รู้จักวิธีการเลือกใช้รถโดยสารไม่ประจำทางที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
ที่มา: คู่มือคัดเลือกรถโดยสารไม่ประจำทางที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
1.การเลือกบริษัทรถ ต้องเลือกบริษัทที่เป็นนิติบุคคล ไม่ควรเลือกบริษัทรถที่เป็นตัวบุคคลเพียงบุคคลเดียว หากเป็นนิติบุคคล จะมีระบบการดูแลช่วยเหลือและมีความน่าเชื่อถือสามารถจัดหารถได้เมื่อถึงวันเดินทาง
2.สภาพของรถโดยสาร ผู้ว่าจ้างต้องตรวจสอบสภาพรถว่ามีความเหมาะสมและปลอดภัยในการเดินทางหรือไม่ โดยรถที่ใช้งานต้องมีลักษณะดังนี้
- ควรเป็นรถโดยสารชั้นเดียว
- ควรมีเข็มขัดนิรภัดทุกที่นั่งและให้การได้
- ควรมีเบาะที่นั่งที่ยึดติดกับที่ ไม่เป็นแบบสไลด์ หรือถอดเข้าออกเพื่อเพิ่มปริมาณที่นั่ง
- มีอุปกรณ์นิรภัยติดตั้งบนรถ เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น
- ระบบเบรก ยางรถ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในการเดินทางผ่านที่สูงชัน หรือระยะไกล
- รถ 2 ชั้นจะมีข้อจำกัดในการทรงตัว เมื่อต้องหักเลี้ยวในระยะกระชั้นชิด หรือในเส้นทางที่มีความชันของไหล่ทาง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการพลิกคว่ำ
- ในสถานการณ์คับขัน หรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุเข็มขัดนิรภัยจะช่วยรักษาชีวิตผู้โดยสารได้ถึงร้อยละ 30
3. พนักงานขับรถ ต้องคุ้นเคยเส้นทางเป็นอย่างดีและเลือกเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุด หลีกเลี่ยงเส้นทางผ่านที่สูงชัน การไม่คุ้นเคยเส้นทาง จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาด โดยเฉพาะหากใช้ความเร็ว ใช้เกียร์ที่ไม่เหมาะสมกับการลงเขา ซึ่งเป็นสาเหตุของอบุติเหตุบ่อยครั้ง
4. รายละเอียดในการทำสัญญาต้องมีความชัดเจน ประกอบด้วย
- การระบุเส้นทางจากต้นทางถึงปลายทาง
- ชื่อพนักงานขับรถ
- หมายเลขทะเบียนรถคันที่ให้บริการ
- พนักงานขับรถต้องได้รับใบอนุญาต ขับขี่จากกรมการขนส่งทางบก โดยให้ขับรถประเภทรถสาธารณะเท่านั้น
- ขับระยะทางเกิน 400 กิโลเมตร จะต้องมีพนักงานสับเปลี่ยนกัน 2 คน หรือหากมีพนักงานขับรถเพียงคนเดียว จะต้องมีการระบุจุดพักหรือระยะเวลาการจอดพักรถไม่น้อยกว่า 30 นาที ทุก ๆ 4 ชม.
- ใบตรวจสภาพรถยนต์จากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งระยะเวลาที่ระบุ ไม่ควรเกิน 6 เดือนภายหลังการตรวจสภาพ
- ตรวจสอบประวัติรถ ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ประวัติผู้ประกอบการหรือสามารถขอคำแนะนำจากกรมขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งแต่ละจังหวัด เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีความปลอดภัย
- เอกสารกรมธรรม์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจของรถคันที่ว่าจ้าง ซึ่งต้องตรวจสอบว่าถูกต้องและตรงกับเลขทะเบียนรถหรือไม่
- กฎหมายกำหนดให้พนักงานขับรถ ปฏิบัติหน้าที่ขับรถในรอบ 24 ชั่วโมง ขับได้ 4 ชั่วโมง พักครึ่งชั่วโมง และขับต่อได้อีก 4 ชั่วโมง ครบกำหนดต้องพักอย่างน้อย 10 ชั่วโมง ถึงขับต่อได้