ระบบสารสนเทศ จ.ภูเก็ต ช่วยเด็กด้อยโอกาส
ที่มา : หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย
ภาพประกอบจากแฟนเพจ 100.5 Phuket Radio
สภาภูเก็ตขยายผลระบบสารสนเทศช่วยเด็กด้อยโอกาสvอย่างตรงจุด – พัฒนาสู่สายอาชีพ
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) นำสื่อสัญจรลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยการร่วมมือกับสภาการศึกษ าจ.ภูเก็ต เทศบาลภูเก็ต และมหาวิทยาลัยนเรศวร เดินหน้าขยายผลระบบแนะแนวการศึกษาต่อและการดำเนินงานเตรียมความพร้อมให้กับนำเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสู่โลกของกสนทำงานในสายอาชีพหลังการปรับทัศนคติชาวภูเก็ตให้มีค่านิยมที่ถูกต้องในการสนัลสนุนให้บุตรหลานเรียนต่อในสายอาชีวะเพื่อให้สอดรับกับตลาดแรงงาน และการเดินตาม "พิมพ์เขียวการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต2020"
รวมทั้งขยายผลการทำระบบสารสนเทศการศึกษา ทั้ง 7 สถานศึกษา ซึ่งพบว่าสามารถแก้ปัญหาต่างๆในสถานศึกษาได้ตรงจุดช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสได้เป็นรายบุคคล ส่งผลดีต่อการวางแผนการศึกษาของจังหวัด ล่าสุดได้จับมือกับเทศบาลเมืองกระทู้ ด้วย
นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาภูเก็ต เป็นประธานการประชุมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ โดยมี นพ.โกศลแตงอุทัย และนางสมจิตต์ สุทธางกูร รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
นายบัณฑูร กล่าวว่า หลังประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนทัศนคติคนภูเก็ตให้มีค่านิยมที่ถูกต้องแล้ว จากการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานของภูเก็ตพบว่ามีความต้องการแรงงานในสายอาชีพจะมีรายได้ที่สูงกว่า โดยกิจกรรมที่ผ่านมา สภาการศึกษาภูเก็ตได้มีกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน มีการพัฒนาครูแนะแนวให้มีความรู้ เข้าใจในการแนะแนวเด็กได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการจัดกิจกรรมเปิดโลกสัมมาชีพ ซึ่งจากการจัดงานดังกล่าวพบว่า ผู้เรียนมีความสนใจเรื่องอาชีพถึงร้อยละ 78.70 มีอัตราการเข้าเรียนต่อในสายอาชีวะของเด็กมัธยมต้นในจังหวัดที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 54 จากเดิมร้อยละ 47 ในเทอมการศึกษาที่ผ่านมา
"สภาการศึกษาภูเก็ตอยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือการแนะแนวอาชีพเพื่อมอบให้ครูแนะแนวทุกสังกัดในพื้นที่และเตรียมจัด มหกรรมเปิดโลกสัมมาชีพครั้งที่ 2 ในช่วงปลายปีนี้เพื่อขยายผลการดำเนินงาน โครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตที่ได้รับการสนับสนุนจากสสค. ดังนั้นการจัดทำพิมพ์เขียวด้านการศึกษาของเราจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการผลักดันการใช้ระบบสารสนเทศการศึกษาเป็นเครื่องมือหลักในการวางแผนฐานของข้อมูลในการเข้าสู่ยุค Phuket City 4.0"
นายนิติธร เทพบุตร ตัวแทนภาคเอกชน เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดแรงงานในจังหวัดภูเก็ตยังต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น ตอนนี้กำลังคนไม่เพียงพอกับธุรกิจที่เติบโตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งยังขาดแคลนแรงงานอีก 3,000-5,000 คน ซึ่งภาคธุรกิจเองได้เข้ามาช่วยภาคการศึกษา เนื่องจากแรงงานสายอาชีพเป็นที่ต้องการมากกว่าผู้ที่จบปริญญาตรีทั้งนี้ มีรายงานจากวิทยาลัยอาชีวะภูเก็ต ระบุว่าถึงผลการสมัครเรียนของเด็กเพิ่มขึ้นในสายอาชีวะทั้งในระดับปวช.และปวส. ปีนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น
ดร.วรลักษณ์ คงเด่นฟ้า อ.ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร ผู้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา กล่าวว่า จากการทดลองนำร่องระบบฯทั้ง 7 แห่งของเทศบาลภูเก็ตตลอดปีการศึกษา 2558 ได้ถูกนำไปใช้ในการจัดทำพิมพ์เขียวฯ ดังกล่าว ช่วยให้เทศบาลฯ มีข้อมูลตั้งต้นในการวางแผนพิมพ์เขียวฯ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในระยะเวลา 4 ปี ถูกนำไปบรรจุเป็นแผนเทศบาลและแผนงบประมาณถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการใช้เครื่องมือนี้และเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันการใช้ระบบสารสนเทศการศึกษาเป็นเครื่องมือหลักในการวางแผนพัฒนาการศึกษาบนพื้นฐานของข้อมูล
ดร.ไกรยศ ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ทุกประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาบ้วนใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนโยบายและฝ่ายปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเทศบาลนครภูเก็ตคือที่แรกของประเทศที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกันจัดทำแผนและกำหนดทิศทางการศึกษาร่วมกัน