ฤดูไข้หวัดใหญ่ระบาด

ทุกปีไข้หวัดใหญ่จะระบาดในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนหลายคนเข้าใจว่าไข้หวัดใหญ่จะระบาดมากในฤดูหนาวความเป็นจริงสำหรับประเทศไทย การระบาดจะเกิดขึ้นในฤดูฝนมากกว่าฤดูหนาว ใน 2-3ปีที่ผ่านมามีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009ระบาดอย่างมากช่วงมิถุนายนถึงกันยายน


ไข้หวัด


ปีนี้จากการติดตามการระบาดของโรค โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2ของเดือนกรกฎาคม สายพันธุ์ที่มีการระบาดอย่างมาก เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล H3N2นอกจากนี้ เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009และไข้หวัดใหญ่ชนิดบี พบการระบาดจำนวนมากในกรุงเทพฯ


ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีอาการมากถึงกับต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาการของโรค ประกอบไปด้วยไข้สูง (เกินกว่า 38องศาเซลเซียส) ปวดเมื่อยตามตัว กระบอกตา มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เจ็บคอ มีน้ำมูก ไอ ในรายที่รุนแรง จะมีอาการแทรกซ้อน หลอดลมและปอดอักเสบ ปอดบวมได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 2ปี ผู้สูงอายุ (ที่มีอายุมากกว่า 65ปี) คนอ้วน (ดัชนีมวลกายเกินกว่า 30) ผู้ที่มีโรคเรื้อรังเช่น โรคปอด หัวใจ เบาหวาน โรคมะเร็ง ฯลฯ


กลุ่มบุคคลดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้โรครุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้เสียชีวิตได้ การระบาดของโรคในปีนี้เป็นสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่เรียกว่า “H3N2” เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด A การถอดรหัสพันธุกรรมจากสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย B4478และ H2973ทำให้เชื่อได้ว่าร้อยละ 57ถึงร้อยละ 98-99มีความคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ “A/Perth/16/2009″(H3N2) ที่อยู่ในวัคซีน การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน สามารถป้องกันการป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ผู้ที่ต้องสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ควรพบแพทย์เพื่อประเมินการรักษาที่เหมาะสม การให้ยาต้านไวรัส”oseltamivir” โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง 


การป้องกันการระบาดทำได้เช่นเดียวกันกับช่วงมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009คือ การล้างมือเมื่อป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัย กินร้อนช้อนกลาง และล้างมือ


 


 


 


ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก


  

Shares:
QR Code :
QR Code