รู้จักอาชีพใหม่ในสังคมไทยผ่านงาน “โอลิมปิกคนพิการ”

นักจัดระดับความพิการ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

 รู้จักอาชีพใหม่ในสังคมไทยผ่านงาน “โอลิมปิกคนพิการ”

          โอลิมปิกคนพิการ” ยังมีอาชีพหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการแข่งขันและเป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้เวทีกีฬาเกิดขึ้นได้นั่นคือ “นักจัดระดับความพิการ” ผู้รับบทบาทตรวจสอบนักกีฬาพิการก่อนลงแข่งขันทุกครั้ง

 

          เนื่องจากความพิการ ยังมีรายละเอียดที่ซับซ้อน แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เช่น การพิการทางขา ที่มีทั้งขาขาด 1 หรือ 2 ข้าง ขาลีบ หรืออัมพาต เป็นต้น การลงแข่งขันกีฬาคนพิการจึงไม่ได้แบ่งตามลักษณะความพิการที่คล้ายกัน แต่วัดจาก “ระดับความสามารถ” ของผู้พิการ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการแข่งขัน ภายใต้กฏกติกาเดียวกัน

 

          นักจัดระดับความเหมาะสมของผู้พิการ” จึงมีหน้าที่ตรวจความสามารถของนักกีฬาพิการ เพื่อจัดระดับความพิการก่อนลงแข่งขัน

 

          และตัวอย่างการแข่งขันหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ กีฬาว่ายน้ำคนพิการ

 

          พ.ญ.อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล นักจัดระดับความพิการ นักกีฬาว่ายน้ำคนพิการ เล่าว่า “ก่อนการลงแข่งกีฬาว่ายน้ำ นักกีฬาคนพิการจะต้องผ่านการตรวจร่างกาย 2 อย่าง คือ 1.ตรวจร่างกายจากแพทย์ และ 2.ตรวจการว่ายน้ำจริง (water test) เพื่อแบ่งจัดระดับความพิการตามความสามารถ ไม่ใช่แบ่งตามความพิการ

 

          การแบ่งประเภทความพิการด้านว่ายน่ำ จะแบ่งแกเป็น S-stork ซึ่งตั้งแต่ระดับ 1-10 การแข่งขันจะเป็นท่าฟรีสไตล์ กรรเชียงและผีเสื้อ ส่วนระดับ SB-stork จะมีตั้งแต่ระดับ 1-9 ซึ่งการแข่งขันจะเป็นท่ากบ และเพื่อให้การแข่งขันเกิดความยุติธรรมระดับ S-10 จะแข่งกับ S-10 ด้วยกัน โดยระดับ 1 จะถือว่ามีความสามารถขั้นต่ำ ไปจนถึงระดับ 10 ที่มีความสามารถสูง”

 

          หากลองสังเกตในการแข่งขัน จะพบว่านักกีฬาบางคนออกตัวไม่เหมือนกัน บางคนใช้วิธีกระโดด บางคนใช้วิธีผลักตัวจากขอบสระ ทั้งที่ถูกจัดระดับการแข่งขันในระดับที่เท่ากัน พ.ญ.ไรรัตน์ เล่าว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้มักจะพบในการแข่งขัน S ที่ 1-2 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ นั่นเป็นเพราะข้อจำกัดของนักกีฬาที่ไม่ถูกฝึกให้กระโดด แต่จะถูกฝึกเฉพาะการว่ายน้ำให้เร็ว และยังเป็นข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในนักกีฬาไทย ซึ่งจะมีข้อเสียเปรียบในการออกตัวที่ช้ากว่าการกระโดด

 

          นักจัดระดับความพิการจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.Medical Classification หรือแพทย์ผู้จัดระดับความพิการส่วนใหญ่เป็นแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัดและแพทย์ด้านกระดูก เพื่อทำการตรวจร่างกายและ 2.Technical Classification หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬา ในการจัดระดับความพิการ ส่วนใหญ่มักเป็นนักเวชศาสตร์การกีฬาด้านว่ายน้ำ ครูพละสอนว่ายน้ำเนื่องจากรู้เทคนิคการว่ายน้ำ และกฎระเบียบเป็นอย่างดี ซึ่งจะทดสอบให้มีการว่ายน้ำจริง

 

          ดังนั้นเวลาตรวจสมรรถภาพของนักกีฬา เพื่อจัดระดับความพิการก่อนลงแข่ง จะต้องมีผู้จัดระดับความพิการจาก Medical Classification และ Technical Classification ประเภทละ 1 คนเป็นอย่างน้อย

 

          พ.ญ.อุไรรัตน์ เล่าถึงความเป็นมาของอาชีพนักจัดระดับความพิการในประเทศไทยว่า นักจัดระดับความพิการในประเทศไทยเพิ่มเริ่มมีขึ้นในการแข่งขันเฟสปิคเกม เมื่อปี 1999 หรือเพิ่มเริ่มต้นได้เพียง 9 ปีเท่านั้น ซึ่งนักจัดระดับความพิการจะมีอยู่ 3 ระดับ

 

          1. ระดับชาติ ซึ่งทุกปีจะมีแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะมาช่วยจัดระดับความพิการในงานกีฬาแห่งชาติ

 

          2. ระดับพื้นที่ (Region Classification) ซึ่งจะมีการแข่งขันในระดับเอเชีย อาฟริกา โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจัดงานพาราลิมปิกสากล (The Intenational Parlympic Committe: IPC) ก่อน ซึ่งประเทศไทย มีอยู่เพียง 2 คนเท่านั้น

 

          และ 3. ระดับสากล (Inter National) ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุด โดยเป็นคนของ IPC โดยตรง ซึ่งทั่วโลกมีอยู่เพียง 45 คนเท่านั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มี

 

          และในฐานะนักจัดระดับความพิการด้านกีฬาว่ายน้ำได้สะท้อนถึงพัฒนาการของนักกีฬาว่ายน้ำคนพิการไทยว่า

 

          กีฬาว่ายน้ำของผู้พิการ ถือเป็นกีฬาที่ยิ่งใหญ่อีกกีฬาหนึ่ง ที่ทำเหรียญให้กับประเทศไทยได้มากในปีที่ผ่านๆ มา แต่พัฒนาการกีฬาชนิดนี้ นับตั้งแต่ปี 1999 จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาหน้าใหม่มาเรื่อยๆ เนื่องจากนักกีฬาอายุ 25 ปีขึ้นไปก็เริ่มถอยแล้ว ดังนั้นต้องฝึกตั้งแต่ยังเด็ก โดยต้องมีกระบวนการเลือกสรร หาแมวมองตั้งแต่ยังเด็ก และผ่านการลงแข่งในสนามเล็ก เพื่อฝึกฝนประสบการณ์เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”

 

 

 

 

 

เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

 

 

 

 

Update : 30-09-51

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code