ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ เราทำได้

ความสุขคงเป็นสุดยอดความปรารถนาที่คนทุกคนอยากจะครอบครองไว้กับตัวไว้นานเท่านาน แม้ความสุขจะเป็นเรื่องพื้นฐานที่แต่ละคนต้องสร้างเอง แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการมีน้ำใจอันดีงาม การรู้จักแบ่งปัน มิตรไมตรีในความสัมพันธ์ การทำคุณความดี อื่นๆ รวมถึงการมีสุขภาวะที่ดีในทุกด้าน ก็นับเป็นปัจจัยสร้าง ‘ความสุข’ ให้เกิดขึ้นในสังคมด้วย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำหน้าที่จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน ประสานความร่วมมือเพื่อให้คนไทยมีสุขภาวะยั่งยืน อันหมายถึงสุขภาพดีครบใน 4 มิติ ได้แก่ กาย จิต ปัญญา และสังคม ทั้งนี้ ระบบสุขภาพที่มีคุณลักษณะเหมาะสมย่อมจะเป็นหลักประกันความยั่งยืนและมีชีวิตเป็นสุขแบบพอเพียง สามารถทำได้ด้วยการจัดสมดุลให้ชีวิต ซึ่งทุกคนสามารถมีสมดุลชีวิตที่ดีได้ด้วยการบริหารจัดการชีวิตที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตน ในเรื่องการกิน ออกกำลังกาย และการจัดการสู่ความสมดุล

ด้วยการรับรู้ข้อมูลด้านสุขภาวะในทุกกลุ่มทุกวัย สร้างความรู้ความเข้าใจจากการรับฟังเรื่องราวของผู้มีประสบการณ์ตรง และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและมีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง สสส.พร้อมจัดทำกิจกรรมที่สร้างเสริมสุขภาวะ รวมถึงจัดแสดงนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้สุขภาวะ ที่ผสมผสานความรู้และความน่าสนใจได้อย่างลงตัว ภายใต้แนวคิด “ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ คุณทำได้” ซึ่งจะเป็นที่มาของการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิด “แรงบันดาลใจ” และ “ความศรัทธา” ที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งปวงนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีของตัวเอง คนรอบข้าง และสังคมต่อไป

สำหรับนิทรรศการ สสส.ร้อยความสุขคนไทย เป็นพื้นที่เปิดกว้างสำหรับภาคีเครือข่ายของ สสส.ได้มาพบปะ แลกเปลี่ยน และจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมหมุนเวียน ซึ่งบริเวณโดยรอบของห้องนิทรรศการจะนำเสนอประวัติความเป็นมาและผลงานเด่นของ สสส. นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กร รวมทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ในทศวรรษหน้า นอกจากนั้นยังนำเสนอแนวความคิดเบื้องหลังการจัดทำสื่อเพื่อรณรงค์ทางสังคม และเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งภายในองค์กร สสส. และภาคีเครือข่ายภายนอก.

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกองทุน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 สสส.มีหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในสังคม ในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้บรรลุผลในการลดอัตราการเจ็บปวดและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร กระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความเชื่อ และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อคุณภาพชีวิต ช่วยลดภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยที่มาของเงินทุน ก็คือรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี

สสส.ทำหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน เชื่อมประสานและร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเข้มแข็งในสังคมไทย โดยอาศัยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทำหน้าที่หลัก ดั่ง “น้ำมันหล่อลื่น” ให้เกิดการพัฒนาอย่างคล่องตัวและอย่างต่อเนื่อง

หลักในการทำงาน

สสส.ถือว่าการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคนและองค์กร บทบาทหลักของ สสส.คือ การสนับสนุนและร่วมมือกับบุคคล กลุ่ม และองค์กรต่างๆ ในการเป็น “ภาคี” ร่วมสร้างเสริมสุขภาพของคนไทย และการทำงานจะไม่จำกัดเฉพาะบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรในภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง แต่สัมพันธ์กันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

5 ลด 5 เพิ่ม เพื่อสุขภาวะที่ดีของทุกคน

5 ลด ได้แก่ หนึ่ง ลดอัตราการดื่มสุรา สอง ลดอัตราน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนในเด็ก สาม ลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุ สี่ ลดอัตราการสูบบุหรี่ และห้า ลดความสี่ยงการติดเชื้อเอดส์ในหญิงตั้งครรภ์

5 เพิ่ม ได้แก่ หนึ่ง เพิ่มชุมชนเข้มแข็ง สอง เพิ่มสัดส่วนคนที่มีความสุขในการดำรงชีวิต สาม เพิ่มสัดส่วนครอบครัวอบอุ่น สี่ เพิ่มอัตราการบริโภคผักและผลไม้ และห้า เพิ่มกิจกรรมทางกาย

ยุทธศาสตร์ไตรพลัง และความสุข 4 ด้าน กาย จิต สังคม ปัญญา

สสส.ดำเนินงานโดยใช้ยุทธศาสตร์ไตรพลัง ซึ่งประกอบด้วย พลังทางปัญญา พลังทางสังคม และพลังนโยบาย เป็นยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาสุขภาวะที่ยากและสำคัญในสังคมไทย

พลังทางปัญญา คือ ความรู้-คุณธรรม การพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพให้เท่าทันสถานการณ์และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบท

พลังทางสังคม คือ สาธารณะ การเมือง ฝ่ายบริหาร การขยายพื้นที่การส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้าง และมีผลต่อเนื่องว่ากิจกรรมรณรงค์เพียงชั่วคราว

พลังนโยบาย คือ เอกชน ชุมชน ราชการ ภาคีเครือข่าย การทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายภาคีทางสังคม โดยทุกภาคส่วนและทุกช่วงวัยมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ

