วัยรุ่น อดอาหารเช้าเสี่ยงอ้วน

/data/content/24164/cms/e_ilnrstv45679.jpg


          กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรทั่วประเทศพบประชากรวัย 15-24 ปี รับประทานอาหารเช้าน้อยที่สุด


          เมื่อวันที่ 5 พ.ค. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรทั่วประเทศ จำนวน 26,520 ครัวเรือน พบว่าประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป รับประทานอาหารมื้อหลักในแต่ละวันครบ 3 มื้อ โดยพบสูงสุดในกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี และต่ำสุดในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ส่วนใหญ่จะงดมื้อเช้าและพบมากในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการงดรับประทานอาหารเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ช่วงสายของวันจะรู้สึกหิว หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการทำงานจะด้อยกว่าคนที่รับประทานอาหารเช้า เนื่องจากสมองต้องการน้ำตาลกลูโคสหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และจะหันมารับประทานอาหารอื่น เช่นขนมแทนส่งผลให้อ้วนมากขึ้น


          ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาหารเช้าที่ดีควรประกอบด้วย


          1. อาหารประเภท ข้าว แป้ง จะให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต


          2. เนื้อสัตว์ นม ไข่ ให้สารอาหารโปรตีน


          3. ไขมันจากพืชและสัตว์ให้สารอาหารไขมัน


          4. ผักชนิดต่าง ๆ ให้วิตามินและแร่ธาตุ และหากมีผลไม้ด้วยก็จะครบ 5 หมู่ ซึ่งจะให้ผลดีต่อร่างกายเป็นอย่างมาก อาหารเช้าเป็นอาหารมื้อที่สำคัญเป็นอย่างมาก


          ดังนั้นทุกคนโดยเฉพาะเด็กไม่ควรละเลยที่จะรับประทานอาหารเช้าเพื่อการมีสุขภาพที่ดี


 


 


          ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code