วิจัยผู้ดีพบยีนต้นเหตุโรคอ้วนตัวใหม่

ใครมีอยู่ในตัวจะอ้วนกว่าคนอื่น 3.5 ถึง 4.5 กิโลกรัม

 

หนังสือพิมพ์เดอะไทม์ฉบับออนไลน์ของอังกฤษรายงานว่าทีมนักวิจัยนานาชาติทีมหนึ่งซึ่งนำโดยนักวิจัยในประเทศอังกฤษได้ศึกษาพบยีนชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นยีนที่ทำให้คนเรามีนำหนักตัวมากกว่าปกติและนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนได้

 

การค้นพบครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจมากขึ้นว่าทำไมคนบางคนถึงได้มีน้ำหนักตัวเยอะในขณะที่บางคนกลับมีรูปร่างผอมบางถึงแม้ว่าจะมีวิถีชีวิตที่เหมือน ๆ กันก็ตาม สำหรับยีนตัวที่คนพบนี้มีชื่อเรียกว่า mc4r

 

โดยนักวิจัยระบุว่าหากใครที่มียีนที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่สู่ลูกหลานได้ตัวนี้ 2 สำเนาในลักษณะของยีนปกติจะมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับคนที่ไม่มี แต่หากเป็นสำเนายีนที่ผิดปกติและพบร่วมกับยีนอีกตัวชื่อ fto จะทำให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติถึง 3.5 ถึง 4.5 กิโลกรัม

 

สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาที่ทำขึ้นในคนจำนวน 90,000 คนจากนานาชาติและผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์เจเนติคส์ ส่วนปัญหาเรื่องโรคอ้วนนั้นเฉพาะในประเทศอังกฤษเองพบว่ามีประชากรผู้ใหญ่จำนวน 1 ใน 4 คนที่ถูกจัดว่ามีปัญหาเรื่องโรคอ้วน นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งของประชากรผู้ชายอังกฤษจัดอยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวเกินปกติ และ 1 ใน 3 ของประชากรหญิงมีน้ำหนักตัวเกินเช่นกัน

 

ก่อนหน้าที่จะมีการศึกษาพบยีนที่ทำให้คนอ้วนนั้นทราบกันแต่เพียงว่าพันธุกรรมน่าจะมีส่วนในการทำให้คนอ้วน จึงเป็นที่มาของการศึกษาหาดีเอ็นเอหรือยีนที่พบได้เหมือน ๆ กันในคนอ้วนโดยใช้เทคโนโลยีในการเปรียบเทียบยีน

 

นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาค้นพบน่าจะนำไปสู่การพัฒนาการรักษาใหม่สำหรับคนที่เป็นโรคอ้วน inês barroso หัวหน้านักวิจัยกล่าวว่า บทบาทที่แน่ชัดของยีน fto และ mc4r นั้นยังเป็นสิ่งที่ยังต้องศึกษากันต่อไป แต่สิ่งที่เราเริ่มเข้าใจแล้วคือผลที่เกิดจากการมียีนเหล่านี้อยู่

 

นอกจากการค้นพบยีนโรคอ้วนแล้วการศึกษาครั้งนี้ยังค้นพบดีเอ็นเออีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ดีเอ็นเอขยะหรือ junk dna และสาเหตุที่เรียกว่าดีเอ็นเอขยะก็เพราะว่า 98 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอชนิดนี้ไม่มีโปรตีนที่ผลิตยีนเลย

 

ก่อนหน้านี้ดีเอ็นอีชนิดนี้เป็นที่เข้าใจว่าไม่ได้มีหน้าที่อะไรแต่ทีมนักวิจัยนี้พบว่าแท้จริงแล้วดีเอ็นเอพวกนี้เป็นเหมือนสวิตซ์ปิดเปิดการทำกิจกรรมของยีนซึ่งมีผลต่อกระบวนการผลิตโปรตีน

 

 

 

 

 

 

ที่มา : สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

 

 

update 06-05-51

Shares:
QR Code :
QR Code