครับ พูดได้ว่าตอนนี้บ้านสำโรงนั้นสะอาด และรู้จักที่จะคัดแยกขยะได้สูงถึงร้อยละ 80 สร้างชุมชนน่าอยู่พัฒนา 'หมู่บ้านขี้คุย' thaihealthครับ"


ปิดท้ายกันที่ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส.บอกถึงความสำเร็จในการสร้างชุมชนน่าอยู่ว่า "โดยส่วนตัวก็มองว่าการพัฒนาชุมชนโดยการจัดตั้ง "สภาผู้นำชุมชน" เป็นหนึ่งในต้นแบบสำคัญที่ช่วยพัฒนาหมู่บ้านสำโรงให้เข้มแข็งได้สำเร็จอย่างชัดเจน โดยการถอดบทเรียนจากบ้านหนองกลางดง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ของ ผู้ใหญ่โชคชัยมาประยุกต์ โดยการร่วมกันสะท้อนปัญหาในชุมชนจนสามารถแก้ปัญหาเรื่องสุขภาวะของคนในชุมชนได้ กระทั่งขยับไปแก้ปัญหาอื่นตามมา ซึ่งผมมองว่าการพัฒนาชุมชนในรูปแบบดังกล่าวนั้นจะเป็นบทเรียนต้นแบบ หรือเป็นครูให้กับชุมชนอื่นๆ ที่สนใจต่อไปได้ครับ".

Shares:
QR Code :
QR Code