รอบ ‘มหาวิทยาลัย’ พื้นที่ทางเลือกน้อย

ที่มา : เครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนเเปลงสังคมภาคเหนือตอนบน


ภาพประกอบจากเว็บไซต์สื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาสังคมชาวเหนือ


รอบ 'มหาวิทยาลัย' พื้นที่ทางเลือกน้อย thaihealth


เครือข่ายเยาวชนป้องกันปัญหาจากเครื่องแอลกอฮอล์และสารเสพติดจังหวัดเชียงใหม่เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง พื้นที่ทางเลือกในเทศกาลแห่งความรักสำหรับเยาวชนเชียงใหม่ ผ่านการทำแบบสำรวจออนไลน์ซึ่งมีกลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลกว่า 317 คน


ระหว่างวันที่ 9 -13 กุมภาพันธ์ 2560 ด้วยกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 54 เป็นเพศหญิงร้อยละ 46 โดยกลุ่มอายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 60 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 23 ปี กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 60 รู้สึกเฉยๆ ต่อเทศกาลแห่งความรัก และร้อยละ 40 ยังให้ความสำคัญอยู่ เเละยังพบอีกว่าร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถามยอดนิยมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเฉลิมฉลองในเทศกาลแห่งความรักและ ร้อยละ 40 ไม่ดื่ม


และแน่นอนว่าในเทศกาลแห่งความรัก จะมีกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านเหล้า ผับ บาร์ ผ่านการจัดกิจกรรมอีเวนท์ (Event Marketing) และการแสดงดนตรี (Music Marketing) ซึ่งพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 46 เคยเข้าร่วมกิจกรรมคอนเสิร์ตกิจกรรมแสดงดนตรีและกิจกรรมจากบริษัทธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเทศกาลแห่งความรัก


เมื่อสอบถามถึงพื้นที่สร้างสรรค์ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยในรัศมี 500 เมตร พบว่า ส่วนใหญ่คิดว่ามีพื้นที่สร้างสรรค์ร้อยละ 40 และไม่แน่ใจคิดเป็นร้อยละ 41 ไม่มีพื้นที่ทางเลือกถึงพื้นที่สร้างสรรค์ ร้อยละ 19 และมองว่าพื้นที่สร้างสรรค์โดยรอบรั้วมหาวิทยาลัยในรัศมี 500 เมตรเฉลี่ยอยู่ที่ 3 แห่ง


เมื่อสอบถามถึงเทศกาลแห่งความรักจะไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงไปสถานบันเทิงหรือไม่พบว่า ร้อยละ 40 คาดว่าจะไปร่วมกิจกรรมของธุรกิจเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ เเละร้อยละ 30 ไม่เเน่ใจ เเละร้อยละ 20 ไม่ไปอย่างเเน่นอนนอกจากนี้ยังได้สอบถามถึงพื้นที่สร้างสารที่สามารถทดแทนร้านเหล้าผับบาร์สถานบันเทิงส่วนใหญ่มองว่าเป็นร้านนมที่มีบรรยากาศและการตกแต่งร้านสวยงามคิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาร้อยละ 20 ร้านหนังสือเเละร้านม็อกเทลปลอดเหล้า


รอบ 'มหาวิทยาลัย' พื้นที่ทางเลือกน้อย thaihealth


ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นในวันวาเลนไทน์ พบว่า ร้อยละ 40 เป็นปัญหาเรื่องของการเมาแล้วขับ รองลงมาร้อยละ 39 เป็นปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เเละร้อยละ 11 มองว่าเป็น มีความเสี่ยงต่อการทะเลาะวิวาทและการใช้ความรุนแรงระหว่างเพศ เเละร้อยละ 10 มองเป็นปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่สูง โดยพบอีกว่ามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 400 บาท/คน และหนึ่งในค่าใช้จ่ายคือการซื้อเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์เฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาท/คน ในคืนแห่งความรัก


นอกจากนี้ได้สอบถามทัศนะ ความคิดเห็นต่อความเท่าเทียมชายหญิงในสังคมไทย พบว่าร้อยละ 55 ยังมองว่าสังคมไทยเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ ร้อยละ 39 มองว่าเท่าเทียม และร้อยละ 6 ยังไม่มั่นใจ ซึ่งประเด็นความไม่เท่าเทียมอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรง


นายวรากร ใจยา แกนนำเครือข่ายเยาวชนป้องกันปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หากมองว่าปริมาณของร้านเหล้า สถานบันเทิงที่ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนร้านทางเลือกในพื้นที่รอบรั้วมหาวิทยาลัยแล้วกลับไม่พบเลย ดังนั้นเยาวชนนักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่จึงมองว่าเยาวชนจึงมีพื้นที่มอมเมามากเยาวชนกว่าพื้นที่สร้างสรรค์ จึงไม่แปลกที่สังคมไทยมีนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นปีละ 2.6 เเสนคน และมีเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมทั้งยังเชิญชวนเยาวชนร่วมกันในการตั้งคำถามกับความรักที่หลากหลาย เนื่องจากปัญหาเรื่องของความรักเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับหลายปัญหา อาทิ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด เพศ และการใช้ชีวิตในสังคม ดังนั้นวันวาเลนไทน์จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการที่เริ่มต้นตั้งคำถามถึงความรักต่อตนเองและคนรอบข้างอีกด้วย


 

Shares:
QR Code :
QR Code