พ่อแม่สามารถออกแบบสมองให้ลูกได้

จากการกระตุ้นผ่านสัมผัสทั้งห้า

พ่อแม่สามารถออกแบบสมองให้ลูกได้

 

          การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของเด็กไทยถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ยิ่งเมื่อดูจากสถานการณ์ล่าสุด ในช่วงปี 2540-2552 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รายงานไว้ว่า เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญา และพัฒนาการสมวัยต่ำลง โดยค่าเฉลี่ยลดลงจาก 91 เหลือ 88 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 และเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงจากร้อยละ 72 เหลือเพียงร้อยละ 67 เท่านั้น ยิ่งต้องเร่งสปีดแก้ปัญหาด่วนจี๋

 

          เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพแบบไร้กรอบของเด็กไทย s-26 club ได้นำองค์ความรู้จาก ทฤษฎี brain based learning มาเผยแพร่ และจัดสัมมนาให้คุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ได้ เรียนรู้รวดเร็วทันใจ โดยมีวิทยากรและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ พร้อมจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปในแนวสร้างสรรค์ ภายใต้ทฤษฎี brain based learning ซึ่งเน้นการออกแบบสมองเพื่อการเรียนรู้ โดยเชื่อว่า มนุษย์มีลักษณะสมองที่แตกต่างกัน ฉะนั้น การพัฒนาสมองให้มีศักยภาพจึงต้องอาศัยทฤษฎีความรู้มาช่วยปรับให้เหมาะสมกับแต่ละคน และทฤษฎีดังกล่าวเป็นการใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์

 

          รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร” ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า ภายใต้ ทฤษฎีดังกล่าว จะเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ ระหว่างแรกเกิดถึง 6 ปี นอกจากนั้น ยังใช้การจัดการ เรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยจะอ้างอิงหลักการจากทฤษฎีตามช่วงวัยเพื่อพัฒนาการสูงสุด อาทิ เด็กในวัย 12-18 เดือน จะเริ่มสำรวจผ่านสัมผัสทั้ง 5 จึงควรปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้การสัมผัสด้วยหู ตา จมูก ปาก เพื่อรับประสบการณ์แปลกใหม่ ส่วนเด็กวัย 18-24 เดือน จะเริ่ม เดินเองได้บ้าง ควรส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ระยะทาง และฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆให้รู้สึกสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ขณะที่วัย 24-36 เดือน เด็กจะอยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง จึงควรเน้นกิจกรรมให้เด็กได้วิ่งเล่น กระโดด หรือปีนป่าย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรง

 

          รศ.ดร.สายฤดี” ยังกล่าวเสริมว่า พ่อแม่สามารถออกแบบสมองให้ลูกได้ ถ้าเข้าใจหลักการฝึกฝน ให้ลูกรู้จักรับรู้ในสัมผัสทั้งห้า โดยช่วงเวลาสำคัญที่สุดคือ ช่วง 6 ปีแรก ซึ่งสมองของเด็กจะเรียนรู้ฝึกฝน ทั้งด้านกล้าม เนื้อ ภาษา สติปัญญา การรับรู้ และพฤติกรรมพื้นฐานต่างๆ ขณะที่เด็กหลังคลอดจะรับรู้ผ่านการมองเห็น ภายใน 3 เดือนจะมีพัฒนา การควบคุมตัวเองและปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อายุ 8-10 เดือนจะเริ่มพัฒนาการสื่อสาร กระนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ สมองมนุษย์ต้องการการกระตุ้นที่ดี เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อจะเติบโตอย่างเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ และจัดระบบการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

 

 

 

update:29-07-53

อัพเดตเนื้อหาโดย: คมสัน ไชยองค์การ

 

Shares:
QR Code :
QR Code