ยกคุณภาพชีวิตมุสลิมไทยให้มีสุขภาวะครบด้าน
ด้วยเพราะ “อิสลาม” มีองค์ความรู้ทางด้าน “สุขภาวะ” อยู่มาก เช่น เรื่องของความสะอาดการอาบน้ำละหมาดของมุสลิมก็คือต้นแบบของการทำความสะอาดของแพทย์ การทำความสะอาดภาชนะและอาหาร มุสลิมใช้น้ำเดิน เพื่อให้น้ำที่ไหลไล่ความสกปรกออกไป เรื่องอาหารฮาลาล ขณะที่สังคมทั่วไปบอกว่าสามารถนำมารับประทานได้ แต่อิสลามบอกอันนี้ฮาลาล อันนั้นไม่ฮาลาล
ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ หากนำมาเผยแผ่ให้สังคมเข้าใจประโยชน์ย่อมเกิด เนื่องจากคนไม่ได้มีความรู้ในหลักการศาสนาทุกคน หรือคนมีความรู้แต่ไม่ใช่มุสลิม จนนำไปสู่การมองว่าข้อกำหนดที่บัญญัติขึ้นขัดแย้งกับความรู้สึกของตนเอง และถึงแม้ว่าข้อกำหนดดังกล่าวจะเป็นเตนาดีเป็นเรื่องถูกต้อง ทว่าความคลางแคลงที่มีอยู่ไม่น้อย ทำให้ความเชื่อมั่นว่าองค์ความรู้ทางศาสนาที่มีอยู่นั้น ถูกต้องจริงแน่หรือ
ทั้งมวลจึงกลายเป็นที่มาของ “แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะของมุสลิมไทย” หรือ สสม. ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และถูกก่อตั้งโดย น.พ.ศุภกร บัวสาย ผู้จำกัดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในขณะนั้น (ปี 2546) จับมือกับ ดร.อิศรา ศานติศาสน์ ยกร่างแนวทางการทำงานร่วมกับสังคมมุสลิมในด้านสุขภาวะ เพื่อไปให้ถึงเป้าประสงค์ทั้ง 6 ได้แก่ 1.เพื่อรวบรวมและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะในอิสลาม 2.เพื่อผลักดันให้มีมาตรการทางสังคมในภาคควบคุมการบริโภคบุหรี่ และสิ่งเสพติดอื่นๆ ในหมู่ชาวไทยมุสลิม 3.เพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาวะ 4.เพื่อสร้างเครือข่ายการถ่ายทอดองค์ความรู้อิสลามกับสุขภาวะ 5.เพื่อพัฒนาชุมชนตัวอย่างที่ให้ความสำคัญกับสุขภาวะ เพื่อโน้มน้าวให้ขาวไทยมุสลิมเปลี่ยนวิถีชีวิตที่สร้างปัญหาด้านสุขภาพหวังปิดช่องว่างทางศาสนาและวัฒนธรรม โดยให้แผนงาน สสม. มีบทบาทเป็น islanic window พร้อมด้วยบุคคลากรที่เข้าใจและใช้หลักการของศาสนาอิสลามคอยทำงานช่วยเหลือ
ส่วนนโยบายหลักของแผนงาน สสม. คือการทำงานโดยใช้หลังศาสนาอิสลามเพื่อให้มุสลิมสามารถที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเน้นเรื่องสุขภาวะเป็นหลัก ครอบคลุม สุขภาวะกาย สุขภาวะใจ สุขภาวะปัญญาและสุขภาวะสังคม
ในที่นี้ สุขภาพกาย คือ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บชีวิตความเป็นอยู่พอเพียง สุขภาพใจ คือ มีจิตใจสบายเป็นสุข ไม่เครียด สุขภาวะปัญญา คือมีความรู้ความเข้าใจ รอบรู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น สุขภาวะสังคม คือ ต้องอยู่ในสังคมที่ดี มีสังคมดีคนในสังคมก็จะดีตามไปด้วย
ถึงขั้นตอนสะสางเริ่งต้นจากปัญหา “บุหรี่”…ที่ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากมีการยอมรับบุหรี่และสูบกันมานาน ต้องใช้เวลา เพราะมุสลิมบางคนเข้าใจว่าบุหรี่เป็นมารอฮฺ (สิ่งที่ไม่พึงปฏิบัติ) ทั้งที่มีคำฟัตว่า (วินิจฉัย) ของนักวิชาการศาสนาเกือบทั่วโลกบอกว่าบุหรี่นั้นฮารอม (เป็นสิ่งต้องห้าม) ปัจจุบันจึงเห็นมัสยิดต่างๆ ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ ขณะเดียวกันก็ต้องคอยกันไม่ให้สุราเข้ามาในสังคมมุสลิมซึ่งแม้ว่ามุสลิมจะไม่ค่อยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสุรา ปัญหาเมาแล้วขับก็ไม่ค่อยเกิด แต่ต้องรัวังไว้ เนื่องจากสิ่งเร้าและสังคมเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
