วันโลกรำลึกผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุ

          สคอ.หนุนลดความเร็ววันโลกรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน


/data/content/26532/cms/e_agrstxy14589.jpg


          วันที่ 16 พ.ย.57 นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ(สคอ.) ร่วมงานในวันโลกรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน ปี 2557 จัดขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 16 พฤศจิกายน 2557 เวลา 08.00-09.00 น. ณ บริเวณด้านหน้าองค์การสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ประเด็นการรณรงค์ คือ “ ความเร็วค่าชีวิต จำกัดความเร็วเพื่อลดการเสียชีวิต ทำให้ปี พ.ศ.2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งการจดจำ” จัดโดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) มี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เป็นประธานเปิดงาน โดยมีผู้แทนจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ผู้แทนองค์การสหประชาชาติ ผู้แทนสถานทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ผู้แทนกลุ่มเครือข่ายเหนือเมาแล้วขับ และภาคีเครือข่ายความปลอดภัยทางถนน เข้าร่วมงาน 


          จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้อ่านสารจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอนหนึ่งว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสำคัญที่คร่าชีวิตคนไทย ทำให้มีผู้บาดเจ็บและพิการ และทุพลภาพจำนวนมาก รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการลดอุบัติเหตุบนถนน โดยกำหนดเป็นนโยบายหลักด้านการยกระดับคุณภาพการบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน โดยเน้นในเรื่องของการป้องกัน แก้ไขปัญหาและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร มี ศปถ.เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนบูรณาการทุกภาคส่วน ในการดำเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง มุ่งลดปัจจัยเสี่ยง ครอบคลุมทั้งคน ยานพาหนะ ถนน และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการปลูกจิตสำนึกและวินัยจราจร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนนให้มีความปลอดภัย และปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด รวมทั้งวางกลไกเชิงระบบในการลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเพื่อให้ประเทศไทยมีการสัญจรอย่างปลอดภัยตาม ซึ่งการลดอุบัติเหตุทางถนน เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อสภาที่จะร่วมมือกับทุกฝ่าย ในการตรวจจับและป้องกัน ซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุนทุกภาคส่วนให้มีบทบาทร่วมกันในการสร้างวัฒนธรรม และปลูกจิตสำนึก ร่วมทั้งลดจำนวนการสูญเสีย


           ด้านนายพรหมมินทร์ กัณธิยะ กล่าวว่า สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก เฉลี่ยปีละ 1.3 ล้านคน ผู้บาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพเฉลี่ยประมาณปีละ 50 ล้านคน พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ ได้แก่ ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เมาแล้วขับ แซงและตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด จากรายงานของมูลนิธิไทยโรดส์ ระบุว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้ความเร็ว ร้อยละ 20-25 เกิดบนถนนทั่วไป ร้อยละ 75 เกิดบนถนนทางหลวงแผ่นดิน และยังพบว่าผู้ใช้รถ 1 ใน 3 มีทัศนคติที่ผิดว่าการขับรถเร็วไม่น่าจะอันตราย หากเพิ่มความระมัดระวัง


          “ขณะที่ผลสำรวจตรวจวัดความเร็วของรถยนต์ส่วนบุคคลและรถกระบะที่วิ่งบนทางหลวงสายหลักที่สำคัญใน 30/data/content/26532/cms/e_dfhlouwz2378.jpg จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศในปี พ.ศ. 2553 ระบุว่า ผู้ขับขี่มีพฤติกรรมการใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด (90 กม./ชม.) คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 40 – 90 ในทุกภูมิภาค รวมถึงการสำรวจการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่รถตู้และรถบัสโดยสารรอบพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง ในปี 2555 พบว่ารถตู้มากกว่าร้อยละ 50 และรถบัสมากกว่าร้อยละ 65 มีพฤติกรรมขับรถเร็วกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด”


“พฤติกรรมการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่ ส่งผลให้อุบัติเหตุแต่ละครั้งมีความรุนแรงและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นตามกฎหมายได้กำหนดให้ใช้ความเร็วบนถนนนอกเมืองกำหนดไว้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนถนนในเมืองกำหนดไว้ที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย การเปลี่ยนทัศนคติและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จะเป็นสิ่งที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุลงได้” นายพรหมมินทร์ กล่าว


           ทั้งนี้ ภายในงานมีพิธีไว้อาลัยเพื่อรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน โดยยืนสงบนิ่งไว้อาลัย วางดอกไม้ และเขียนคำไว้อาลัย และปล่อยลูกโป่งเพื่อรำลึกถึงเหยื่อผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางท้องถนน


 


 


           ที่มา : สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ(สคอ.)

Shares:
QR Code :
QR Code