ลุยพัฒนาเด็กปฐมวัย หวังเติบโตเป็นประชากรที่ดี

          หลายภาคส่วนจัดประชุมโครงการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ ด้านที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ชี้การลงทุนกับเด็กปฐมวัยคุ้มค่าที่สุด เหตุจะนำไปสู่การเป็นประชากรที่ดี…


/data/content/25241/cms/e_abkmpsuz4689.jpg


          สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจและอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลเด็กปฐมวัยระดับพื้นที่ ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด ซึ่งมีผู้ตรวจราชการกระทรวงสารณสุข นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้แทนโรงพยาบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจาก 19 จังหวัดเข้าร่วม ที่โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ


          โดย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และรองประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 4 สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า การลงทุนกับเด็กปฐมวัยคุ้มค่าที่สุด ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญา รวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จะนำไปสู่การเป็นประชากรที่ดีมีคุณภาพ แต่ความเปลี่ยนแปลงด้านสังคม และครอบครัว เป็นตัวแปรหนึ่งที่นำมาสู่ปัญหาการดูแลเด็ก เนื่องจากไม่สามารถดูแลเด็กได้ด้วยตัวเองปล่อยให้อยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย จึงเกิดช่องว่างของระบบและกลไกการดูแลเด็กปฐมวัย ยิ่งปัจจุบันระบบที่เข้ามาดูแลเด็กมีความซับซ้อนทำให้ดูแลเด็กได้ยากขึ้น และที่ผ่านมาระบบจังหวัดอ่อนแอ เพราะขึ้นกับส่วนกลางขาดการประสานบูรณาการงานร่วมกัน ดังนั้น ระบบสาธารณสุข ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการทำงานในระดับจังหวัดที่เข้มแข็งและสามารถดูแลได้ตลอดช่วงอายุของเด็กปฐมวัย ต้องร่วมนำสร้างกลไกระดับจังหวัด โดยเชื่อมโยงเป็น 1 ช่วงวัย 3 ระบบ คือ 1. ระบบสุขภาพ 2. ระบบเรียนรู้ และ 3. ระบบการดูแล/data/content/25241/cms/e_bdegquv14679.jpgของชุมชน ครอบครัว ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางที่ต้องจัดระบบทรัพยากรเพื่อการสนับสนุน ระดับจังหวัดต้องเชื่อมโยงระบบและกำกับติดตาม และ ระดับพื้นที่ เช่น อปท. ศพด. มีคุณภาพ มีระบบธรรมาภิบาล


          "ประเทศไทยต้องจัดการศึกษาให้เด็กมีสำนึกรักบ้านเกิด คือเด็กเกิดจังหวัดใด ก็ต้องมีความรักในจังหวัดของตนเอง ฉะนั้น ต้องสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่น คนทำงานด้านปฐมวัยก็เข้ามาร่วมกันคิด เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีที่สุด ซึ่งต้องมีการวัดพัฒนาการเด็ก2 แบบ คือ 1. เด็กที่มีพัฒนาการปกติต้องวัดที่เด็กมีความพร้อมเข้าสู่โรงเรียน สามารถควบคุมตนเอง เชื่อมั่นตนเอง มีพัฒนาการด้านภาษาและสติปัญญา และ 2. เด็กที่มีความเสี่ยงผิดปกติ คือเด็กที่ไม่สามารถจัดการตัวเองได้ จึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย การส่งเสริมพัฒนาการ และเรื่องสุขอนามัย" นพ.ยงยุทธ กล่าว


          ด้าน นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน กล่าวว่า การดูแลเด็กเป็นเรื่องสำคัญ การที่ผู้ปกครองนำเด็กมาฝากให้ ศพด.ดูแล เพราะอยากให้ลูกที่รักที่สุดอยู่รอดปลอดภัย มีการเจริญเติบโตมีพัฒนาการที่สมวัย ฉะนั้น ศพด.ควรดำเนินการ 4 เรื่อง คือ


          1. นโยบายต้องสะท้อนทั้งข้างบนและข้างล่าง โดยบูรณาการทำงานร่วมกันระดับจังหวัด ทั้งเป้าหมาย ทิศทางที่ผู้ปฏิบัติต้องการเห็นมาก


          2. แผนสร้างแผนระยะยาวครอบคลุมมองเป้าหมายแนวทาง ทั้งนี้ อยากให้มีการวางแผนทำงานล่วงหน้าครึ่งปี โดยใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและความจำเป็นในพื้นที่เป็นตัวตั้ง ทำแผนล่วงหน้าให้ตอบสนองต่อสิ่งที่จะดำเนินการ เป็นการเตรียมพร้อมการทำงานระยะต่อไป เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและไม่เกิดความกดดันตัวเองในการทำเรื่องเร่งด่วน


          3. การปฏิบัติ ควรมีระบบสุขภาพในระดับอำเภอ DSK (District Health System) มองภาพความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เช่น การเรียนรู้ของเด็กในจังหวัดน่าน ควรแตกต่างจากเด็กกรุงเทพฯ แต่ต้องให้เรียนรู้ครบถ้วน เติบโตและมีพัฒนาการที่เข้ากันได้กับสภาพแวดล้อม ซึมซับวิถีประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่องค์ประกอบที่จะทำให้สมบูรณ์ต้องอาศัยเครื่องมือในพื้นที่มาร่วมมือกัน ทั้ง รพ.สต. รพช. โรงพยาบาลในพื้นที่ร่วมมือกัน/data/content/25241/cms/e_eijlprwy2689.jpgพัฒนาดำเนินการอย่างแข็งแกร่งและเข้มแข็ง เมื่อพบเด็กผิดปกติ 1 คน จะดูแล ส่งต่ออย่างไร หากมีระบบการร่วมมือที่ดี ก็จะสามารถแก้ไขในสิ่งที่ผิดปกติได้ และเมื่อจับกันได้แล้วก็ต้องขยายความร่วมมือไปที่อื่นๆ 


          4.การกำกับ ติดตามและการสนับสนุน ต้องมีการนิเทศแนะนำวิเคราะห์ปัญหาได้ตรง สามารถให้คำแนะนำเพื่อให้ปฏิบัติได้ตรงจุด ไม่ใช่แนะนำภาพใหญ่ คนในพื้นที่จะไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมาย ซึ่งเรื่องการกำกับติดตามไม่ใช่งานนิเทศอย่างเดียว แต่ต้องมีการตรวจสอบผลงาน KPI ที่สะท้อนผลงานที่วัดได้ ซึ่งต้องเข้าใจ KPI ในความเป็นจริง อย่ามอง KPI เป็นตัวเลข ฉะนั้น การกำกับติดตามควรเข้าใจในผล เพื่อดูกระบวนการ และลงไปสนับสนุนช่วยเหลือ ซึ่งการนิเทศของจังหวัด ไม่ควรแสดงตนเป็นผู้ตรวจงาน แต่ลงพื้นที่ไปดูเพื่อหาทางสนับสนุน เพราะหน่วยงานหรือพื้นที่ต่างๆ ไม่ได้เริ่มต้นด้วยทุนที่เท่ากัน ผลที่จะเกิดขึ้นเท่ากันคงเป็นไปไม่ได้


          ซึ่งทั้ง 4 เรื่องเป็นเรื่องสำคัญที่สามารถนำมาประยุกต์ได้กับทุกเรื่องที่จะไปเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก.


 


 


          ที่มา: เว็บไซต์ไทยรัฐ


          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code