พัฒนา “อำเภอต้นแบบ” ป้องกันความพิการแต่กำเนิด

         /data/content/25776/cms/e_acfghirsu189.jpg 


         "ความพิการแต่กำเนิด" เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ข้อมูลจากทั่วโลกพบทารกและเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิดกว่า 8 ล้านคน ซึ่งภาวะนี้ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับครอบครัวของทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด ภาระของครอบครัวที่ต้องแบกรับ รวมถึงผลกระทบต่อจิตใจของบิดามารดาที่มีทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด จนถึงปัญหาในระดับประเทศโดยเฉพาะในด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้


          เมื่อไม่นานมานี้ จึงมีการจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 11 อำเภอต้นแบบ ร่วมกับ สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ใน โครงการปฏิบัติการระดับชาติเพื่อวางแผนป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย สนับสนุนโดย สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


          ศาตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) ผู้บุกเบิกโครงการ เล่าว่า จากการเก็บบันทึกข้อมูลความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทยเฉพาะ 5 โรคในเด็ก ประกอบด้วย ปากแหว่งเพดานโหว่ หลอดประสาทไม่ปิด ความพิการแขนขา กลุ่มอาการดาวน์ และกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรม พบว่ายังไม่เป็นระบบมากนัก และจำนวนเด็กพิการที่พบในโรงพยาบาลทั่วไปอาจสูงเกินความเป็นจริง ชี้ให้เห็นว่าเรามีความจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบมาก ยิ่งขึ้น ดังนั้นโครงการนี้จึงมีเป้าหมายพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการจดทะเบียนเด็กพิการแต่กำเนิด เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการป้องกันความพิการแต่กำเนิดและให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมแก่เด็กที่พิการต่อไป


          นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดฯ บอกต่อว่า จากความร่วมมือของหน่วยงานรับผิดชอบและภาคีเครือข่ายสำคัญกว่า 3 ปีที่ผ่านมา เราได้มีการทำงานเป็นขั้นตอนและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยได้ร่วมมือกับ สปสช. เพื่อจัดทำแผ่นพับให้ความรู้และรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงความพิการ 5 โรคในเด็ก เพื่อเป็นการกระตุ้นย้ำให้รู้ถึงอันตรายและผลกระทบ พร้อมทั้งได้ริเริ่มโครงการ "อำเภอต้นแบบ 11 อำเภอ" เพื่อวางแผนป้องกัน และดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในระดับพื้นที่ โดยบทบาทของอำเภอต้นแบบจะประกอบด้วย 1.การสร้างระบบการดำเนินงาน ประสานงาน และจดทะเบียนเพื่อป้องกันดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิด เพื่อให้ทราบอุบัติการณ์ของโรค 2.พัฒนาระบบประเมินเพื่อให้การวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น พร้อมส่งต่อข้อมูลและผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง 3.พัฒนาระบบบริการสุขภาพในการดูแลรักษาป้องกัน และฟื้นฟูให้กับเด็กพิการแต่กำเนิดในแต่ละพื้นที่ 4.พัฒนาระบบการติดตามส่งต่อในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือของชุมชนระดับท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 5.ป้องกันความพิการแต่กำเนิดและการเกิดซ้ำในครอบครัวของแต่ละพื้นที่


          ศาตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์บอกทิ้งท้ายด้วยว่า ความพิการแต่กำเนิดนั้นเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะการเสริมวิตามิน โฟเลตในอาหารแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งถ้าให้เด็กผู้หญิงได้รับประทานตั้งแต่ในวัย/data/content/25776/cms/e_begilpq12347.jpgเรียนจะยิ่งดี เพราะถ้ารอให้ถึงตอนตั้งครรภ์ก็อาจจะสายเกินไป


          ขณะที่ ศาสตราจารย์น.พ.มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในการสร้างอำเภอเข้มแข็งว่าระบบการดูแลสุขภาพทุกวันนี้เข้าสู่ยุค DHS (District Health System) คือ การมีส่วนร่วมจัดบริการสุขภาพระหว่างรัฐกับชุมชน แต่ต่อไปในอนาคตจะเป็นยุค CHS (community self-management) คือชุมชนเป็นเจ้าของและมีระบบการจัดการของชุมชนเอง ดังนั้นถ้าจะกระจายอำนาจเราต้องทำให้ชุมชนเก่งสามารถดูแลตัวเองได้เสียก่อนไม่ใช่รอคอยความช่วยเหลือ รวมทั้งต้องส่งเสริมให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นชุมชนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย ส่วนวิธีการทำงานให้ได้ผลสำเร็จนั้น ควรตั้งเป้ามุ่งไปที่ผลลัพธ์และผลกระทบร่วมที่จะเกิดขึ้น มากกว่าการตั้งเป้าพัฒนาแบบไม่มียุทธศาสตร์แบบที่ผ่านมา ซึ่งตรงนี้ทุกหน่วยงานต้องช่วยประสานการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่มาช่วยกลางทางหรือบูรณาการกันตอนจบ เพราะงานใหญ่งานยากไม่มีใครทำคนเดียวสำเร็จ


          แม้ว่าความพิการแต่กำเนิดเป็นภาวะที่ต้องดูแลรักษา แต่หากได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายโดยเฉพาะจากชุมชนในการค้นหา และส่งต่อผู้พิการมารับการรักษาฟื้นฟูอย่างเหมาะสม รวมถึงการคาแนะนาในการป้องกันการเกิดโรค จะช่วยลดจานวนผู้พิการลงได้อีกมาก อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือผู้พิการในชุมชนให้ได้รับการดูแลตามมาตรฐานอีกด้วย


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด


          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