วิถีใหม่คนเมืองอยู่`คอนโดฯ`ก็`ปลูกผัก`กินเองได้

วิถีใหม่คนเมืองอยู่'คอนโดฯ'ก็'ปลูกผัก'กินเองได้ thaihealth


แฟ้มภาพ


ด้วยชีวิตคนเมืองที่ค่อนข้างมีอาณาบริเวณบ้านไม่กว้างขวางมากนัก บางคนอยู่คอนโดฯยิ่งแล้วใหญ่ แทบจะไม่มีพื้นที่ว่างๆ โล่งๆ ไว้ใช้สอย จึงเป็นเรื่องยากที่จะ "ปลูกผักกินเอง" เหมือนอย่างคนต่างจังหวัด หรือคนสมัยก่อนที่นิยมปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง


อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่กล่าวมาทั้งหมดขั้นต้นกำลังจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป คนเมืองสามารถปลูกผักปลอดสารพิษกินเองได้โดยไม่ต้องลงทุนมาก แม้ไม่ได้เป็นเกษตรกรตัวจริง ขอเพียง "มีใจ" ก็ปลูกผักกินเองได้ แม้จะอาศัยอยู่คอนโดฯก็ตามเป็นวิถีใหม่คนเมืองที่นอกจากช่วยประหยัดรายจ่ายในภาวะเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพงแล้ว ยังทำให้สุขภาพดีจากการกินผักปลอดสารพิษ


โดยองค์ความรู้การปลูกผักกินเองในพื้นที่จำกัดได้รับการเผยแพร่ในงานมหกรรม "พื้นที่ไม่ใช่ข้อจำกัด…ของผัก (สุขภาพ) คนเมือง" ตอนผักสุขภาพดีที่ภาษีเจริญ ที่ตลาดวัดชัยฉิมพลี มาแนะนำ จัดโดยศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเขตภาษีเจริญ และภาคีเครือข่าย


ผศ.กุลธิดา จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการ ศวพช. มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า ได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ นำร่องในพื้นที่เขตภาษีเจริญ ใน 7 กิจกรรม ซึ่ง 1 ใน 7 กิจกรรมนั้นคือ การจัดตลาดกลางรองรับผักปลอดสารพิษ ซึ่งปลูกโดยคนภาษีเจริญ โดยใช้พื้นที่เกษตรกรรมที่เหลืออยู่ กับพื้นที่สาธารณะ เช่น พื้นที่สกปรกใต้วิถีใหม่คนเมืองอยู่'คอนโดฯ'ก็'ปลูกผัก'กินเองได้ thaihealthสะพาน พื้นที่รกร้างทางเดินริมน้ำ เปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกผักสุขภาพราคาถูก 15 บาท ทุกรายการ


"ข้อจำกัดเชิงพื้นที่ความเป็นเมืองไม่ใช่อุปสรรคในการปลูกผักอีกต่อไป หากเราปรับพื้นที่ก็สามารถปลูกผักรับประทานได้ ผักสามารถปลูกได้ในรูปแบบแนวตั้ง เป็นผักคอนโดฯ ผักลอยฟ้า ผักอุโมงค์หรือผักแนวนอน เป็นผักลอยน้ำ ซึ่งแค่พื้นที่ 1 ตารางเมตร ก็สามารถผลิตผักได้ประมาณ 1 กิโลกรัม ถือเป็นการปลูกผักรูปแบบใหม่ที่เกษตรกรเมืองทำได้ทุกคน ทุกรูปแบบ" ผศ.กุลธิดากล่าว


การปลูกผักในพื้นที่จำกัดแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไรบ้าง


นางสาวฐิติมา อุดมศรี-นายนฤดล ธนสุทธิพร อาจารย์ประจำ ศวพช. พาชมพื้นที่จำลองตัวอย่าง และร่วมกันให้คำแนะนำว่า การปลูกผักแบบนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก นำสิ่งของที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ เช่น ขวดน้ำกินแล้ว ลิ้นชักพลาสติกไม่ได้ใช้แล้ว นำมาดัดแปลงนิดหน่อยก็สามารถปลูกได้ ถือว่าลงทุนไม่แพง ขณะที่ผักก็ปลูกง่าย โตง่าย ขยายพันธุ์เร็ว ใช้พื้นที่ไม่มาก และยังนำไปประกอบอาหารอร่อยอีกด้วย อย่างพวกเราก็นำไปทำสลัดผักกินกันประจำ โดยรวมถือว่าคุ้มค่าและปลอดภัยกว่าการซื้อผักมากิน


