ย่ำชุมชนคน3นา สื่อพื้นบ้านสานสุข
หลังจากที่ “โครงการสื่อพื้นบ้านสานสุข” ที่สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกลุ่มดินสอสี ตระเวนสัญจรไปภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน
ภายใต้คอนเซ็ปต์ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สานสายใยชีวิต วิถีของชุมชนสร้าง สรรค์ สื่อพื้นบ้านร่วมสมัย ที่มี “หัวใจ” อยู่ที่การสานสุขสำหรับทุกคน
คราวนี้ถึงคิวภาคกลางในโครงการ “เยือนถิ่นบางแก้ว ชุมชนคน 3 นา สืบ สานภูมิปัญญา หรรษาละครชาตรี” ที่กลุ่มเด็กนักเรียนประถม โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี รวมตัวกันราว 20 กว่าคน เพื่อช่วยกันดูแลรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น ของตนเอง
จุดเริ่มต้นภารกิจนี้ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของหนุ่มวัย 23 ปี นายอภิเชษฐ์ หรือ “น้อย” เทพคีรี ลูกหลานชุมชนบางแก้ว ที่ตระหนักถึงความสำคัญวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงมาชักชวนเด็กๆ ให้เกิดสำนึกรักชุมชน และภาคภูมิใจในท้องถิ่นตัวเอง โดยพยายามพลิกฟื้นสื่อพื้นบ้านอันทรงคุณค่าอย่าง “ละครชาตรี” ละคร รำเก่าแก่พื้นบ้านแห่งเมืองเพชร
น้อย เล่าว่า การรวมตัวของเด็กกลุ่มนี้ เริ่มจากการเข้าไปที่โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา และชวนให้ฝึกหัดละครชาตรี โดยไม่ได้หวังว่าจะให้ยึดเป็นอาชีพ แต่อยากให้เด็กรู้จักว่าชุมชนบางแก้วมีละครชาตรี และสามารถไปโชว์ที่อื่นได้
ต่อมาพบว่าในชุมชนบาง แก้วยังมีถิ่นต่างๆ ที่เรียนรู้อีกมากมายนอกจากละครชาตรี จึงจัดกิจกรรมแรลลี่เพื่อให้เด็กๆ กลุ่มลูกระนาดที่เราร่วมกันจัดตั้งขึ้นมา ออกไปศึกษาในสิ่งที่พวกเขาเคยได้ยินผู้ใหญ่และพ่อแม่เล่าให้ฟัง โดยไม่เคยเห็นหรือสัมผัสมาก่อน ได้ลงมือปฏิบัติจริง
ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัวทำนาแทนเครื่องจักรกลที่พบ เห็นมากขึ้นในปัจจุบัน การถอนกล้า ดำกล้า เกี่ยวข้าว การทำนาข้าว นาเกลือ และนาทะเล ซึ่งเป็นคำดัดแปลง เปรียบเปรยถึงอาชีพ ประมง หรือการเก็บกุ้ง หอย ปู ปลา นานาชนิดจากทะเลโคลนริมป่าชายเลนที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา
เพื่อสื่อให้พวกเขาเห็นว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรอันมีค่าที่ควรหวงแหนและภาคภูมิ ใจ ก่อให้เกิดร่วมกันอนุรักษ์ให้ดำรงต่อไป
จากการลงพื้นที่สัมผัสวิถีชีวิตชาวบางแก้ว หรือวิถีคน 3 นา ที่เหล่าสมาชิกกลุ่มลูกระนาดกว่า 20 ชีวิต ผันตัวมาเป็นมัคคุเทศก์น้อยจอมซน พานั่ง รถราง และเล่าเรื่องราวของ ต.บางแก้ว
