“ม่อนแสงดาว”…โรงเรียนสุดชายแดน

การศึกษาทางเลือกของเด็กด้อยโอกาส

 

“ม่อนแสงดาว”…โรงเรียนสุดชายแดน

             เมื่อก่อนมีเด็กจำนวนมาก ถูกผลักดันให้เข้าไปสู่ระบบการค้าประเวณี เพราะครอบครัวมีฐานะยากจน และไม่สามารถส่งลูกหลานไปเรียนโรงเรียนในเมืองที่อยู่ห่างไกลได้  และแม้รัฐจะมีนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนให้เด็กเรียนฟรี 12 ปี (ปัจจุบัน 15 ปี) และมีกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาก็ยังไม่พอ เพราะยังมีค่าใช้จ่ายด้านอื่น เช่น  ค่าชุดนักเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าชุด ค่าอุปกรณ์ ค่ากิจกรรมโรงเรียน ที่ผู้ปกครองแบกรับภาระไม่ไหว-คำว่า “ทางเลือก”(alternative)เป็นวาทกรรมที่สร้างความตื่นตัว

 

             โดยเฉพาะเมื่อสิ่งที่เป็นกระแสหลักเริ่มปรากฏให้เห็นถึงความล้มเหลว ผิดพลาด เช่นเดียวกับระบบการศึกษาไทย ที่ปรากฏชัดว่า ในการปฏิรูปการศึกษาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของกระทรวงศึกษาธิการยังไม่ประสบความสำเร็จคุณภาพของนักเรียนและสถานศึกษาในขั้นพื้นฐานกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ อยู่ในระดับต่ำ และ แม้รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา49 จะกำหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงแต่กลับพบว่ายังมีเด็กอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษา โดยเฉพาะเด็กยากจน เด็กที่เป็นชนกลุ่มน้อย อยู่ชายขอบของประเทศ รวมไปถึงเด็กพิการและทุพพลภาพ “การศึกษาทางเลือก”จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการหยิบยื่นโอกาสให้แก่เด็กเหล่านี้ทั้งนี้

 

             ในการประชุมระดมความคิดเรื่อง “การศึกษาวิจัยการศึกษาทางเลือกเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ”  สนับสนุนโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีข้อมูลที่น่าสนใจยิ่ง โดย นายเทวินฎฏฐ์ อัครศิลาชัย หรือ “ครูตั้ม”  ครูโรงเรียนเด็กม่อนแสงดาว  ต.ดอยลาน อ.เมือง  จ.เชียงราย  ได้นำเสนอประสบการณ์ และผลงานจากการเป็นครูผู้จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กชนเผ่าชน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากเมืองของ จ.เชียงราย  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การศึกษาทางเลือก สามารถทำให้เด็กที่ขาดโอกาสได้เรียนหนังสือ ที่มีรูปแบบสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนแต่ละท้องถิ่นอย่างแท้จริงครูตั้มได้เล่าถึงการก่อกำเนิดของโรงเรียนเด็กแห่งนี้ว่า เมื่อก่อนมีเด็กจำนวนมากถูกผลักดันให้เข้าไปสู่ระบบการค้าประเวณี เพราะครอบครัวมีฐานะยากจน และไม่สามารถส่งลูกหลานไปเรียนโรงเรียนในเมืองที่อยู่ห่างไกลได้  และแม้รัฐจะมีนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนให้เด็กเรียนฟรี 12 ปี (ปัจจุบัน 15 ปี) และมีกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาก็ยังไม่พอ เพราะยังมีค่าใช้จ่ายด้านอื่น เช่น  ค่าชุดนักเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าชุด ค่าอุปกรณ์ ค่ากิจกรรมโรงเรียน ที่ผู้ปกครองแบกรับภาระไม่ไหว”เด็กชนเผ่าที่นี่มีฐานะยากจน ถ้าจะต้องเดินทางไปโรงเรียนในเมืองก็ไม่ไหว เพราะไกลถึง 7-8 กม. เดินทางไปกลับก็ไม่ปลอดภัย

 

             ขณะที่วิถีการดำรงชีวิตก็ไม่สอดคล้อง เพราะ ในช่วงปิดเทอมจะไม่ตรงกับฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้ไม่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้านได้ เหตุให้เด็กนักเรียนต้องออกจากระบบโรงเรียน เป็นจำนวนมาก” ครูตั้มอธิบายโรงเรียนเด็กม่อนแสงดาวจึงถูกก่อตั้งขึ้นตามแนวคิดให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการจัด การความรู้ เมื่อปี 2542  ให้เป็นศูนย์การศึกษาทางเลือกตามวิถีธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพึ่งตนเอง

 

