สถิติเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว

งานวิจัยมาเฟียเด็ก

 

          ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้น กว่า 10% เมื่อเทียบกับปี 2547 และ 2550 ที่ผ่านมา โดยแนวโน้มของพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในเด็กจะมีรูปแบบการใช้ความรุนแรงที่หลากหลายและสลับซับซ้อนขึ้น  นอกจากนี้ที่สำคัญยังพบว่าอายุเฉลี่ยของเด็กที่ใช้ความรุนแรงจนถึงกระทั่งกระทำผิดทางกฎหมายมีอายุที่น้อยลง และมีความชุกอยู่ในช่วงอายุ 12-18  ปี จากรายงานการวิจัยในหัวข้อ มาเฟียเด็กของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 205 คน  ผลการศึกษาชี้ว่าเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเป็นมาเฟียร้อยละ 18.1 โดยพฤติกรรมมาเฟียนี้ครอบคลุมถึงการขู่ทำร้ายเพื่อน การทำร้ายร่างกาย การรีดไถเก็บค่าคุ้มครอง การเสพยาเสพติด การค้ายาเสพติด และการขายบริการทางเพศ โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.2 , 24.8 , 23.0 , 23.0, 14.5 และ 4.8 เคยเห็นพฤติกรรมดังกล่าวในโรงเรียน

 

 สถิติเกี่ยวกับเด็กพิการ

          ข้อมูลประมวลผลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 ระบุว่า จำนวนเด็กพิการอายุแรกเกิด – 18 ปีซึ่งได้รับการจดทะเบียนคนพิการแล้ว คิดเป็นร้อยละ 21.75 (224,290 คน) จากจำนวนคนพิการที่จดทะเบียนทั้งหมด 1,031,429 คน  จากจำนวนเด็กพิการทั่วประเทศที่จดทะเบียนทั้งหมด พบว่า ภาคที่มีจำนวนเด็กพิการมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ (ร้อยละ 27.38, 24.46 และ 14.40 ตามลำดับ) ดังตารางที่ 1 ดังนี้

 

ตารางที่ 1 แสดงสถิติเด็กพิการทั่วประเทศ จำแนกตามช่วงอายุแรกเกิด-18 ปี แยกตามเพศและรายภาค

 












พื้นที่

จำนวนเด็กพิการ (คน)

รวมทั้งสิ้น

ชาย

หญิง

กรุงเทพมหานคร

,๒๑๐

,๐๐๕

,๒๑๕

ภาคกลาง

๒๖,๔๔๗

๒๘,๔๑๐

๕๔,๘๕๗

ภาคเหนือ

๓๒,๑๓๙

๓๐,๑๕๓

๓๒,๒๙๒

ภาคใต้

๑๖,๘๑๕

๑๔,๖๕๒

๓๑,๔๖๗

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

๓๐,๐๒๔

๓๑,๓๗๗

๖๑,๔๐๑

ภาคตะวันออก

,๒๙๐

,๗๖๘

,๐๕๘

รวม

๑๑๒,๙๒๕

๑๑๑,๙๒๕

๒๒๔,๒๙๐

ที่มา : ปรับจากข้อมูลประมวลผลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ

          สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ข้อมูลสำรวจ ณ วันที่ 20 ส.ค.53

 

 

สถิติการหย่าร้าง

          ข้อมูลการจดทะเบียนสมรสและหย่าร้างบอกให้ทราบว่า การหย่าร้างมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สวน

ทางกับจำนวนการสมรสที่ลดลงทุกขณะ ในปี พ.ศ.2536 มีผู้จดทะเบียนหย่าเพียงร้อยละ 9.7 (46,953 คู่)

จากจำนวนผู้ที่จดทะเบียนสมรส 484,569 คู่ในปีเดียวกัน แต่หลังจากปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมาทั้งจำนวน

และสัดส่วนของผู้ที่จดทะเบียนหย่าเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดจนถึงร้อยละ 36.3 (109,277 คู่) ในปี พ.ศ.

2552

 

รูปที่ 1 : จำนวนการจดทะเบียนสมรสและทะเบียนหย่า และอัตราส่วนการจดทะเบียนหย่าต่อการจดทะเบียนสมรส 100 ราย พ.ศ.2536-2552

 

สถิติเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว

 

 อัตราการตาย (ต่อ 100000 ) จากการบาดเจ็บในเด็ก       

         ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในช่วง 10 ปีหลังนี้พบว่าอุบติการณ์การตายจากการบาดเจ็บในเด็กลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี โดยมีสัมประสิทธิ์ความถดถอย -0.87 ในเด็กชายและ -0.76 ในเด็กหญิง อย่างไรก็ตามกลุ่มเด็กวัยเรียนไม่ลดลง และกลุ่มเด็กวัยรุ่นมีอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยภายหลังปี 2549 พบว่ามีการผกผันของกลุ่มเสี่ยงโดยกลุ่มเด็กวัยรุ่นกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุด มีอัตราการตายจากการบาดเจ็บสูงกว่าการตายของเด็กเล็ก (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 แสดงอัตราการตาย (ต่อ 100000 ) จากการบาดเจ็บในเด็ก ตามเพศ กลุ่มอายุ ระหว่างปี 2542-2550 

 

สถิติเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว

 

ที่มา : ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

 

 

ผลการสำรวจของโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ

                 จากผลการสำรวจของโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อภาพยนตร์  พบว่า





ตัวเลขเชิงสถิติของสื่อภาพยนตร์ที่ฉายในประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ถึง พ.ศ.๒๕๕๐ พบว่า ในบรรดาภาพยนตร์กว่า ๓๑๙ เรื่องในปี ๒๕๔๙ และ ๒๔๘ เรื่องในปี ๒๕๕๐ ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ในระดับที่ผู้ชมอายุต่ำกว่า ๑๓ ปีต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่กว่าร้อยละ ๓๕ และมีภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี (คือ ระดับ NC 17 และ R ถึงร้อยละ ๒๗-๓๑) โดยในกลุ่มภาพยนตร์ประเภท ท ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ พบว่ามีภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเชิงคุณค่าประเด็นครอบครัวไม่ถึงร้อยละ 1 ของจำนวนกว่า 82 เรื่อง

 

สถิติเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว

 


 

 

 

ที่มา : อิทธิพล ปรีติประสงค์ รายงานวิจัยและพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมไทย

          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2551

 

 

Update:13-09-53

อัพเดทเนื้อหา : คีตฌาณ์ ลอยเลิศ 

 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