รู้เท่าทันโฆษณา อาหาร-ยาต้านโควิด

ที่มา : ไทยโพสต์


รู้เท่าทันโฆษณา อาหาร-ยาต้านโควิด thaihealth


เเฟ้มภาพ


ปัญหาเรื่องร้องเรียนโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพนำมาสู่การดำเนินคดีตามกฎหมายยังมีต่อเนื่อง ยิ่งในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคป้องกันสุขภาพและสรรหาวิตามิน ยา อาหารเสริมดุแลร่างกายมากขึ้นหลายเท่าตัว ไม่ว่าจะวัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ขณะที่ผู้ประกอบการผู้ขายบางกลุ่มไม่รับผิดชอบสังคมอาศัยความกลัวและรู้ไม่เท่าทันนำเสนอสินค้าแบบเกินจริงให้ชุดข้อมูลซ้ำๆ จนผู้บริโภคหลงเชื่อ โดยเฉพาะการโฆษณาบนโลกออนไลน์กระตุ้นการซื้อขายอย่างรวดเร็ว พบโฆษณาหลอกลวงเกิดขึ้นมาก


เหตุนี้ ประชาชนควรจะมีความรู้และช่วยสื่อสารเตือนภัยโฆษณาลวงโลก ในเวทีสาธารณะออนไลน์ "รู้เท่าทัน..โฆษณาอาหารยารักษาโควิด-19 ได้หรือไม่? ร่วมจัดโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันก่อน ให้ความสำคัญในการป้องกันโฆษณาเกินจริงและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคประชาชนมากขึ้น


รู้เท่าทันโฆษณา อาหาร-ยาต้านโควิด thaihealth


ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มทำนิวไฮทุกวัน ส่งผลให้ประชาชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากขึ้น มีความสนใจสินค้าและบริการสนับสนุนการดูแลสุขภาพที่ดี ซึ่งเหมือนเหรียญสองด้าน สสส.มีบทบาทสำคัญทำหน้าที่จุดประกาย สานเสริม กระตุ้นพลัง เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ทางสุขภาพสามารถซื้อสินค้าและบริการอย่างรู้เท่าทัน ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจัดการปัญหาโฆษณาเกินจริงอย่างกรณีเจลแอลกอออล์หรือประกันภัยโควิด นำมาสู่การจัดการและปกป้องสิทธิผู้บริโภค


"ช่วงโควิดสินค้าออนไลน์เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกซ์ปี 2562 เพิ่มขึ้น40% จากปี 2561 และปี 2563 ปี 2564 มูลค่าก็มากขึ้น ขณะที่ผลวิจัยศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคและสุขภาพปี 2562 พบว่า 1 ใน 5 กลุ่มตัวอย่างสั่งผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์ แบ่งเป็นอาหารเสริม 47.2% ยาผิดกฎหมาย ยาลดความอ้วน ยาแผนปัจจุบัน 20% วิตามิน ยาบำรุง เกือบ 6% นี่เป็นนิวนอร์มอลของเจเนอเรชั่นใหม่ จำเป็นต้องมีระบบตรวจตรา รับเรื่องร้องเรียน และควบคุมคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโฆษณาบนสื่อออนไลน์ สสส.ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคมากว่า 18 ปียังให้ความสำคัญต่อเนื่องและสนับสนุนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในระดับจังหวัดให้มีอาวุธต่อสู้ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่นที่ถาโถม ช่วยเหลือดูแลคุ้มครองผู้บริโภคได้" ชาติวุฒิ กล่าว


แนวทางที่ผู้บริโภคจะปกป้องตัวเองเพื่อสร้างความปลอดภัยทางสุขภาวะนั้น ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกีบรติยิ่งอังศุลี ผจก.กพย. ผู้บริโภคไทยเป็นเหยื่อโฆษณาเกินจริง ปัจจุบันโฆษณากับเฟคนิวส์ ข่าวปลอมปะปนกัน ต้องรู้เท่าทัน พบข้อมูลพฤติกรรมการเผยแพร่ข่าวปลอมคนไทยมีจำนวนผู้แชร์ข่าวปลอม 20 ล้านคน มากกว่า 90% อยู่ในช่วงอายุ 18-34 ปี แล้วยังมีงานวิจัยคนสูงวัยแชร์ข่าวปลอมสูงกว่าวัยรุ่น 7 เท่า รวมถึงเฟคนิวส์กว่า 70% เป็นเรื่องสุขภาพ ในช่วงโควิดพบโฆษณาอาหารยาเกินจริง ผลิตภัณฑ์ยอดฮิตอาหารเสริม ผสมยาโบราณ สมุนไพร รวมถึงเครื่องมือแพทย์ วิธีการดูแลรักษา อย่างไรก็ตาม แหล่วงช่วยตรวจสอบข่าวปลอมมีจำนวนมาก ต่างคนต่างทำ ควรบูรณาการกัน นอกจากนี้ เสนอให้ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณณ์สุขภาพ( ศรป.)จัดทำเอ็มโอยูกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศเปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อจัดการโฆษณาเกินจริง ตลอดจนจัดทำหลักสูตรการประเมินข่าวปลอม


