สรรค์สร้าง พระนักพัฒนา

          บทบาทของสถาบันสงฆ์ นอกจากจะเป็นที่พึ่งทางใจของชาวไทย เป็นสถาบันซึ่งมีหน้าที่สร้างกรอบแห่งความดีเพื่อจรรโลงจิตใจชาวพุทธ ผ่านพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีในวันสำคัญต่างๆ น้อยคนนักที่จะรู้ว่า อันที่จริงแล้ว สถาบันสงฆ์ยังสวมอีกหนึ่งบทบาท นั่นคือ สถาบันแห่งนักพัฒนา ซึ่งในประเทศไทยมีพระสงฆ์ที่เป็นนักพัฒนาอยู่จำนวนไม่น้อย เป็นกิจที่จรรโลงสังคมให้น่าอยู่จากการสร้างความดี และสร้างคุณลักษณะที่ดีให้กับชาวไทย


/data/content/24328/cms/e_chijpsy12469.jpg


          มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยของ วงการสงฆ์ คือ หนึ่งองค์กรสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการเผยแผ่ธรรมะไปได้อย่างราบรื่น ขณะเดียวกัน พระสงฆ์ นักพัฒนา ก็จะมีโอกาสได้ศึกษาวิชาความรู้ในด้านการบริหารจัดการต่างๆ เช่นเดียวกับฆราวาส เพื่อนำมาห้อมล้อมหลักสูตรแห่งพระธรรม ก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาสังคม อารมณ์ และจิตใจของผู้คนในยุคนี้


          กิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ คือ การจับมือกัน ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทฺปญโญ และภาคีเครือข่าย จัดงาน สังฆพัฒนาเสวนา: แนวคิด อุดมการณ์ และการสร้างเครือข่ายทางสังคม โดยมีพระสงฆ์ นักพัฒนาทั่วประเทศ นิสิตนักศึกษา นักวิชาการ กว่า 500 คนเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย


/data/content/24328/cms/e_efjklstuw379.jpg


          ในปัจจุบัน พระสงฆ์นักพัฒนากว่าพันรูปทั่วประเทศ ได้พยายามมองหาวิธีในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสังคม และการจัดเสวนาครั้งนี้ จึงเป็นการรวมเครือข่ายของพระนักพัฒนาที่ชัดเจน ซึ่งพระมหาสุทิตย์ อาภากโร ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ขับเคลื่อนหลักงานเสวนาในครั้งนี้ กล่าวว่า พระสงฆ์สร้างประโยชน์ และสร้างความสุขแก่คนไทยในหลายมิติ โดยมี 5 รูปแบบคือ 1) กลุ่มพระสงฆ์ที่เน้นการสร้างความสุขผ่านการเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เน้นความสุขที่ได้เข้าถึงธรรมอย่างมีสติและปัญญา 3) กลุ่มพระนักเผยแผ่ เน้นการสร้างสันติภาพแก่สังคม ถ่ายทอดหลักพระธรรมที่เข้าใจง่ายผ่านสื่อ 4) กลุ่มการจัดการศึกษา พัฒนาทรัพยากรบุคคลในสังคมเป็นพระสงฆ์ เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬา- ลงกรณราชวิทยาลัย 5) พระสงฆ์ด้านการปกครอง โดยยึดหลักพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ รวมถึงกิจการของ คณะสงฆ์ต่างๆ เช่น งานประเพณีบวชสามเณรภาคฤดูร้อน


/data/content/24328/cms/e_aceklnrvwy14.jpg


          ในส่วนของ สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารันต์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. กล่าวว่า การจัดงานเสวนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างให้วัดเป็นพื้นที่ในการพัฒนาสังคม โดยในการเสวนา จะเห็นพระสงฆ์รุ่นใหม่ที่ทำงานเพื่อสังคมแบบบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม รวมทั้งมองสังคมสุขภาวะในมิติเดียวกับ สสส.


          ในอนาคตโครงการดีๆ ที่จะเชื่อมโยงวัด กับชุมชน ก็จะเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล จากการพัฒนาพระสงฆ์นักพัฒนา ซึ่งเป็นเสมือนต้นแบบของการทำความดีสะท้อนให้พุทธศาสนิกชนได้ประจักษ์ และเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตาม


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Shares:
QR Code :
QR Code