มรภ.วไลยอลงกรณ์ ใช้งานวิจัยพัฒนาเมืองน่าอยู่พอเพียง

ที่มา : มติชนออนไลน์ 


ภาพประกอบจากเว็บไซต์มติชนออนไลน์


มรภ.วไลยอลงกรณ์ ใช้งานวิจัยพัฒนาเมืองน่าอยู่พอเพียง thaihealth


ราชภัฎวไลยอลงกรณ์จับมือ 5 ราชภัฏ นำเสนองานวิจัยเชิงพื้นที่ ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โครงการวิจัยและพัฒนาสร้างพลัง ร่วมในการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน


ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส). ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างพลังร่วมในการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน กำหนดให้มีการนำเสนองานวิจัยเชิงพื้นที่ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ภายใต้โครงการวิจัย และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยมีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก 5 แห่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่าย สถาบันวิชาการ คู่ความร่วมมือชุมชนท้องถิ่น


ซึ่งการนำเสนอประกอบด้วย 1. ประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย 2. ประเด็นการพัฒนาเด็กและเยาวชน 3. ประเด็นเศรษฐกิจชุมชน 4. ประเด็นการดูแลสุขภาพ และ 5. ประเด็นการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม


มรภ.วไลยอลงกรณ์ ใช้งานวิจัยพัฒนาเมืองน่าอยู่พอเพียง thaihealth


มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการสร้างองค์กรความรู้ แลกเปลี่ยนกระบวนการคิดวิธีการทำงาน การทำงานร่วมกับเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ซึ่งการแก้ไขปัญหาและหาทางออกของชุมชนท้องถิ่นต้องอาศัยองค์ความรู้และมุมมองจากคนภายนอกชุมชนเข้าไปกระตุ้นหรือสะกิด เพื่อให้เปิดโลกทัศน์และชีวทัศน์ของผู้นำชุมชนท้องถิ่นในฐานะผู้รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ หรือในฐานะสมาชิกของหมู่บ้าน ตำบล ดังนั้น การนำความรู้จากการปฏิบัติกับความรู้จากหลักวิชาการมาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยใช้ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมโยงในการกำหนดยุทธศาสตร์ หรือกลวิธีร่วมกันสร้างชุมชน ท้องถิ่นเข้มแข็งซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ โดยเฉพาะในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ มีพื้นที่รับผิดชอบนอกเหนือจากจังหวัดปทุมธานี แล้วยังมีจังหวัดสระแก้วอีกที่ต้องนำบุคคลนำบุคลากรของมหาวิทยาลัยไปร่วมกันพัฒนาต่อไปหลังจากการนำเสนอผลงานภายในวันที่ 31 และวันที่ 1 แล้วยังมีกิจกรรมการลงพื้นที่ที่จังหวัดสระแก้วอีกครั้งในวันที่ 4 ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ก่อนที่จะนำเสนอผลงานการดำเนินการให้กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ต่อไป

Shares:
QR Code :
QR Code