สถานการณ์ความรุนแรงทางเพศ
สถานการณ์ปัญหาความรุนแรงทางเพศจากการให้คำปรึกษาของมูลนิธิเพื่อนหญิง พ.ศ. 2550
การดำเนินการของผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้เสียหายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 87 ราย มีการดำเนินการแจ้งความดำเนินคดี 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.62 ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ การถูกข่มขืนกระทำชำเรามีจำนวนถึง 53 กรณี คิดเป็นร้อยละ 48.18 กรณีพรากผู้เยาว์ 30 กรณี คิดเป็นร้อยละ 27.27 กรณีการโทรมหญิงและอนาจารมี 7.27 กรณี คิดเป็นร้อยละ 7 และกรณีถูกสามีบังคับร่วมเพศโดยที่ผู้หญิงไม่ยินยอมมี 9 กรณี คิดเป็นร้อยละ 8.18
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงไม่กล้าบอกใคร อับอาย เครียด วิตกกังวล 70 กรณี คิดเป็นร้อยละ 44.59 การตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา 23 กรณี คิดเป็นร้อยละ 14.65 ถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ถูกบังคับให้ออกจากงานเนื่องจากผู้หญิงไม่ยินยอมมีเพศสัมพันธ์กับหัวหน้างาน กรณีเลือดออกในช่องคลอดเกิดจากสามีบังคับมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง 2 กรณี และกรณีผู้หญิงอาชีพขายบริการทางเพศถูกหลอกพาไปรุมโทรม 1 กรณี (ผู้ชาย 4 คน) กรณีติดโรคทางเพศสัมพันธ์จากสามี 1 กรณี เพราะสามีมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ กรณีเห็นภาพหลอน นอนไม่หลับมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ถูกรุมโทรมและถูกข่มขืนเคยถูกกระทำหลายครั้ง เนื่องจากไม่กล้าแจ้งความดำเนินคดี และผู้หญิงที่มีความผิดปกติทางด้านสติปัญญา
ที่มา : มูลนิธิเพื่อนหญิง
Update : 25-11-53
อัพเดทเนื้อหาโดย : สุนันทา สุขสุมิตร