"มหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข"สังคมอุดมปัญญา

/data/content/25862/cms/e_bchjprtw1689.jpg


          "มหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข"มหาวิทยาลัยแนวใหม่แห่งแรกของไทย ยึดหลักชีวิต คือการเรียนรู้ การเรียนรู้คือชีวิต มุ่งปั้นนักพัฒนา ปลูกปัญญา เปลี่ยนแปลงสังคม "หมอประเวศ" แนะควรเร่งปฏิรูปการศึกษา เน้นสร้างผู้เรียนเข้าใจวิถีธรรมชาติมากกว่ายึดหลักวิชาการ เตรียมอบรมรุ่นแรก 15 ตำบลส่งต่อการเรียนรู้สร้างชุมชนเข้มแข็ง เริ่มเรียน พ.ย.นี้


          ที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ศ.นพ. ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวปาฐกถาพิเศษ “มหาวิชชาลัย ร่วมสร้างสังคมอุดมปัญญา” ในงานเปิดมหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข และมหกรรมนวัตกรรมสุขภาพชุมชน ระหว่างวันที่ 21 – 22 กันยายน ว่า วันนี้เป็นวันประวัติศาสตร์ในการเปิดศักราชใหม่ทางการศึกษา ที่ตั้งมหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุขที่มีพลังไปสู่การสร้างความเจริญ และสังคมอุดมปัญญา หลักการของดอนแก้วเป็นการยึดหลัก ชีวิต คือการศึกษา การศึกษา คือชีวิต เป็นมหาวิทยาลัยแนวใหม่ไม่เหมือนที่ใดในโลก ซึ่งคำว่าวิชชาลัย หมายถึงปัญญา ความรู้ทั้งหมด ส่วนมหาวิทยาลัยเป็นเพียง ความรู้เฉพาะส่วน ดังนั้น ปัญญาใหญ่กว่าความรู้ สามารถเชื่อมโยงได้ทุกเรื่อง


/data/content/25862/cms/e_dijmpr235678.jpg


          “ระบบการศึกษาสมัยนี้ เป็นการศึกษาแบบต่อท่อความรู้โดยยึดวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ชีวิตเป็นตัวตั้ง เกิดการแยกส่วนทำให้เกิดวิกฤตทางสังคม ระบบการศึกษาล้มเหลวอ่อนแอ การศึกษาเป็นแบบศูนย์รวมอำนาจ สร้างระบบที่ให้เด็กทุกคนเข้าไปกระจุกตัวอยู่หนาแน่น การเรียนยังใช้หลักท่องจำ ดังนั้น จำเป็นต้องปฏิรูประบบอย่างเร่งด่วน”   ศ.นพ.ประเวศกล่าว


          งสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. กล่าวว่า รูปธรรมของการจัดการสุขภาวะในชุมชนที่ตอบสนองต่อการสร้างความสุข เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากร ในรูปแบบของการจัดการตนเองเพื่อการดูสุขภาพ โดยใช้ทุนทางสังคมและศักยภาพของพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา แบ่งเป็น 3 กลุ่มสำคัญ คือ 1. การจัดการตนเองตนเอง  ครอบครัว กลุ่มต่างๆ ที่เป็นทุนทางสังคมของพื้นที่ 2. การจัดบริการของโรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้วในการเพิ่มทักษะในการจัดการตนมากขึ้น 3. อบต.ดอนแก้วทำหน้าที่ในการส่งเสริมบริการสาธารณะ ซึ่ง ต.ดอนแก้ว มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบ โดยทสสส.ได้เข้ามาร่วมทำงานกับ อบต.ดอนแก้วตั้งแต่เริ่มแรก มองเห็นศักยภาพในการสร้างชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง พร้อยขยายไปยังชุมชนท้องถิ่นอื่นอีกทั่วประเทศ


/data/content/25862/cms/e_lmstuwz12357.jpg


          ดร.อุบล ยะไวทย์ณะวิชัย ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว และอธิการบดีมหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข กล่าวถึงแนวทางการศึกษาหลักสูตรการจัดการสุขภาพชุมชนว่า มหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข ทำหน้าที่ในการถ่ายทอด สร้างการเรียนรู้ ฝึกทักษะแบบคู่ขนาน(Learning through Actions) 1. มีหลักสูตรทั้งในระดับตำบล ที่ให้ประชาชนในตำบลดอนแก้วได้เรียนรู้โดยได้รับการสนับสนุนจากอบต.ดอนแก้วที่เป็นส่วนหนึ่งของบริการสาธารณะ  และเป็นหลักสูตรระยะสั้นเริ่มต้นตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ที่แตกต่างกันในแต่ละวิชา เป็นต้นไป  2. มีหลักสูตรสำหรับองค์กรส่วนท้องถิ่นเครือข่าย 15 แห่ง ที่จะเข้ามาเรียนรู้ในมหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุขตำบลละ 45 คน รวม 270 คน จัดการเรียนการสอน 2 ครั้ง ในหลักสูตรครั้งละ 4 คืน 5 วันได้รับการสนับสนุนจากสสส. สำนัก 3 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการต่อยอดและขยายการพัฒนาระบบการูแลและขยายพื้นที่ต่อไป และ3. สำหรับ อปท.หรือกลุ่ม องค์กรที่สนใจนอกเครือข่าย สามารถสมัครเข้าเรียนได้โดยมีค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอนตามหลักสูตรการจัดการสุขภาพชุมชน  มหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข ซึ่งจะได้กำหนดเป็นระเบียบต่อไป


/data/content/25862/cms/e_hijmqxy13489.jpg


          ดร.อุบล กล่าวอีกว่า สำหรับหลักสูตรด้านหลักนวัตกรรมสุขภาพ ได้แก่ 1) วิชาการดูแลผู้ป่วยและคนพิการ 2) วิชาการพัฒนาอาสาสมัคร3) วิชาการจัดสวัสดิการ 4) วิชาการดูแลผู้สูงอายุ 5) วิชาการจัดการครอบครัว 6) วิชาการดูแลเด็กปฐมวัย 7) วิชาการดูแลเด็กและเยาวชน ส่วนหลักสูตรนวัตกรรมการส่งเสริมพัฒนา ประกอบด้วย 5 วิชาหลักได้แก่ 1) วิชาการจัดการความมั่นคงทางอาหาร 2) วิชาการจัดการขยะและพลังงานทดแทน 3) วิชาการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ 4) วิชาความปลอดภัยในชุมชน 5) วิชาความปลอดภัยในอาชีพ ทั้งนี้ การเรียนการสอนจะเริ่มดำเนินการในเดือน พฤศจิกายน 57 นี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อศึกษาจนจบหลักสูตรจะได้รับใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการรับรองจากสสส. มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์  และมหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข (อบต,ดอนแก้ว) เรียกว่าใบปัญญาบัตร พร้อมกับในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด้วย


 


          ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข

Shares:
QR Code :
QR Code