สถานีแห่งความสุข…ของนักวิจัย

          หน่วยงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร ได้จัดทำโมเดลสร้างสุขในองค์กรที่ว่าด้วยเรื่อง Happy work place 8 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพดี น้ำใจงาม การรู้จักผ่อนคลาย ใช้เงินเป็น หาความรู้ มีคุณธรรม ครอบครัวดี สังคมดี ที่ผ่านมาโมเดลนี้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรภาครัฐและเอกชนนับพันแห่ง ก่อเกิดนวัตกรรมแห่งความสุขในที่ทำงานมากมาย


/data/content/24864/cms/e_adehjorw1259.jpg


          ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในฐานะองค์กรที่รวมนักวิจัย นักวิชาการบุคลากรระดับมันสมองมากมาย ได้ร่วมกับ สสส. สร้างองค์กรแห่งความสุขให้เกิดขึ้นที่นี้ในแนวคิดสถานีความสุข หรือ Happy station ต้นแบบองค์กรแห่งความสุขในรูปแบบของนักวิจัยที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพ/data/content/24864/cms/e_bckmnqvy1457.jpgและศาสนา โดยสถานีความสุข เริ่มต้นด้วย กรีนสเตชั่น การส่งเสริมให้ปลูกผักสวนครัวบนดาดฟ้าไว้รับประทานเอง จากการรวมกลุ่มสมาชิกที่สนใจ 40 คน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 150 คน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แล้วนำต้นกล้าทานตะวันไปจำหน่ายเพื่อนำเงินไปบริจาคให้เด็กติดเชื้อ HIV ที่วัดพระบาทน้ำพุ ภายใต้กรีนสเตชั่นยังรวมกิจกรรม 5 ส แต่ที่แตกต่างได้จัดให้มี 5 ส นักคิด นักประดิษฐ์


          สถานีสุขภาพ เปิดให้มีกิจกรรมเต้น แอโรบิกทุกวันจันทร์จากพนักงาน 8 คนขณะนี้ขยายเพิ่มเป็น 70 คน ก่อเกิดผลคือมีบุคคลต้นแบบที่น้ำหนักลด และหายป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หลังเข้าร่วมสถานีนี้ สถานีถัดไป จุดนี้เปิดให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่พนักงานได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งการรับฟังอย่างลึกซึ้ง ด้วยการทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญขององค์กร


          สถานีสุดท้าย คือสถานีแห่งการให้ ร่วมด้วยช่วยกันระหว่างพนักงานของ สวทช. นำสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ด้อย/data/content/24864/cms/e_abdfgknoqxz4.jpgโอกาสใน จ.เลย และโครงการรณรงค์ปฏิบัติธรรมและปลูกจิตอาสา จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 25 เห็นว่าเป็นกิจกรรมมีประโยชน์และมีความสุขในการเข้าร่วม


          ไฮไลต์ของกิจกรรมสร้างสุขของเนคเทคได้นำงานวิจัยมาใช้ใน กิจกรรมสร้างความสุข เช่น เซ็นเซอร์วัดความชื้นดินมาประยุกต์ใช้กับสถานีผัก My Act แอพพลิเคชั่นตรวจวัดกิจกรรมรายวันส่วนบุคคล โดยระบบจะช่วยบันทึกพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ข้อมูลแคลอรีที่ใช้ในแต่ละวัน และงานวิจัย ไซซ์ ไทยแลนด์ มาช่วยวัดขนาดของร่างกายเมื่อออกกำลังกายแล้วแล้วรูปร่างเปลี่ยนแปลงอย่างไร รวมทั้งแอพพลิเคชั่น Food I eat คำนวณปริมาณอาหารที่เรารับประทานในแต่ละวัน


          ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค เล่าว่าที่ผ่านมาพบกรณีศึกษาอยู่อย่างหนึ่ง เช่น นักวิจัยที่ไปเรียนต่างประเทศมาแล้วมีปัญหาสุขภาพจิต 2 รายมีความเครียดสูง หรือปัญหาเรื่องการลาออกจากงานมีไม่มาก พบว่าคนไม่ค่อยกระตือรือร้นไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ทำงานที่นี่อายุเฉลี่ย 30 ขึ้นไป ได้พยายามปรับวิธีคิดให้การทำงานไม่ได้แข่งด้านวิชาการด้านเดียว สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน


          "คิดว่าความเครียดจากการทำงานคือทัศนคติของคนรุ่นใหม่ แค่เรียนหนังสือก็เครียดแล้ว คนรุ่นใหม่รู้สึกกดดัน ทำงานวิจัยต้องส่งมอบผลงาน พยายามให้สร้างการเรียนรู้ให้ว่าชีวิตการทำงานที่สมดุลเป็นอย่างไร เมื่อทำงานมีความสุของค์กรก็มีความสุขด้วยก็ต้องไปด้วยกัน ดังนั้นส่วนที่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อไปเมื่อเราลงแรงให้พนักงานมีความสุข คุณภาพงานนั้นดีขึ้นตามไปด้วย"


          ดร.ศิริเชษฐ์ สังขะมาน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการสำรวจพบข้าราชการมีปัญหาความ เครียดรอบด้าน จากการเผชิญความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ลดอัตรากำลังและงบประมาณ ทำให้คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง จำเป็นต้องบริหารจัดการคนให้สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เน้นหน่วยย่อยที่สุดของระบบราชการ คือ บุคคล เนคเทคน่าชื่นชมมากที่เข้าใจกระบวนการสร้างองค์กรแห่งความสุข /data/content/24864/cms/e_eilmnpst2349.jpgทั้งนี้นักวิจัยควรมีสุขภาพกายและใจที่ดี มีเวลาให้ครอบครัว มีบรรยากาศการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้ดียิ่งขึ้น


          ด้าน นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เนคเทคเป็น 1 ใน 22 หน่วยงานต้นแบบคุณภาพชีวิตการทำงานภาครัฐ ซึ่ง สสส. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมร่วมผลักดันยุทธศาสตร์มุ่งเน้นส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตและการทำงานของบุคลากรภาครัฐ (Quality of Work Life) โดยกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรม เช่น จัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมจากสวัสดิการภาคบังคับตามกฎหมาย โดยตั้งเป้า 4,000 องค์กร ให้มีแกนนำได้รับการพัฒนาขีดความสามารถสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 5,000 คน ภายในปีนี้


          ความสุขในองค์กรออกแบบได้


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Shares:
QR Code :
QR Code