ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยกิจกรรมทางกาย

การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอเป็น 1 ใน 4 ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญนอกเหนือไปจาก บุหรี่ สุรา และอาหาร ที่ทำให้โรคไม่ติดต่อที่ขยายไปทั่วโลก และคร่าชีวิตประชากรโลกแต่ละปีกว่า 35 ล้านคน การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกาย จึงเป็นหนทางสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้


ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยกิจกรรมทางกาย thaihealth


แฟ้มภาพ


เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC) จัดการประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “Active Living for all” หรือ กิจกรรมทางกายเพื่อทุกคน โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและสร้างโอกาสในการเรียนรู้กระบวนการจัดการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ


รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยกิจกรรมทางกาย thaihealthสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ได้ส่งเสริมเสริมการมีกิจกรรมทางกายผ่านยุทธศาสตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ การมีกิจกรรมทางกายระดับบุคคล (Active people) สถานที่ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกาย(Active place) และนโยบายของการมีกิจกรรมทางกาย ( Active policy)


“เรื่องของกิจกรรมทางกายไม่ใช่ปัญหาส่วนบุคคล แต่เป็นปัญหาของทั้งสังคมที่ต้องช่วยกันแก้ไข สสส.จึงต้องทำงานผ่านภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น สถานศึกษา ในการสร้างพื้นที่สุขภาวะ หรือปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ควบคู่ไปกับการสื่อสารรณรงค์ โดยทุกภาคส่วนล้วนแต่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนให้กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ง่าย ลดพฤติกรรมแน่นิ่ง ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยม และวิถีชีวิตของคนในประเทศ” รศ.ดร.วิลาสินี กล่าว


ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คนไทยประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)  และการบาดเจ็บ พ.ศ.2553 พบว่าคนไทยช่วงอายุ 15-74 ร้อยละ 65.7 หรือประมาณ 31.3 ล้านคน ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และคนไทยจำนวนมากเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุถึงร้อยละ 71 ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต


“คนส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องการรักษาสุขภาพ แต่ขาดความพยายาม ซึ่งเทคนิคที่แนะนำคือ ‘การลดเวลานั่ง-เพิ่มเวลายืน-ยืดเวลาเดิน-เพลินเวลาออกกำลัง’ เป็นแนวทางที่ทำได้ไม่ยาก เช่น ลุกขึ้นเดินให้ได้ระหว่างอยู่ในที่ทำงานสัก 2 ชั่วโมง เพิ่มเวลายืนให้มากขึ้น 4 ชั่วโมง และทำงานบ้าน 1 ชั่วโมง เป็นต้น ที่สำคัญควรมีวินัยในตนเอง เพราะ สิ่งที่ยิ่งใหญ่มักมาจากสิ่งเล็กๆ น้อย ๆ ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง” ผศ.นพ.สมเกียรติ กล่าว


มาที่ต้นแบบการผลักดันกิจกรรมทางกายในระดับท้องถิ่น โดย นพ.สุธี ฮันตระกูล รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครพิษณุโลก กล่าวว่า เทศบาลฯ ได้สนับสนุนพื้นที่กิจกรรมทางกายในหลายรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนในลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยกิจกรรมทางกาย thaihealthทุกวัย เช่น การปรับปรุงพื้นสวนสาธารณะ และบรรยากาศทุกจุดของเมืองให้มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น เส้นทางวิ่ง แอโรบิค โยคะ ไทเก็ก โดยเฉพาะการสนับสนุนเรื่องเส้นทางจักรยาน และการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ที่นอกจากจะเป็นกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมกับทุกวัย ยังเป็นการลดมลพิษในท้องถนนอีกด้วย


โดยได้เข้าร่วมโครงการ เมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี ของสสส. นำยุทธศาสตร์ 3 ส.‘1สวน 1เส้นทาง 1สนาม’ มาปรับใช้ในพื้นที่เกิดเส้นทางจักรยานได้แก่ 1.สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สวนสาธารณะประจำเมืองที่สามารถเข้ามาปั่นจักรยานได้ตลอดทั้งวัน โดยมีการติดตั้งจุดเช่ายืมรถจักรยานไว้บริการ 2.เส้นทางรอบเมืองที่สามารถปั่นจักรยานได้โดยรอบ 3.เส้นทางสนามบินพิษณุโลก เป็นถนนที่กว้างขวางมีรถสัญจรไม่มาก และมีบรรยากาศที่ร่มรื่น


“สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา การมีกิจกรรมทางกาย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของทุกคน หากทุกฝ่ายเล็งเห็นความสำคัญแล้วพัฒนาอย่างจริงจัง ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน” นพ.สุธี กล่าวทิ้งท้าย


 


 


ที่มา: เว็บไซต์คมชัดลึก 

Shares:
QR Code :
QR Code