อีกหนึ่งโครงการที่น่าภูมิใจของ สสม. คือ “โครงการสุหนัต” (การขลิปปลายหุ้มหนังองคชาติ) เนื่องจากในอดีตสังคมมุสลิมทำสุหนัตเอง คนที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนก็ต้องไปโรงพยาบาล เสียค่าทำสุหนัตตั้งแต่ 2,000-5,000 บาท ดรงพยาบาลบางแห่งคิดถึง 7,000 บาท ทำให้บางครอบครัวลูกชาย 5 คน อายุตั้งแต่ 2-19 ปี ยังไม่ได้ทำสุหนัตแม้แต่คนเดียวเพราะไม่มีเงินและอยู่นอกชุมชน
แต่เมื่อได้รับงบประมาณจาก สสส. และทาง สสส. ทำการเจรจากับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จนรับโครงการสุหนัตเข้าอยู่ในระบบการรักษาบัตรทองฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งแม้แต่คนไทยพุทธก็สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ สามารถทำให้ชาวบ้านประหยัดค่าใช้จ่าย และมีสุขภาพที่ดีขึ้น เนื่องจากมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า คนในสังคมที่ทำสุหนัตพบว่าการเกิดมะเร็งหลายชนิดลดลง
ความภูมิใจต่อมาคือการ ผลักดัน “ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต” (ทรัพย์สินส่วนเกินที่ต้องบริจาคทุกปี ชาวไทยมุสลิมต้องจ่ายทั้งซะกาดและภาษี) ซึ่ง พ.ร.บ.นี้ เป็น พ.ร.บ.ที่บอกว่ารัฐบาลมีหน้าที่สางเสริมให้มุสลิมในชุมชนต่างๆ ตั้งกองทุนซะกาด เพื่อเก็บซะกาตและจ่ายซะกาตกันเอง โดยรัฐบาลส่งเสริมให้มุสลิมทำ
“ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ กองทุนซะกาตคือกองทุนที่จะมาแก้ไขปัญหาความยากจน เพราะว่าคนยากจน คนขัดสนนั้นคือ 2 ใน 8 ของคนที่มีสิทธิรับซะกาด ยังไม่รวมการทำงานเพื่อศาสนา ช่วยเหลือคนที่ตกระกำลำบากระหว่างการเดินทางนำในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักศาสนา หรือช่วยคนที่รับอิสลามและถูกครอบครัวตัดขาด สิ่งเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาสังคมได้
อีกหนึ่งประการที่ต้องกล่าวถึงคือ แผนงาน สสม.ได้ใช้ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติมาทำเป็น “สำมะโนประชากรและการเคหะของมุสลิมไทยปี 2543 และปี 2553” ผลิตและแจกจ่ายใช้ประโยชน์ไปทั่วประชาชนในชุมชนร่วมใจกันมาพัฒนามิสยิด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้ดำเนินงานผ่านไปเกือบ 7 ปี ก็ยังมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการนำงบประมาณจากภาษีสุราและบุหรี่มาใช้กับสังคมมุสลิม ดังนั้นในปี 2553 อาศิส พิทักษ์คุมพล ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสงขลา ในขณะนั้น ได้เสนอให้เดินทางไปประเทศอียิปต์ เพื่อขอปรึกษาในเรื่องของงบประมาณจาก สสส.
ต่อมาช่วงปี 2553 รศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์, รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี, ดร.วิสุทธิ์ บิลลาเด๊ และ อ.สมาน ดือราแม ได้เดินทางเพื่อเข้าพบ ศ.ดร.อลี ญุมอะฮฺ มุฟตีใหญ่แห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์เพื่อขอให้ฟัตวา (วินิฉัย) งบประมาณจาก สสส. ซึ่ง ศ.ดร.อลี ญมอะฮฺ ได้ให้คำวินิจฉัยว่าสามารถใช้ประโยชน์จากภาษีดังกล่าวได้โดยไม่ผิดหลักศาสนาและการที่มุสลิมในประเทศไทยจะร่วมมือกับฝ่ายรัฐ โดยรับเงินส่วนนี้มาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาวะและต่อต้านการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่ ถือเป็นสิ่งที่ดีทำได้ ไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด
ร่วมเป็นหนึ่งภาคีแผนงาน สสม. ติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.muslim4health.or.th และเข้าใจสุขภาวะของมุสลิมอย่างแท้จริงผ่านวารสาร “สุขสาระ” จากมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์