รับมืออย่างไรเมื่อเด็กติดเซลฟี่ ละเมอแชต

          ยุคที่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว กลายเป็น "สื่อยุคหลอมรวม" หรือพูดง่าย ๆ คือ เราสามารถ "ดูทีวีบนมือถือ" หรือ "พูดคุยผ่านเฟซบุ๊ก" หรือ หาข้อมูลต่าง ๆ นานา ได้ง่าย ๆ เพียงแค่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต


/data/content/24514/cms/e_agjmnsvwz357.jpg


          ด้วยความง่ายนี้ สื่อก็อาจกลายเป็น "ดาบสองคม" สำหรับเด็กและเยาวชน เพราะทุกวันนี้เด็กต้องอยู่กับสื่อและใช้สื่อมากถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าเวลาเรียน มากกว่าเวลานอน หรือแม้กระทั่งมากกว่าเวลาที่อยู่กับพ่อแม่ แต่ในทางตรงกันข้ามสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลับมีปรากฏเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น และโดยมากเป็นการ์ตูนที่มีเนื้อหาความรุนแรง


          สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีเสวนาย่อย เรื่อง "เด็กเรียนรู้อย่างไรในยุคสื่อหลอมรวม" ในการประชุมวิชาการ "อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย" เพื่อหาแนวทางออกของการสร้างภูมิคุ้มกันเด็กและเยาวชนไทย


          ชิตพงษ์ กิตตินราดร สถาบันเชน ฟิวชั่น Change Fusion ระบุว่า แนวโน้มของสื่อในยุคหลอมรวมมีข้อ/data/content/24514/cms/e_bhimvx124678.jpgน่าสังเกตที่เป็นประโยชน์หากใช้อย่างถูกวิธี คือ 1. ทำให้โลกส่วนตัวแยกออกจากโลกเครือข่ายสังคมดั้งเดิม คือสื่ออินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเป็นข่าว การแสดงความรู้ หรือทำให้เกิดการรณรงค์จนสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง 2. เครือข่ายสังคมได้หลอมรวมกับเครือข่ายสาธารณะ ทำให้เกิดการรวมพลังและเกิดความเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น 3. ทำให้เกิดการเติบโตของ Social Media Campaign เกิดการรณรงค์ต่อสาธารณะที่ก่อให้เกิดกระแสในอินเทอร์เน็ตและประสบความสำเร็จในที่สุด และ 4. เกิดการสร้างพื้นที่ใหม่ที่ใช้นวัตกรรมสร้างพลัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการเรียนรู้ เช่น มีเว็บไซต์ที่สามารถให้ทุกคนเรียนฟรี


          ธาม เชื้อสถาปนาศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ เน้นย้ำถึงการหลอมรวมสื่อว่าคือการนำสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สื่อโทรศัพท์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกันทำให้เกิดอิทธิพลของสื่อ และคนในยุคนี้อยากเข้าไปอยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และนี่เองทำให้เกิดโรคใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเซลฟี่ (Selfie)คือการถ่ายรูปตัวเองโดยใช้กล้องหน้าและมาอัพแชร์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อรอคนมากดไลค์ หรือ โรคละเมอแชตโรคเสพติดอินเทอร์เน็ต และที่เป็นกันมากในสังคมยุคนี้คือ โรค PHUBING คือการก้มหน้าก้มตากดแต่โทรศัพท์โดยไม่สนใจใครซึ่งถือว่าอันตรายมากหากไม่เร่งหาแนวทางแก้ไข


          ยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ยังขาดการเรียนรู้เท่าทันในสื่อ จนทำให้สื่อที่ควรจะเป็น/data/content/24514/cms/e_cgklmnpru378.jpgประโยชน์กลายเป็นอันตรายต่อทั้งจิตใจ หรือแม้กระทั่งต่อร่างกาย เช่น เคยมีการถูกรังแกผ่านทางอินเทอร์เน็ตจนทำให้เด็กคิดฆ่าตัวตาย ซึ่ง 7 นิสัยที่อันตรายคือ กลายเป็นคนหลงใหลตัวเองมากขึ้น ขี้อิจฉามากขึ้น มองโลกในแง่ร้าย ชอบสอดส่องสอดรู้ชีวิตคนอื่น ๆ เปิดเผยตนเองมากขึ้น จนลืมโลกแห่งความเป็นจริง จมทุกข์แบกโลกซึมเศร้า และท้ายที่สุดคือหลงใหลยึดติดแบบอย่างชีวิตของผู้อื่น


          นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ระบุถึงสาเหตุที่เด็กและเยาวชนเล่นอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเป็นเพราะต้องการสร้างสถานะทางสังคมที่โรงเรียนไม่สามารถให้ได้ แต่สื่อดังกล่าวสามารถให้พื้นที่กับเด็กและเยาวชนได้อย่างเต็มที่ เช่น การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น การแสดงตัวตน


          ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญในวงการสื่ออินเทอร์เน็ตอย่าง คุณศรีดา ตันทะอธิพานิช มูลนิธิอินเทอร์เน็ต/data/content/24514/cms/e_bcdfhmnpqx16.jpgร่วมพัฒนาไทย เห็นด้วยว่า นอกจากการสร้างภูมิความรู้ในการรู้เท่าทันสื่อแล้ว เราจะต้องเร่งสร้างสื่อที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเพิ่มขึ้น เพราะว่าทุกวันนี้เด็กอยู่กับสื่อตลอดเวลา โดยสื่อที่สร้างสรรค์คือสื่อที่ต้องเสริมสร้างพัฒนาการ สร้างนักอ่าน สร้างนักคิด เปิดมุมมองใหม่และเติมเต็มจินตนาการ ทั้งนี้การใช้อินเทอร์เน็ต หากใช้อย่างถูกวิธี จะเหมือนสื่อการสอนที่สำคัญที่ช่วยให้เด็กและเยาวชนเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ได้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น


          เห็นได้ชัดว่าหากเราให้เด็กเรียนรู้อย่างเหมาะสมในยุคสื่อหลอมรวม ก็จะทำให้เด็กมีพัฒนาการเรียนรู้ กลายเป็นเด็กที่ดี มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อสังคม และการเสริมย้ำด้วยการสอนให้เด็ก "รู้เท่าทันสื่อ" ก็จะเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันทำให้เด็กและเยาวชนมีทักษะการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข


 


 


          ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 

Shares:
QR Code :
QR Code