ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัย

ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัย thaihealth


สสค.-ม.หอการค้า-ม.มหาสารคาม ผนึกกำลัง 24 อบต. สร้างรากฐานคุณภาพเด็กปฐมวัย ชี้ยุคทองของการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ตลาดแรงงานโลกต้องการ ต้องเริ่มที่เด็กเล็ก


วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 คณะศึกษาศาสตร์ ม.มหาสารคาม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย ม.หอการค้า ม.มหาสารคาม และองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 24 แห่ง ในเขต จ.มหาสารคามและกาฬสินธุ์ ร่วมกันยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อให้สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนยากจนในพื้นที่ชนบทอย่างสมวัย ใน “โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ” 


นายเสฐียรพงศ์ มากศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จังหวัดเห็นความสำคัญของการพัฒนาลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัย thaihealthคุณภาพเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ปัจจุบันมหาสารคามมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งสิ้น 371 ศูนย์ มีจำนวนเด็กเล็ก (2-5 ปี) 17,858 คน “30 ปีที่ผ่านมาประเทศสูญเสียโอกาสในการพัฒนาคนมาตลอด เพราะการเน้นพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน ทำให้คนไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การร่วมมือกันของ 24 อบต.จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาคน จังหวัดจะคอยส่งเสริมสนับสนุนนำร่องศูนย์ฯให้ครอบคลุมทุกอบต.โดยคาดหวังให้เกิดศูนย์เด็กเล็กมีคุณภาพ ครูและท้องถิ่นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการหนุนเสริมให้การพัฒนาเด็กปฐมวัยประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น”


ผศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง หัวหน้าโครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญคือการให้น้ำหนักที่การดูแลเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและถือเป็นการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าที่สุด จากงานวิจัยของศ.เจมส์ เฮ็กแมนนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ได้ศึกษาการใช้กระบวนการไฮสโคปเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กในระดับปฐมวัยชี้ให้เห็นว่า การลงทุนใน 1 บาท จะได้ผลประโยชน์คืนกลับต่อผู้เข้าร่วมโครงการและสังคมประมาณ 7–12 บาท จึงได้ร่วมกันพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 50 แห่ง ในเขตจ.มหาสารคามและกาฬสินธุ์ ซึ่งถือเป็นภาพสะท้อนที่ดีที่สุดของชนบทในประเทศไทย ครอบคลุมเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2-4 ปี จำนวน 2,000 คน ตลอดจนการจัดทำฐานข้อมูลเด็กและเยาวชนในช่วงปฐมวัยแบบต่อเนื่อง 


“จ.มหาสารคามเป็นภาพสะท้อนของความเป็นชนบทไทยที่ดี จากการเก็บข้อมูลพบว่า เด็กจำนวนมากถึง 42.17% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ หรือเรียกว่า ภาวะพ่อแม่ห่างลูกซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30% ภาวะนี้จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงทำหน้าที่สร้างช่วงเวลาที่มีคุณภาพอย่างน้อย 6 ชม./วัน ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ที่จะพัฒนาไปสู่ต้นทุนชีวิตและคุณภาพชีวิตในอนาคต”ผศ.ดร.วีระชาติ กล่าว


ดร.สุดาเรศ ศิริสิทธิ์ธนภาค อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า หัวใจของลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัย thaihealthกระบวนการเรียนรู้แบบไฮสโคปเน้น 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1.การวางแผน (Plan) เพื่อให้เด็กได้รู้จักกำหนดเป้าหมาย ทำงานอย่างเป็นระบบก่อนลงมือปฏิบัติ  2.การลงมือปฏิบัติ (Do) เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักสำรวจ สร้างสรรค์จินตนาการ รู้จักเข้าสังคมและทำงานเป็นกลุ่ม และ 3. การนำเสนอ (Review) เพื่อทบทวนกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งเป็นการฝึกการสื่อสารจากการเล่าประสบการณ์ เด็กจะกล้าแสดงออก รู้จักคิดตั้งคำถามและเป็นผู้ฟัง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างทักษะเชิงพฤติกรรมให้สมบูรณ์


ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลสำรวจของเวิล์ดอีโคโนมิค ฟอรัม (2016) ระบุว่า ทักษะด้านพฤติกรรม (Non-cognitive Skills) เช่น ความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์ กำลังเป็นทักษะที่ตลาดแรงงานตัองการอย่างสูงในตลาดแรงงานในปี 2020 ซึ่งทักษะเหล่านี้จะส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการศึกษา 2) ด้านพฤติกรรมเชิงบวก 3) ด้านสุขภาวะที่ดี และ 4) ด้านความสำเร็จในอาชีพ ดังนั้นการลงทุนในช่วงปฐมวัยจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสอดรับกับทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการในโลกอนาคต


นางทิพย์สุดา สุเมธเสนีย์ คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้เห็นความพยายามของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้คุณภาพด้วยการพัฒนาครูและสถานที่ นอกจากนี้คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติได้มีคณะอนุกรรมการซึ่งดูเรื่องมาตรฐานของศูนย์เด็กและมาตรฐานการเลี้ยงดูเด็ก ตลอดจนองค์ความรู้ในการพัฒนาเด็กเล็กแต่กลับพบว่าเมื่อมาถึงปลายทางกลับเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะความไม่เข้าใจของครูผู้ดูแลเด็กเล็กและผู้รับผิดชอบศูนย์ ดังนั้นความร่วมมือของคนในพื้นที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เชื่อว่าหากทุกมหาวิทยาลัยลุกขึ้นมาสนับสนุนเพื่อให้เป็นความรู้ที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับที่จ.มหาสารคามก็จะเกิดการกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนแปลงได้


 


 


ที่มา : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

Shares:
QR Code :
QR Code