             โดยนักเรียนส่วนใหญ่ที่รับเป็นเด็กชนเผ่าบนพื้นที่สูงและเด็กพื้นที่ราบที่ยากจนด้อยโอกาส อายุระหว่าง 12-15 ปีครูตั้มเล่าว่า ในส่วนการเรียนการสอน เน้นรูปแบบ  อุดช่องว่างของเด็กที่ไม่ได้รับการศึก ษา อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย  ด้วยการปลูกฝังให้เห็นคุณค่าความเป็นคน ภูมิใจในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชน เพื่อให้รู้จักตนเอง ขยายไปสู่การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม ชุมชน โลก ศิลปะ เพราะเด็กกลุ่มนี้มีความกดดัน มีความบกพร่อง ความน้อยเนื้อต่ำใจ ความประชดสังคม การเปิดให้เขามาเรียนรู้สังคมภายนอก เคารพตัวเอง  ศิลปะจะช่วยเปิดโลกของพวกเขาได้

 

             “เด็กม่อนแสงดาวจะเก่งมากเรื่องการหาของป่า หาหน่อไม้ หาเห็ด ดังนั้นบทเรียนแรกคือจะหาเห็ดได้อย่างไร จากนั้นก็เข้าสู่แผนการศึกษา เราก็พยายามล้อระบบการศึกษาในโรงเรียน แต่วิธีการสอนต่างกัน…โดยภาคเช้าจะเราจะเรียนเรื่องทฤษฎี แต่ภาคบ่ายจะให้ลงมือปฏิบัติ แบ่งสัดส่วน เป็นกลุ่มวิชาทางเลือก 40% วิชาสามัญ 25% ซึ่งเป็นการเน้นให้เด็กทำงานเป็น ไม่เน้นวิชาการ มีเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง ให้รู้จักตนเอง เห็นคุณค่าของความเป็นคน รวมถึงพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพ ได้อย่างเหมาะสม ตรงตามวิถีชีวิตของแต่ละคน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

             โดยไม่รู้สึกถึงความน้อยเนื้อต่ำใจ”ตั้งแต่เริ่มต้นเปิดโรงเรียนม่อนแสงดาว เมื่อปี 2542 ถึงปัจจุบัน มีนักเรียนทั้งสิ้น 115 คน โดยเป็นเด็กชนเผ่าอาข่า ม้ง  กะเหรี่ยง ลาหู่ เย้า และเด็กชนเผ่าล้านนาพื้นราบ จ.เชียงราย และพะเยา โดยเรียนจบจากโรงเรียนไปแล้ว 90 คน อีก 25 คน ยังเรียนอยู่ซึ่งหลักสูตรการศึกษาทางเลือกม่อนแสงดาว พิสูจน์ได้ว่าสามารถป้องกันเด็กผู้หญิงในชุมชนไม่ให้เข้าสู่ขบวนการค้าประเวณี ได้ 100% เด็กบางคนที่เคยขาดความมั่นใจ ก็ได้รับเลือกให้เป็นเยาวชนตัวแทนของประเทศไทย ไปประชุมแลกเปลี่ยนกับภาคีเครือข่ายเยาวชนจากภูมิภาคอาเซียน 7 ประเทศ และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาชุมชนของตนเอง”การศึกษาทางเลือก เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่หยิบยื่นให้เด็กกลุ่มต่างๆ ที่ด้อยโอกาสในสังคมได้รับโอกาสทางการศึกษา แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีกฎหมายและหน่วยงานทางการศึกษาของรัฐบาลใดรับรอง ทั้งที่การศึกษาทางเลือกของประชาชน ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เช่นกัน”

 

             ครูตั้มแสดงทัศนะว่า การศึกษาปัจจุบันไม่สามารถรองรับเด็กทุกกลุ่มให้เข้าถึงได้ด้วยความเป็นจริงที่ว่า สังคมไทยยังมีความแตกต่าง ทั้งเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม การศึกษาทางเลือก จะเป็นอีกทางหนึ่ง ให้ผู้เรียนได้เลือกว่า ตัวเองต้องการรูปแบบการเรียนการสอน การศึกษาแบบไหน ให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงดังนั้น รัฐบาลควรให้การสนับสนุนการศึกษาทางเลือก อย่างจริงใจเป็นระบบเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาเป็นอีกส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา  เพื่อให้ตอบสนองต่อผู้เรียนทุกกลุ่มได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จำเป็นต้อองอาศัยพลังขับเคลื่อนจากภาคสังคมร่วมด้วย

 

เป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรับฟัง…

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

 

 

 

update: 03-12-52

อัพเดทเนื้อหาโดย: ภราดร เดชสาร

Shares:
QR Code :
QR Code