มจร.พะเยาศูนย์เรียนรู้พุทธศาสนา-ศิลปะ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


 มจร.พะเยาศูนย์เรียนรู้พุทธศาสนา-ศิลปะ thaihealth


การเปิดตัวของ  "ประชาคมอาเซียน"  ไม่เพียงแต่เป็นการเชื่อมร้อยเรื่องของทุนแรงงานภาคธุรกิจเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการเชื่อมร้อยใจของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ต่างพื้นที่คนละประเทศ วัฒนธรรมที่เหนียวแน่น ให้สัมพันธ์กันอย่างมั่นคงและผูกพันมากขึ้น


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ด้านวัฒนธรรม ความเชื่อที่มีผลต่อการดำรงวิถีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน


"พระเทพญาณเวที"  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพะเยา กล่าวว่า "รากฐานของชุมชนคือวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นบรรพบุรุษ และสืบสานต่อโดยรุ่นปัจจุบันถึงอนาคต ดังนั้น วัด โดยพระสงฆ์ เป็นกลไกหนึ่งในการเชื่อมโยงให้เกิดวัฏจักรการสืบทอดและสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาล้านนา มิให้สูญหาย ซึ่งมหาจุฬาฯ วิทยาเขตพะเยา เลือกพื้นที่ต้นแบบ คือ วัดปัวหล่าย หมู่ 8 ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา ซึ่งมีพื้นฐานความเป็นพื้นบ้านล้านนา ที่ยังคงรักษาและสืบทอดของดีจากบรรพบุรุษไว้มากมาย อาทิ สมุดข่อย ใบลาน หรือที่เรียกว่า ปั๊บสา ตลอดจนขนบประเพณีที่เป็นความเชื่อดีงาม ซึ่งผูกพันกับพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน"


มจร.พะเยาศูนย์เรียนรู้พุทธศาสนา-ศิลปะ thaihealthด้าน "พระราชปริยัติ" เจ้าคณะจังหวัดพะเยา และผู้อำนวยการสำนักวิทยาเขต มหาจุฬาฯ วิทยาเขตพะเยา กล่าวว่า การเปิดศูนย์การเรียนรู้พุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมล้านนาสู่อาเซียน ที่วัดปัวหล่าย เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและเสริมสร้างพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เอื้อต่อการศึกษาเพื่อปลูกจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยวิถีล้านนาอันดีงามสู่อาเซียน


ทั้งนี้ การเปิดตัวของประชาคมอาเซียนถือได้ว่าเป็นการเคลื่อนตัวของเรื่องด้านเศรษฐศาสตร์ เช่น ทุน แรงงาน เงิน หากชุมชนท้องถิ่นไม่มีความพร้อมที่จะตั้งรับและปรับตัวอย่างมีสติย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรับมือ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นรากเหง้าของความเข้มแข็งชุมชนและท้องถิ่น คือ วัฒนธรรมและศิลปะที่งดงามอันมีอัตลักษณ์ทรงคุณค่าของล้านนา เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมและจิตใจของผู้คน


ดังนั้น การสืบทอดศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เหล่านี้ จึงควรดำรงอยู่ให้ลูกหลานได้สืบสานและไม่ลืมรากที่มาของตนเอง อันเป็นจุดแข็งของชุมชนและสังคมภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมสมัยใหม่


วัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ต้องการสร้างภูซางซึ่งเป็นเมืองติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นเมืองหน้าด่านของจังหวัดพะเยาให้เป็นเมืองวิถีวัฒนธรรมทางศาสนา พอกินพอใช้ เมตตาสามัคคีไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น สร้างภูซางบ้านเกิดเลิศด้วยศาสนาชาวประชาเป็นสุข


ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้น จะเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและค้นคว้าด้านพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมในอาเซียน ส่งเสริมมจร.พะเยาศูนย์เรียนรู้พุทธศาสนา-ศิลปะ thaihealthเผยแผ่บูรณาการวิชาการ เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่สังคม และเชื่อมสัมพันธไมตรีด้านพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมล้านนา และวัด คือ ศูนย์กลางหนึ่งที่จะทำให้ผู้คนมีจิตใจที่เข้มแข็ง จึงได้เกิดโครงการข้างต้นขึ้น เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของทุกกลุ่ม


นายวราดิศร อ่อนนุช นายอำเภอภูซาง กล่าวว่า "เมืองภูซางนับว่าเป็นประตูของจังหวัดพะเยาที่จะเชื่อมสู่ประเทศเพื่อนบ้านในเส้นทางอาร์สามเอ(R3A) คือ ประเทศสปป.ลาว เมียนมา จีน รวมทั้งในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ดังนั้นการที่ในพื้นที่ภูซาง มีศูนย์การเรียนรู้พุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมล้านนาสู่อาเซียนนั้น ทำให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตอย่างมีสติ รู้เท่าทันตัวเอง สังคม และต่างประเทศในโลกที่จะมาเชื่อมสัมพันธ์กัน


เนื่องจากมีพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งเชื่อมใจของทุกชาติพันธุ์ หากจะมองว่าอาเซียนของภูมิภาคนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนการเปิดประชาคมอาเซียน คือ ชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทลื้อ ลาว ที่มีการกระจายตัวอยู่ตามประเทศต่างๆ ในที่นี้มีความเป็นเครือญาติกัน ก็คือความเป็นอาเซียนโดยชาติพันธุ์"


สายใยพี่น้อง ร้อยคล้องสัมพันธ์ แม้ต่างเวลาคืนวัน แต่ก็ไม่ต่างวัฒนธรรม

Shares:
QR Code :
QR Code