ยาแก้แพ้-แก้ปวดเสี่ยงทำผู้ป่วยฆ่าตัวตาย
ส่งผลข้างเคียงอารมณ์ – สุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไป
วอชิงตัน-สหรัฐตรวจสอบผลข้างเคียงของยาแก้ภูมิแพ้และยาแก้ปวดบางชนิดหลังจากผู้ใช้ยา 2 คนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปและฆ่าตัวตายไปแล้ว
โคดี มิลเลอร์ นักฟุตบอลโรงเรียนมัธยม ซึ่งมีอาการแพ้วัชพืชชนิดหนึ่ง และดักลาส บริกส์ นายแพทย์ที่ทรมานจากอาการปวดหลัง ฆ่าตัวตายหลังจากใช้ยารักษาอาการป่วยได้เพียงระยะหนึ่ง และครอบครัวเชื่อว่ายาอาจมีผลข้างเคียงทำให้อารมณ์และสุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไปขณะนี้สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐหรือ เอฟดีเอกำลังขยายขอบเขตการศึกษาความเสี่ยงที่ยาจะมีผลข้างเคียงให้เกิดการฆ่าตัวตาย เหนือจากยาที่รักษาอาการทางจิตเวช โดยให้ครอบคลุมถึงยารักษาอาหารหอบหืด ยาควบคุมโรคลมชัก และยาเลิกบุหรี่ด้วย
มิลเลอร์ วัย 15 ปี เริ่มใช้ยาซิงกูแลร์ ซึ่งเป็นยารักษาอาการภูมิแพ้ในช่วงฤดูร้อนปีที่แล้วแต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นเขาก็กลายเป็นคนเจ้าอารมณ์และกระวนกระวาย ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและเพียงแค่เกือบสองสัปดาห์หลังจากใช้ยา เขาก็แขวนคอตายภายในบ้าน
จากนั้นอีกเกือบสองเดือนถัดมา บริษัทเมิร์ค แอนด์ โค ผู้ผลิตยาซิงกูแลร์ ได้ระบุในเอกสารกำกับยาว่ามีผู้ป่วยบางคนที่ใช้ยาแล้วมีความคิดและพฤติกรรมที่จะฆ่าตัวตายแต่ก็ย้ำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเหตุบังเอิญเพราะในช่วงการทดสอบทางคลินิกก็ไม่พบว่ามีปัญหา ยาชนิดนี้จำหน่ายมานาน 10 ปีแล้วและมีผู้ป่วยใช้ยานี้มากถึงหลายล้านคน และยาชนิดนี้ยังมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปในไทยด้วย
ส่วนนายแพทย์
ต่อมาบริษัทไฟเซอร์ ผู้ผลิตยานิวรอนติน ได้ระบุในเอกสารกำกับยาว่ายาอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งแทบไม่ปรากฏในระหว่างการทดสอบทางคลินิก และในช่วงฤดูร้อนปีนี้ เอฟดีเอได้ประชุม เพื่อประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่ทำให้ฆ่าตัวตายจากยาป้องปันอาการชัก 11 ชนิด ซึ่งรวมถึงนิวรอนตินปรากฏว่า จากการทดสอบพบว่า มีผู้ใช้ยาที่มีความคิดและพฤติกรรมที่เสี่ยงจะฆ่าตัวตาย 2 คนจากผู้ป่วย 1,000 คนที่ได้รับยา
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
update 02-09-31