“ยาฝัง” คุมกำเนิดได้อย่างไร

ที่มา : จดหมายข่าว สคส. ฉบับเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2560


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


“ยาฝัง” คุมกำเนิดได้อย่างไร thaihealth


ยาฝังคุมกำเนิด ลักษณะเป็นแท่งเล็ก ๆ คล้าย ก้านไม้ขีด ภายในประกอบด้วยฮอร์โมนเช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิด แต่มีฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เพียงชนิดเดียว ยาที่ฝังไว้ใต้ท้องแขนจะปล่อยฮอร์โมนสู่กระแสเลือดอย่างช้า ๆ ทำให้ฟองไข้ยุติการพัฒนา และไม่เกิดการตกไข่ จึงไม่มีการปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิ การตั้งครรภ์จึงไม่เกิดขึ้น


ข้อดี


1. ประสิทธิภาพสูง มั่นใจได้


2. ใช้ได้นาน 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของยา


3. ไม่ต้องกลัวลืมกินยา


4. ใช้ในระยะให้นมบุตรได้ ไม่มีผลรบกวน


5. มีบุตรได้ทันที หลังหยุดใช้ยา


ข้อจำกัด


1. ไม่ป้องกันโรคติต่อทางเพศสัมพันธ์


2. ต้องรับบริการจากแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขที่เชี่ยวชาญเท่านั้น


3. อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ


ผู้หญิงที่ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด ได้แก่ คนที่เป็นโรคตับ อาจทำให้ตับอักเสบเพิ่มขึ้น คนที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม รวมทั้งคนที่มีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เนื่องจากยาฝังคุมกำเนิดอาจไปรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือดได้


ค่าใช้จ่ายของการฝังยาคุม ราคาในโรงพยาบาลรัฐอยู่ที่ 2,500-3,000 บาท ดูเหมือนจะราคาสูง แต่จ่ายครั้งเดียวใช้ได้นาน 3-5 ปี ก็ถือว่าคุ้ม


ข่าวดีสำหรับวัยรุ่นก็คือ ปัจจุบันรัฐได้จัดสวัสดิการเพื่อให้คนที่มีอายุ 10-20 ปี สามารถเข้าถึงการคุมกำเนิดอย่างมีคุณภาพ โดยกำหนดให้โรงพยาบาล หรือสถานบริการต้องช่วยเหลือให้คำปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ ทั้งการคุมกำเนิด และการวางแผนครอบครัว


วัยรุ่นสามารถขอรับบริการยาฝังคุมกำเนิดได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่สถานบริการสุขภาพหรือ โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ โดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาทรักษาทุกโรค) สิทธิประกันสังคม หรือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

Shares:
QR Code :
QR Code