ส่วนขั้นตอนการปลูกนั้น นางสาวฐิติมา-นายนฤดล กล่าวว่า เริ่มจากผักลอยฟ้า เป็นการปลูกในขวดน้ำพลาสติกแขวนด้วยเชือกต่อๆ กัน ไม่ต้องการแสงแดดมาก รดน้ำเช้า-เย็น ซึ่งสามารถปลูกได้ตามคอนโดฯ หรือที่พักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด อย่างผักวอเตอร์เครส ผักเรดโอ๊ค ที่ลำต้นไม่ใหญ่มาก จะปลูกในขวดขนาด 600 มิลลิลิตร แขวนต่อกันในแนวตั้ง เจาะช่วงกลางขวดเพื่อปลูก และก้นขวดเพื่อรดน้ำถึงกันได้หมด โดยเพาะต้นกล้าจากถาดหลุม 3 วันก่อน แล้วหักลำต้นมาปักในกระถางขวดน้ำ ใช้เวลาประมาณ 20 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ เช่นเดียวกับผักบ๊อกฉ่อย ที่นำขวดมาผ่าช่วงกรวยด้านบน แล้วนำช่วงกรวยด้านบนพลิกปักเข้าไปในขวด เทน้ำลงไปในขวด เจาะฝาใส่เชือกผ้าลงไปเพื่อให้ผักดูดน้ำก้นขวดขึ้นมา


ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ที่ลำต้นใหญ่ขึ้นมาหน่อย จะปลูกในขวดขนาด 1.5 ลิตร แขวนต่อกันในแนวนอน เจาะช่วงกลางขวด โดยเพาะต้นกล้าในถาดหลุม แล้วถอนรากมาปลูกในกระถางขวดน้ำ ใช้เวลา 20-40 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ หรือ "ถั่วงอก" สามารถนำลิ้นชักพลาสติกเก่าๆ ที่ไม่ใช่แล้วมาปลูก โดยนำกระสอบป่านตัดให้ได้ขนาดพื้นลิ้นชัก จากนั้นโรยเมล็ดถั่วงอกลงไป เกลี่ยอย่าให้เมล็ดซ้อนกัน นำกระดาษทิชชูมาโป๊ะข้างบนเมล็ด รดน้ำให้ชุ่มเช้า-กลางวัน-เย็น ใช้เวลาวิถีใหม่คนเมืองอยู่'คอนโดฯ'ก็'ปลูกผัก'กินเองได้ thaihealthประมาณ 4 วัน เก็บเกี่ยวได้ ให้ผลผลิตถึง 2 กิโลกรัมต่อลิ้นชัก


ส่วนที่อยู่อาศัยที่มีแสงแดดส่องถึงเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน สามารถปลูกมะนาวในกระถางได้ มีเคล็ดลับว่าหมั่นตัดยอดแตกใหม่ของต้นอยู่ตลอด เพราะมีผลต่อการออกลูก และตัดผลทิ้งใน


ต้นมะนาวที่ยังเล็ก เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น นอกจากนั้นใส่ปุ๋ยให้ต้น อย่างที่เราใส่อยู่และได้ผลดีคือ ใส่ปุ๋ยชีวภาพน้ำหมักสับปะรด และบ้านที่ติดริมน้ำสามารถปลูกผักลอยน้ำได้ โดยนำโฟมมาทำฐานให้แพลอยน้ำ ปลูกผักบุ้ง ใช้เวลา 20-45 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้


อาจารย์ประจำ ศวพช.กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับใครที่สนใจปลูกผักสวนครัวบริโภคเอง เริ่มไม่ยาก สามารถมาหาเกษตรกรที่เขตภาษีเจริญได้ หรือปรึกษาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่มีในแต่ละพื้นที่ เพื่อขอคำแนะนำการปลูก ทั้งยังมีชุดเครื่องมือตรวจสอบหาสารตกค้างในผักใช้เวลาไม่นานวิถีใหม่ทั้งประหยัดและสุขภาพดี.


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

Shares:
QR Code :
QR Code