‘พื้นที่ห้ามสูบ’ ร่วมทวงสิทธิ์ที่คุณพึงได้

/data/content/24832/cms/e_dgimoqruyz36.jpg

          สถานที่ใดมีสติ๊กเกอร์ระบุว่าเป็น “เขตปลอดบุหรี่” สถานที่นั้นควรจะต้องได้รับการพิทักษ์ให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่และควันบุหรี่อย่างสิ้นเชิง 

          ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. อธิบายว่า ประชาชนยังคงได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะโดยเฉพาะที่ตลาดสดหรือ ตลาดนัด สถานบริการขนส่งสาธารณะ และร้านอาหาร ตามลำดับ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และรณรงค์เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่

         สำหรับพื้นที่ปลอดบุหรี่ตาม พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 มี 5 สถานที่หลัก ได้แก่

         /data/content/24832/cms/e_bgklnstxz346.jpg 1. พื้นที่ในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

          2. พื้นที่เปิดโล่งแต่มีหลังคา ได้แก่ ส่วนให้บริการอาหารของร้านอาหารไม่ติดเครื่องปรับอากาศ จุดรอรถโดยสาร

          3. พื้นที่เปิดโล่งไม่มีหลังคา ได้แก่ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สถานที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น

         4. ตลาด ทั้งที่ตั้งเป็นประจำ และชั่วคราวตามวัน เวลาที่กำหนด

         5. ยานพาหนะสาธารณะทุกประเภท (รถเมล์ รถไฟ เรือ แท็กซี่ ฯลฯ)

         การจัดพื้นที่สูบบุหรี่ ต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการ

         1. ไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนบริเวณข้างเคียง

         2. ไม่อยู่ในบริเวรทางเข้า-ออก ของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

         3. ไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผย หรือเห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น

       /data/content/24832/cms/e_cdklorvwxy68.jpg ข้อปฏิบัติของเจ้าของสถานที่ในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

        1. ต้องติดเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ตามที่กฎหมายกำหนด

        2. ต้องดูแลไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในพื้นที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่

        บทลงโทษ

        1. ผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

        2. เจ้าของสถานที่ไม่ติดเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่หรือเขตสูบบุหรี่ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

        3. เจ้าของสถานที่ไม่จัดสถานที่เป็นเขตปลอดบุหรี่หรือเขตสูบบุหรี่ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

        4. ฝ่าฝืนสูบในยานพาหนะสาธารณะ มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

         ดร.นพ.บัณฑิต ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ โดยสสส. และภาคีเครือข่ายรณรงค์ จัดทำสติ๊กเกอร์พื้นที่ห้ามสุบ ซึ่งสามารถขอรับได้ที่ โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้านทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด นอกจากนี้ยังได้จัดทำ แอพพลิเคชั่น “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” โดยให้ประชาชนร่วมกันถ่ายภาพสติ๊กเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อจัดทำแผนที่ปลอดบุหรี่ของประเทศไทยบนเว็บไซต์ www.nonsmokersright.com หรือ www.ทวงสิทธิ์ห้ามสูบ.com ด้วย

        “การสร้างแผนที่นี้จะช่วยสะท้อนสถานการณ์รวมพลังทวงสิทธิ์ ห้ามสูบของคนไทย เพื่อปกป้องคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่จากควันบุหรี่มือสอง ให้มาร่วมกันสนับสนุนนโยบายการทำให้สถานที่ สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% ด้วยการช่วยกันบ่งชี้สถานที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมายด้วยการ ติดสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ ทั่วประเทศไทย” ดร.นพ.บัณฑิต กล่าว

        1สิทธิ์ 1พลัง เมื่อรวมกันก็จะกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ มาร่วมทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ เพื่อสังคมปลอดบุหรี่กันเถอะ

 

 

           เรื่องโดย : กิดานัล กังแฮ Team Content www.thaihealth.or.th

            ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

 

Shares:
QR Code :
QR Code