พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ใต้ทางด่วนนี้เรียกเหงื่อดีนักแล

ใกล้ฤดูปิดเทอมเข้ามาทุกขณะ เด็กกลุ่มหนึ่งเตรียมหาโรงเรียนกวดวิชาไว้แล้ว ส่วนหนึ่งรอคอยวันเวลาปิดเทอมเพื่อจะหยุดพักการเรียนตลอดยาวนานมา 3 เดือน มีเวลาที่จะวิ่งเล่นมากขึ้น หรือขลุกได้เต็มเวลาในร้านเกม ห้วงเวลาแห่งการปิดเทอมภาคฤดูร้อนที่ยาวเหยียดจะสูญเปล่าหรือสร้างคุณค่าให้กับเยาวชน อยู่ที่หลายภาคส่วนประกอบกันทั้งพ่อแม่ ตัวเด็กเอง รวมทั้งสภาพแวดล้อมชุมชนที่อยู่อาศัยช่วยกัน

พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ใต้ทางด่วนนี้เรียกเหงื่อดีนักแล

ข้อมูลทางวิชาการด้านพัฒนาการเด็กระบุว่า ถ้าเด็กเติบโตขึ้นภายในสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ อยู่กับโลกกลางแจ้งได้เล่นเรียนรู้จะมีส่วนพัฒนาร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กับลดพฤติกรรมความรุนแรง ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศลงได้ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสาร สนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายกว่า 10 องค์กร เนรมิตให้พื้นที่บริเวณใต้ทางด่วนถนนสุขุมวิท (เพลินจิต) ให้เป็นศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์

พื้นที่นี้เดิมทีเป็นพื้นที่อับทึบ เกะกะไปด้วยรถเข็นขายของโอบล้อมไปด้วยตึกสูงของอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรมคอนโดฯ พื้นที่ใต้ทางด่วนตรงนี้ดูเหมือนจะเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนทุกชนชั้นเข้าไปทำกิจกรรมต่างๆ แบบไม่เสียเงิน แต่ด้วยสภาพที่ไม่น่าพิสมัยจึงจำกัดไว้เฉพาะพื้นที่วิ่งเล่นของเด็กๆ ในชุมชนรอบๆ อย่างเดียว ภายหลังการปรับปรุงพื้นที่แล้ว พื้นที่ตรงนี้เปลี่ยนโฉมเป็นสวนสาธารณะกึ่งห้องสมุด มีเก้าอี้นั่งพักผ่อน มีห้องน้ำ มีสวนเล็กๆ ให้ร่มรื่น แม้ด้านบนจะมีทางด่วนคร่อมเป็นหลังคากันแดดกันฝน โดยจัดแบ่งให้มีโซนออกกำลังกาย ลานยืดเหยียด สนามเด็กเล่น สนามฟุตซอล ห้องสมุดไอที และห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือสำหรับคนทุกวัย

พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ใต้ทางด่วนนี้เรียกเหงื่อดีนักแล พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ใต้ทางด่วนนี้เรียกเหงื่อดีนักแล

นอกจากนี้ยังให้บริการคำปรึกษาด้านจิตวิทยา โดยจัดจิตแพทย์มาให้คำปรึกษา ทั้ง ปัญหาครอบครัว ปัญหาวัยรุ่น และปัญหาด้านสุขภาวะทางเพศ และอาคารฝึกพัฒนาทักษะ งานฝีมือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าไปฝึกอาชีพได้ฟรี ส่วนลานกลางแจ้งที่เป็นสวนสมุนไพร มีกิจกรรมเวิร์กช็อปต่างหมุนเวียนไปแต่ละหัวข้อในทุกวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ส่วนห้องสมุดเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น.

