วิธีเปลี่ยนพฤติกรรม “ลดหวาน” ง่ายๆ

ที่มา : จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข ประจำเดือนมกราคม 2561


วิธีเปลี่ยนพฤติกรรม “ลดหวาน” ง่ายๆ thaihealth


แฟ้มภาพ


                ค่อยๆ ลด ความหวานลงที่ละน้อยให้รู้สึกว่าไม่ทรมานตัวเองมากเกินไป เช่น การปรุงก๋วยเตี๋ยว จากเดิมที่เคยใส่น้ำตาล ที่ละมากๆ ก็ควรปรับลดลงเรื่อยๆ อย่าหักดิบแบบกะทันหัน เพราะ ร่างกายจะไม่ยอมรับและทำได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น โดยมากจะใช้เวลา 1-2 เดือน ร่างกายจะชินกับความหวานน้อยและอร่อยเหมือนเดิม


                คาถาลดหวาน หัดพูดให้ติดปากบอกพ่อค้า แม่ค้า ในการประกอบอาหารว่า “ไม่หวาน” ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม หรือ อาหารที่ต้องมีการปรุงรส หรือ เลือกอาหารที่เห็นว่าไม่มันมากจนเกินไปเพราะจะมีรสหวานพ่วงมาด้วย


                ดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำ เนื่องมาจากหากร่างกายขาดน้ำจะทำให้รู้สึกหิวและเพิ่มความอยากความหวานมากขึ้น การดื่มน้ำเปล่าประมาณ 1 แก้ว เมื่อรู้สึกอยากความหวานจะช่วยลดความอยากลงได้


                เลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ข้าวกล้อง เลือก ผลไม้รสชาติไม่หวาน เพิ่มเติมอาหารประเภทถั่วฝัก ถั่วเปลือกแข็ง ใยอาหารจะช่วยลดความอยากความหวาน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ด้วย


เช็คสัญญาณ อาการติดหวาน


– รู้สึกอยากขนมหวานที่ตัวเองชอบเรื่อยๆ


– รู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี เมื่อไม่ได้กินอาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของแป้งหรือน้ำตาล


– รู้สึกหิวบ่อย


– คิดถึงอาหารอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าเพิ่งกินอาหารเสร็จ


– มีนิสัยกินอาหารหวานต่อจากอาหารคาวเป็นประจำ


– มีของติดตู้เย็นที่เป็นของหวานอยู่ตลอด


– ชอบผลไม้รสหวาน เช่น มะละกอ ทุเรียน สับปะรด


– ชอบผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม


– ชอบอาหารกลุ่มซีเรียลเคลือบนน้ำตาล


– ทำอาหารทุกจานต้องเติมน้ำตาล เช่น ไข่เจียวเติมน้ำตาล ทำพริกน้ำปลาเติมน้ำตาล


– ชอบงานเลี้ยงสังสรรค์ เพราะมีอาหาร เครื่องดื่มและของหวาน


– ในมื้ออาหารมักจะเลือกดื่มเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่า

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