สกัดแนวรุก ภัยเสี่ยงสุขภาพ

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 ใน 3 ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปดื่มแอลกอฮอล์ ทาง สสส.ได้จัดทำโครงการรณรงค์มากมาย อาทิ กระเช้าปลอดเหล้า, รับน้องปลอดเหล้า, จำกัดโฆษณาสุรารอบสถานศึกษา, วันงดดื่มสุราแห่งชาติ, รัก-เศร้า ไม่เคล้าสุรา, จำกัดโฆษณาสุราทางวิทยุโทรทัศน์

บุหรี่ เปลี่ยนภาพบุหรี่จากอดีตที่เห็นง่าย ซื้อง่าย เลิกยาก เป็นเห็นยาก ซื้อยาก แต่เข้าถึงบริการเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น โดยมีการจัดทำสื่อเพื่อรณรงค์ทางสังคม อาทิ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมายบุหรี่ เหล้า, ขยายเขตปลอดบุหรี่, วันปลอดเหล้าบุหรี่, ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ “ควิกไลน์ 1600”, ลดจำนวนนักสูบมือสอง, ห้ามโชว์ของบุหรี่ ณ จุดขาย, ภาพคำเตือนสี่สีบนซองบุหรี่

กินอยู่ รู้เท่าทัน

เรียนรู้เรื่องราวของการบริโภคอาหารและพฤติกรรมของคนในสังคมปัจจุบันที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพต่างๆโดยการรณรงค์ดังนี้ฉลากขนมสายพันธุ์ใหม่, โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม, เครื่องทำน้ำเย็นไร้สารตะกั่ว, นับหนึ่งมาตรฐานตลาดนัด, ของว่างเพื่อสุขภาพ, ปฏิวัติ “น้ำมันทอดซ้ำ”, กฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย, คนไทยไล่พุง, อาหารทารกสูตรใหม่ ไร้น้ำตาล

เสริมพลังสื่อ สร้างสุขภาวะ

สร้างแนวคิดใหม่ของการมีสุขภาวะที่ดี ไม่ใช่สินค้าหรือโฆษณา แต่เป็นทัศนคติและค่านิยมที่ปฏิบัติตามกันมา อาทิ สถานีโทรทัศน์วิทยุเพื่อสุขภาวะ, พลิกมิติใหม่ให้จอตู้, อยากกิน อยากได้ อยากมี อยากดื่ม อยากสูบ อยากซิ่ง, กองทัพโฆษณาสินค้าและบริการที่กระตุ้นกิเลสให้เกิดความอยากบริโภคจนเกินพอดี ยืดหัวพาดสื่อทุกแขนงของไทย

เพิ่มพื้นที่สื่อน้ำดี สื่อรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพ เวลา 1 ใน 4 ของชีวิตเด็กไทยหมดไปกับการดูโทรทัศน์ ขณะที่แต่ละวันก็จะเห็นความรุนแรงประมาณ 9-15 ครั้ง เป็นของแถมจากรายการทีวี, โครงการดนตรีอาสา สร้างสรรค์สังคม, ระดมพลังสื่อพื้นบ้าน, สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน, ดนตรี การแสดงปลอดเหล้า บุหรี่, ส่งเสริมเด็กไทยรักการอ่าน

สร้างเครื่องมือ สิ่งที่จำเป็นมากกว่าการรับรู้ว่าเยาวชนไทยตกอยู่ท่ามกลางสื่อไม่เหมาะสม คือ การสร้างตัวช่วยให้คนในสังคม ร่วมกันดูแลพวกเขาจากความเสี่ยงเหล่านั้น ผู้คนวันนี้ต้องเผชิญกับภาวะเจ็บป่วยรอบด้าน สวนทางกับสังคมในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร รายการเพลงหรือละครที่ถูกสื่อและสังคมวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สร้างสรรค์ นำเสนอความรุนแรง ความฟุ่มเฟือย กลับได้ออกอากาศในช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ในบ้านนั่งล้อมวงดูทีวี โดยเรตติ้งรายการทีวี แต่ละวันเด็กไทยจะเห็นความรุนแรงประมาณ 9-15 ครั้งจากรายการทีวี

งานสร้างสุข รุกทุกแห่ง

สร้างจิตสำนึกเพื่อสังคมที่ดีขึ้นมากกว่าความร่วมมือ แต่เป็นเครือข่ายที่ยั่งยืนอาทิยกระดับสุขภาวะ 4 มิติสุขภาวะ เพื่อทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยอาทิโครงการปลูกจิตอาสา, ร้านขายยาช่วยเลิกบุหรี่, องค์กรแห่งความสุข เติมแนวคิด สร้างนำซ่อม สู่หลักสูตรวิชาชีพสาธารณสุข, สมาธิบำบัดเสริมมิติ สุขภาพจิตใจ ให้บริการสาธารณสุข, พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน สนามเด็กเล่นปลอดภัย ความสนุกสนาน และการเรียนรู้ตามวัยจากการเล่นของเด็กอาจต้องแลกกับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต, สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, กระชังว่ายน้ำ ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตของเด็กจมน้ำมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หมวกนิรภัยสำหรับเด็ก เรื่องเศร้าที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ก็คือ ในแต่ละปีมีเด็กถึง 1 แสนคนได้รับบาดเจ็บจากรถจักรยานยนต์ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กเป็นอันดับสอง, สร้างเสริมสุขภาพพระภิกษุ

สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดไม่ใช่ความสำเร็จ ผลงานหรือรางวัล แต่เป็นสุขภาพที่ดีของทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยที่เกิดจากทุกภาคส่วน

Shares:
QR Code :
QR Code