สปสช.ตรวจสอบสิทธิบัตรทองพระสงฆ์

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์


 


สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เผยข้อมูลบัตรทอง พระสงฆ์มีสิทธิบัตรทองแล้วกว่าแสนรูป thaihealth


แฟ้มภาพ


สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมสำรวจเก็บข้อมูลและลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ จากฐานทะเบียนข้อมูลพระสงฆ์ พระสงฆ์มีสิทธิบัตรทองแล้วกว่าแสนรูป


นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช. ได้ร่วมกับท้องถิ่น และภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมสำรวจเก็บข้อมูลและลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ จากฐานทะเบียนข้อมูลพระสงฆ์ ล่าสุด ณ สิงหาคม 2562  พบพระสงฆ์ที่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 152,283 รูป ตรวจสอบสิทธิแล้วเป็นผู้ถือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) 126,461 รูป คิดเห็นร้อยละ 83 ทั้งนี้ข้อมูลหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2561 มีข้อมูลการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในของพระสงฆ์ พบโรคที่พบมากสุด 5 อันดับแรก คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ,ท้องร่วง กระเพาะและลำไส้อักเสบ ,ปอดติดเชื้อ-ปอดอักเสบ , โรคเบาหวาน และต้อกระจกในผู้สูงอายุ ส่วนการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) โรคที่พบมากสุด 5 อันดับแรก คือ ความดันโลหิต ,การติดตามทางศัลยกรรมและทำแผลหลังผ่าตัด ,โรคเบาหวาน , ความผิดปกติของเมตาบอลิซึมและภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งจากข้อมูลการเจ็บป่วยของพระสงฆ์ที่เข้ารับการรักษาส่วนใหญ่สะท้อนว่า เป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ที่ป้องกันได้ และเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูล 2561 ยังมีจำนวนการเข้ารับการรักษาที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ควรความร่วมมือกัน ขยายผลพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพ ต่อยอดการอบรมพระคิลานุปัฎฐาก และพระอาสาสมัครประจำวัด (อสว.) ให้พระสงฆ์สามเณรมีความรู้เข้าใจเข้าถึงระบบบริการ และทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการดูแลสุขภาวะองค์รวมในพื้นที่มากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ที่ผ่านมา สปสช. ได้สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล และท้องถิ่น ร่วมดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในทุกมิติ ตั้งแต่ยังไม่ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ป่วยแล้ว โดยใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.) โดยมีตัวอย่างโครงการให้เป็นแนวทางการใช้งบประมาณ. ซึ่ง สปสช.ร่วมกับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ศึกษาข้อมูลจากพระสงฆ์สามเณร 400 รูป ในพื้นที่ 5 เขตสุขภาพ พบว่าการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นฯ มีความเด่นชัดมากสุด


 

Shares:
QR Code :
QR Code