"ปัจจุบันมีแหล่งช่วยตรวจสอบเฟคนิวส์ ไม่ว่าจะศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย, COFACT หรือโคแฟค จากความร่วมมือของภาคประชาสังคมตรวจสอบข่าวปลอม, ศูนย์ข้อมูลโควิด-19กระทรวงดิจิทัล, ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์, อย.,ไทยรู้สู้โควิด สสส. เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูล ศูนย์เหล่านี้ต้องมีการอัพเดทข้อมูลข่าวที่ถูกต้องเป็นระยะ กรณีฟ้าทะลายโจรเดิมเป็นเฟคนิวส์ แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยฟ้าทะลายโจรใช้ต้าน โควิดได้จริง" ผจก.กพย.กล่าว


ประเด็นที่ต้องคำนึง ผศ.ภญ.ดร.นิยดา ระบุว่า การศึกษาขาดการเตรียมพร้อมทั้งภาคบังคับและการศึกษานอกโรงเรียนในการประเมินข้อมูลข่าวปลอม คนไทยยังเชื่อง่าย ขาดวิจารณญาณ ขาดแหล่งข้อมูลสนับสนุนการตรวจสอบโดยรัฐ ขาดการรวมกลุ่มชุมชนเฝ้าระวัง ปัจจุบันมีความอ่อนแอ มีช่องว่างของกฎหมาย รัฐบาลต้องทบทวน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2530 ที่ล้าสมัย ยังไม่แก้ไขกฎหมาย ขณะที่ระบบเฝ้าระวัง ภาครัฐตรวจจับได้น้อย ต่างคนต่างทำ ยุทธศาสตร์การจัดการโฆษณาระดับชาติที่ชัดเจนยังไม่มีในไทย ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กพย. รณรงค์สื่อสารภายใต้แนวคิด 4 สงสัย 2 บอกต่อ ตรวจสอบการขึ้นทะเบียน ได้รับอนุญาตโฆษณาจริงหรือไม่ อวดอ้างโฆษณาเกินจริงหรือไม่ หากพบว่า โฆษณาผิดกฎหมายต้องร้องเรียนรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความร่วมมือเฝ้าระวัง และส่งต่อเพื่อเตือนภัยสังคมวงกว้าง


การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์ เป็นอีกประเด็นร้อนจากเวที มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ภาพการทำงานของมูลนิธิฯ และเครือข่ายผู้บริโภค 7 ภาค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ว่า ปัจจุบันมีช่องทางการขายสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์โควิด จึงพัฒนาระบบประกอบกลไกเฝ้าระวัง ระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการเรื่องร้องเรียนเพื่อเฝ้าระวังและเตือนภัย นำมาสู่การเตือนภัย แจ้งและจัดการปัญหา เริ่มจากปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อย.ยกเลิกเลขสารบบแล้วที่พบการขายเผยแพร่บนออนไลน์ ทั้งอินสตราแกรม ไลน์ เฟสบุ๊ก และ อีมาร์เก็ตเพลส พบ 40 รายการ จาก 100 รายการ เป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักมากกว่า 72% รองลงลงรักษาโรค ผิวขาว เสริมสมรรถภาพทางเพศ พบว่า เปลี่ยนชื่อใหม่ ลักษณะบรรจุภัณฑ์เดิม ใช้เลขสารบบอาหารใหม่ ใช้รูปเดิมโฆษณา ลักษณะโฆษณาเหมือนเดิม


ทั้งนี้ จากสถิติเรื่องร้องเรียนโฆษณาเกินจริงปี 2563-มิ.ย.2564 แนวโน้มกราฟพุ่งสูงขึ้น นักวิชาการมูลนิธิฯ ระบุว่า อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีเรื่องร้องเรียน 575 รายการ ถ้ารวมสินค้าและบริการทั่วไปรวม 826 รายการ อันดับ 1 โฆษณาโอ้อวดเกินจริง รองลงมาแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ โฆษณาสนับสนุนทำผิดกฎหมาย โฆษณาทำให้เข้าใจผิด เพื่อให้เท่าทันปัญหามูลนิธิใช้มาตรการเชิงรุกพัฒนาระบบสืบค้นข้อร้องเรียนในโลกออนไลน์ และจะตอบกลับให้รู้สิทธิ กลไกลที่สร้างขึ้นมาจะใช้เฝ้าระวังในแต่ละจังหวัดตามภูมิภาคต่างของประเทศไทย และต้องมีความพร้อมที่จะรับมือกับยุคดิจิทัล เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคได้มากที่สุด

Shares:
QR Code :
QR Code