พื้นที่ใต้ทางด่วนที่นี่ปกติเป็นที่เล่นบอลอย่างไม่เป็นทางการของเด็กในชุมชนที่รายรอบ ประกอบด้วย 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนมีนา 2 ชุมชนมาชิม ชุมชนบ้านชอ ชุมชนรื่นฤดี และชุมชนเฉลิมอนุสรณ์ ทุกเย็นหรือวันหยุด เด็กจะเดินจากชุมชนมารวมตัวกันที่ใต้ทางด่วน

พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ใต้ทางด่วนนี้เรียกเหงื่อดีนักแล พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ใต้ทางด่วนนี้เรียกเหงื่อดีนักแล

“ที่บ้านไม่มีที่ว่างให้เตะบอลต้องมาใต้ ทางด่วน มีสนามเล็กๆ เตะทีทรายกระจาย ปกติพวกผมจะมาตอนวันเสาร์-อาทิตย์ ใช้วิธีเดินมาจากบ้าน ขี่จักรยานไม่ได้ รถเยอะ มีสนามแล้วผมจะมาทุกวัน พวกผมชอบเล่นบอล สนามที่นี่สุดยอดมาก” ฟลุค อ้น ปุ๋ง  นร. ชั้น ม.1 ของชุมชนเฉลิมอนุสรณ์ บอกเล่าหลังประเดิมสนามฟุตซอลวันแรกวันเดียวกันกับที่นายกรัฐมนตรีไปเปิดงาน สลับกับเข้าไปห้องสมุดไอทีจวบจนหมดเวลาทำการ

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส. กล่าวว่า พื้นที่สร้างสรรค์มากขึ้นเท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ได้พัฒนาศักยภาพได้แสดงออกซึ่งความสามารถของเขา ที่สำคัญสร้างความภาคภูมิใจ เพราะพื้นที่สร้างสรรค์คือการสร้างสุขภาวะ โดยเฉพาะร่างกายเด็กในวัยเรียน เด็กวัยรุ่นเป็น กลุ่มเสี่ยงกับโรคอ้วนมากสุดเวลานี้ เมื่อมีพื้นที่ให้เด็กออกกำลังกายเท่ากับกระตุ้นให้เด็กและเยาวชน มีวิถีชีวิตที่มีเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายอย่าง เหมาะสม แทนที่จะนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และส่งผลต่อสุขภาวะทางใจ เด็กไทยอยู่ในภาวะเครียด ภาวะกดดันทางอารมณ์และมีความอ่อนไหวที่จะใช้ความรุนแรง หรือว่าตัดสินสิ่งที่จะเผชิญในชีวิตอย่างค่อนข้างไม่ยั้งคิด

“พื้นที่สร้างสรรค์ไม่ได้วัดกันที่ขนาด พื้นที่ใต้ทางด่วนที่เพลินจิตที่เปิดขึ้น ชัดเจนว่าถ้าปล่อยไว้เฉยๆ ก็ไม่เกิดประโยชน์ อาจเป็นสถานที่ก่ออาชญากรรมได้ ประเด็นสำคัญต้องเน้นการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นจากชุมชนรอบข้างสำคัญมาก เพราะชุมชนมาใช้ประโยชน์ สำคัญที่สุดและเน้นการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล  คำนึงถึงคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนสูงอายุ คนพิการ”

พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ใต้ทางด่วนนี้เรียกเหงื่อดีนักแล พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ใต้ทางด่วนนี้เรียกเหงื่อดีนักแล

ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส.กล่าวว่า พื้นที่ใต้ทางด่วนในกรุงเทพฯ มีอยู่ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ถูกปล่อยทิ้งว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ ถ้ามีการจัดการที่ดี มีนโยบายสนับสนุนตรงนี้ถือว่าพื้นที่นี้เหมาะมากเพราะพื้นที่ใต้ทางด่วนส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้ชุมชน และชุมชนส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่ขาดโอกาส เพราะฉะนั้นการเลือกพื้นที่ใต้ทางด่วนเท่ากับการให้โอกาสและลดความเสี่ยงในเรื่องพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กลง

“ภายใต้ความร่วมมือที่มีเราอาจจะเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ 5 แห่ง ในปีนี้ในพื้นที่เฉพาะใน กทม. ปริมณฑล”

ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัด สสส. ตั้งเป้าให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ทั่วประเทศ 200 แห่ง ในระยะแรก โดย สสส. ทำหน้าที่พี่เลี้ยงในช่วงเริ่มต้น จากนั้นจะส่งต่อให้ชุมชนดูแลเอง

เรื่อง: พรประไพ เสือเขียว
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