ภาคีเครือข่ายภาคอีสานขับเคลื่อนการป้องกันสุขภาพ

ที่มา:เดลินิวส์


ภาคีเครือข่ายภาคอีสานขับเคลื่อนการป้องกันสุขภาพ thaihealth


แฟ้มภาพ


กรมควบคุมโรคได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข นโยบายรัฐบาล และแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"


นพ.สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ขับเคลื่อนเครือข่ายดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ปี 2562" ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมอวานีฯ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น  เพื่อให้พื้นที่สามารถดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบที่เข้มแข็ง เป็นเอกภาพทั้งระดับประเทศ ระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมและการบูรณาการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


          นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข นโยบายรัฐบาล และแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ซึ่งกรมควบคุมโรค ได้บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนได้รับการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการควบคุมป้องกันโรคเน้นย้ำ 3 โรคเร่งด่วน พิษสุนัขบ้า วัณโรค และพยาธิใบไม้ตับที่เป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งประชาชนชาวภาคอีสานเป็นกันมาก มีผู้เข้าร่วมจำนวนกว่า 300 คนจาก 20 จังหวัดภาคอีสาน ซึ่งนอกจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานในพื้นที่แล้ว ยังเป็นการหารือแนวทางและวางเป้าหมายการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพร่วมกันให้ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน


          นพ.สุวรรณชัย กล่าวถึง เรื่องโรคและภัยสุขภาพในฤดูหนาว ว่า ช่วงระหว่างเดือนตุลาคม- เดือนกุมภาพันธ์ ในแต่ละปีประเทศไทยเป็นฤดูหนาว ประชาชนในหลายพื้นที่จะได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพอนามัยและการเจ็บป่วย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายหากร่างกายปรับตัวไม่ทันสภาพอากาศชื้น หนาวเย็นและความชื้นสัมพัทธน้อย ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดโดยเฉพาะเชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้ดี มีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น โดยเฉพาะ 6 โรคที่พบบ่อยในฤดูหนาว ได้แก่ ปอดบวม ไข้หวัดใหญ่ อุจจาระร่วง มือเท้าปาก อีสุกอีใส และหัด นอกจากโรคติดต่อในฤดูหนาวเหล่านี้ ประชาชนควรดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคและภัยสุขภาพในฤดูหนาว ได้แก่ ไม่ดื่มสุราแก้หนาว หลีกเลี่ยงการผิงไฟในที่อับไม่มีอากาศถ่ายเท ระมัดระวังการอาบน้ำ จากเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้พลังงานจากแก๊สหุงต้ม เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ รวมทั้งการขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัยในช่วงฤดูหนาวที่มีหมอกและควันไฟปกคลุม เป็นต้น.


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code