“รวมพลังรับมือภัยพิบัติ” เรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทยในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา คงเป็นทั้งคำตอบและบทเรียนสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจได้ดีว่า สังคมไทย โดยเฉพาะในภาคส่วนรัฐยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดแผนและเครื่องมือในการรับมือและจัดการกับภัยพิบัติต่างๆ ทั้งที่จริงๆ แล้ว เรามีองค์ความรู้ มีบุคลากร มีเครื่องมือและนวัตกรรมมากมายที่ก่อเกิดขึ้นท่ามกลางภัยพิบัติ รวมทั้งมีเครือข่ายภาคีคนทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ เครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายอาสาสมัคร/ คนรุ่นใหม่ที่ก่อเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติต่างๆ นาทีนี้การรวมตัวของภาคประชาชนเป็นกลไกที่มีพลังและมีความสาคัญอย่างยิ่งยวดในการจัดการกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
โลกเตือนเราถี่ขึ้น มีสัญญาณหลายอย่างที่บอกให้รู้ว่าโลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทั้งภัยหนาว ภัยแล้ง ภัยน้ำ แผ่นดินไหว รวมทั้งความแปรปรวนของสภาพอากาศ ฯลฯ ที่ล้วนเป็นภัยพิบัติ ที่นับวันจะทวีความรุนแรง และเกิดขึ้นทั่วทุกหนทุกแห่งของโลก
คำถามหนึ่งที่สำคัญ คือ มนุษย์เรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติ และมีเครื่องมือในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง รับมือกับภับพิบัติเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน… ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติแม้จะเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุม แต่เราสามารถเรียนรู้ และปรับตัวที่จะอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติได้
ในวันเสาร์ที่ 5 เดือน 5 ปี 2555 จึงถือเป็นวาระอันดีที่ทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน จะมาร่วมมือ รวมพลังในการรับมือกับภัยพิบัติ แลกเปลี่ยนบทเรียน ความรู้ ประสบการณ์ ส่งต่อนวัตกรรม เครื่องไม้เครื่องมือ เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นจริง ตั้งแต่พื้นที่ภูเขาจรดท้องทะเล ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติแม้จะเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุม แต่เราสามารถเรียนรู้และปรับตัวที่จะอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติได้
วันรวมพลังรับมือภัยพิบัติ national disaster preparedness day 2010 (5-5-55) มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวาระภาคประชาชนในการออกแบบ กำหนดทิศทาง วิธีการ เรียนรู้ปรับตัวจากสถานการณ์จำลองร่วมกัน และเชื่อมโยงกับเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ณ หอประชุมใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2555 เวลา 8.20 – 18.00 น.
กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน จะเปิดเวทีในการแลกเปลี่ยน และระดมความคิดเห็นข้อมูลความรู้ ภูมิปัญญา บทเรียน และประสบการณ์ในการรับมือกับภัยพิบัติ ตลอดจนการเตรียมการ และการปรับตัว, การสร้างพื้นที่ในการพบปะ เชื่อมโยงความร่วมมือ ตลอดจนกลไกจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง, การร่วมกันสร้างโมเดล หรือแผนปฏิบัติในการรับมือกับภัยพิบัติอย่างมีส่วนร่วม และบูรณาการรอบด้าน ครอบคลุมทุกมิติสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างองค์ความรู้ในการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ ที่สามารถนาไปปรับใช้ได้ในสถานการณ์จริง ทั้งในระดับปัจเจก ตลอดจนครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น, การวิเคราะห์พื้นที่ และปักหมุดพื้นที่เสี่ยง เพื่อสร้างแผนที่เฝ้าระวังภัยพิบัติทั่วประเทศ, human mapping ปักหมุดต้นทุนคน องค์กร องค์ความรู้ ตลอดจนทรัพยากร เพื่อวางแผน และออกแบบโมเดลการรับมือกับภัยพิบัติ รวมทั้ง แจกฟรีแผนที่เสี่ยงภัยพิบัติ (disaster hazard map) น้ำท่วม, ดินถล่ม, พายุ, แผ่นดินไหว, สึนามิ ฉบับดิจิตอลไฟล์ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อการเตรียมพร้อม และการรับมือกับภัยพิบัติตั้งแต่ระดับปัจเจก จนถึงระดับชาติ
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามกำหนดการของงานที่นี่ และลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรี ได้ที่
http://disaster.thaiflood.com
ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