โดย ด.ญ.เบญจวรรณ แสง ปลั่ง หรือ น้องกุ๊ก อายุ 11 ขวบ ชั้นป.6 ในฐานะประธาน กลุ่มลูกระนาด เล่าว่า บาง แก้วเป็นตำบลเก่าแก่ มีชาวบ้านเล่าขานกันมาว่า มีพ่อค้าชาวจีนแล่นเรือสำเภาบรรทุกถ้วย ชาม โอ่ง ไห แก้ว หลาย ประเภท จากเมืองจีนมาขาย แต่ประสบมรสุม เรือล่ม จึงเป็นเหตุให้มีเศษแก้ว ถ้วย ชาม ต่างๆ ซัดเข้าฝั่งกระจายบริเวณชายหาด
ประกอบกับพื้นที่บริเวณนี้จะมีกระซ้า (เปลือก หอย) อยู่ทั่วไป เมื่อมาทับถมรวมกับเศษแก้วดูระยิบระยับทั่วบริเวณ ต่อมามีชาวบ้านย้ายถิ่นฐานเข้ามาจับจองที่อยู่อาศัย จึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “บางแก้ว” จึงกลายมาเป็น “บ้านบางแก้ว” ในปัจจุบัน
น้องกุ๊กเล่าถึงคำเรียกชุมชนคน 3 นา ว่า ประกอบด้วย นาข้าว นาเกลือ และนาทะเล โดยที่แรกจะพาไปดูการใช้วัวไถนาที่บ้านลุงแกะ หรือ นายปัญญา พูนศักดิ์ อายุ 65 ปี อาชีพทำนา รวมทั้งทดลองดำนาข้าวที่บ้าน ป้ากัญญา หรือ นางกัญญภา พรรณนิกร อายุ 58 ปี
ดูนาเกลือที่บ้าน ผู้ใหญ่เก๋ หรือ นายสมพงษ์ หนูศาสตร์ ประธานชมรมเกลือทะเลกังหันทอง และนาทะเลที่หมู่ 3 และหมู่ 5 ด้วยการย่ำโคลนหาหอยแคลง หอยปากเป็ด หอยเสียบ ก่อนที่น้องกุ๊กและผองเพื่อนจะแสดงละครชาตรี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทรที่ฝึกซ้อมมาเป็นเดือน
ด้าน น้องต่าย ด.ช.วันชัย โพธิ์ทอง อายุ 11 ขวบ ชั้นป.6 ร่วมเล่าว่า ตอนแรกงงๆ อยู่ ไม่ได้สนใจ เพราะไม่ชอบรำ แต่พอได้เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มลูกระนาดของพี่น้อย รู้สึกดีแม้จะเป็นเพียงเด็กช่วยขนของการเข้ามาร่วมกิจกรรมนี้ทำให้สนุก ได้ความรู้จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน
“ผมได้มาสัมผัสกับของจริง เช่น นาเกลือ ที่ไม่เคยทำ ก็ได้รู้และยังมีคนบอกว่าทำอย่างไรกว่า จะเป็นเกลือ ผมรู้อย่างเดียวว่า เกลือถ้ากินแล้วมันเค็ม อยากให้เพื่อนๆ มาเที่ยวชุมชนบางแก้ว ชุมชนคน 3 นา ว่าเป็นอย่างไร ได้สัมผัสกับธรรม ชาติของบ้านผม หรือท้องทะเลเพชรบุรี สวยงามและยิ่งใหญ่” น้องต่ายภาคภูมิใจ
ขณะที่ลุงแกะ ผู้ถ่ายทอดการใช้วัวไถนา เล่าว่า ในอดีตชาวเพชรบุรีจะใช้วัวไถแทนควาย ปัจจุบันไม่มีใครใช้แล้ว แต่จะเลี้ยงวัวไว้ประกวด หรือแข่งวัวลาน กีฬาของคนเพชรหลังฤดูการทำนา แม้กระทั่งนาของลุงเอง เพราะทุกคนต่างหันไปใช้รถไถนา หรือควายเหล็กกันหมด
แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่เด็กๆ กลุ่มลูกระนาดได้รับความรู้ และสนุกสนานจากการสัมผัสชีวิตจริงของคน 3 นา ในชุมชนตัวเอง เป็นการปลูกฝังให้เด็กน้อยเหล่านี้หวงแหนสิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของพวก เขาไว้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
update 28-07-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : ฤทัยรัตน์ ไกรรอด