พัฒนาจิต ยกระดับความสุขให้คนทำงาน

          /data/content/25329/cms/e_defghrtvy134.jpg


        การทำงานในปัจจุบันที่มุ่งเน้นแต่ผลลัพธ์ความสำเร็จ ก่อให้เกิดแรงกดดันแก่คนทำงาน จึงดูเหมือนว่าความสำเร็จและความสุขนั้นสวนทางกัน แต่ในความเป็นจริง ยังมีหนทางที่ความสำเร็จและความสุขอย่างยั่งยืนนั้นเดินควบคู่ไปด้วยกันได้ แถมยังเป็นวิธีง่ายๆ ที่คาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว ซึ่งก็คือ "การพัฒนาจิต" และมีเครื่องมือช่วยไปสู่เป้าหมายอย่างสัมฤทธิ์ผลแค่ "สมาธิ" และ "สติ" ในการทำงาน เป็นองค์ความรู้ของ "กรมสุขภาพจิต"ถูกนำเสนออยู่ภายในงาน "ถนนแห่งความสุข" หรือ "Happy Highway"  ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จัดขึ้นไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อเผยดอกผลที่เริ่มผลิบานของ "แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ"


          โดยกรมสุขภาพจิตเชื่อว่าถ้าคนทำงานมีความสุขก็จะส่งผลให้ทำงานสำเร็จ และองค์กรจะบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมาย แต่ความสุขในแบบกรมสุขภาพจิตไม่ใช่ความสุขแบบทั่วไป หากแต่เป็นความสุขที่ยั่งยืนยกระดับเหนือจากความสุขทางวัตถุ เงิน ทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ ไปสู่ความสุขที่เกิดจากการเข้าใจนเองและเข้าใจโลก ถือได้ว่าเป็นความสุขสงบแบบ Happy Soul ที่ต้องพัฒนาจากส่วนลึกของจิตใจ ให้เกิดเป็นความดีงาม อย่างความรัก ความเสียสละ ความอดทน ให้อภัย ความรับผิดชอบ ฯลฯ ที่บุคลากรแต่ละคนสามารถแสดงออกได้เต็มที่


          ทั้งหมดที่ว่ามานี้ การพาองค์กรเข้าสู่การพัฒนาจิตนั้นช่วยได้ และเป็นที่มาของการพัฒนา โปรแกรม /data/content/25329/cms/e_hiknopuvz678.jpgMindfulness in Organization โดยกรมสุขภาพจิต ที่ใช้สมาธิและสติมาเป็นเครื่องมือสร้างสุขและความสำเร็จให้เกิดขึ้นแก่การทำงาน รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของบุคลากรในองค์กร  ตามตรรกะว่าด้วยเรื่องจิตว่างจากความคิด ก็จะไปลดความเครียดหรือความว้าวุ่นที่สะสมไว้ในจิตสำนึก ส่งผลให้การทำงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น


          และเป็นที่รู้กันดีว่างานในองค์กรจะขับเคลื่อนหรือพัฒนาได้ ก็ต้องอาศัยการประชุมหารือคิดร่วมเป็นจุดเริ่ม  ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำที่แต่ละองค์กรให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติ ฉะนั้น หากองค์กรใดต้องการเข้าโปรแกรมพัฒนาจิต ทางกรมสุขภาพจิตแนะนำว่าควรเริ่มจากจุดนี้เป็นอันดับแรก เพราะการทำงานร่วมกันให้ได้ดีมีคุณภาพ ต้องอาศัยสติในการสนทนาเพื่อให้เกิดการฟังอย่างใส่ใจ จนกลายเป็นการประชุมแบบกัลยาณมิตร การสนทนาจะช่วยเพิ่มการเรียนรู้ มีการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ เน้นแก้ปัญหา แทนที่การประชุมรูปแบบเก่าที่มักเป็นการฟังแบบเอาชนะ


          ส่วนรูปแบบการปฏิบัติก็ไม่ยากแถมขั้นตอนก็ไม่ซับซ้อน เพียงแค่องค์กรจัดกติกาการประชุมใหม่ให้มีการทำสมาธิก่อนการประชุม เน้นการสนทนาอย่างมีสติ และให้สรุปการประชุมด้วยความเห็นทางบวก  นอกจากนี้ยังควรให้บุคลากรในองค์กรทำสมาธิก่อนและหลังเลิกงาน พร้อมส่งเสริมการทำงานอย่างมีสติ ด้วยการเปิดระฆังสติช่วงระหว่างการทำงาน สุดท้ายคือปรับปรุงและพัฒนาบริการและงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาคน และค่านิยมใหม่ขององค์กรที่เน้นเรื่องสมาธิและสติเป็นสำคัญ


          เกี่ยวกับเรื่องนี้ แพทย์หญิงวนิดา สาดตระกูลวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี กล่าวถึงการนำหลักพัฒนาจิตมาใช้ในองค์กรไว้ว่า การนำสติสมาธิมาใช้ในการอยู่ร่วมกันของคนในองค์กร ทำให้การอยู่ร่วมกันมีความเอื้ออาทร รับฟังกันมากขึ้น ถ้ามีการทำสมาธิก่อนการประชุม จะลดความขัดแย้งไปได้เยอะ คนจะฟังกันมากขึ้น


          อย่างไรก็ดี หากต้องการให้การพัฒนาจิตได้ผลในระยะยาว เคล็ดลับของความยั่งยืนทางกรมสุขภาพจิตเผยว่า จากประสบการณ์ที่นำการพัฒนาจิตไปใช้อย่างเนื่อง จำเป็นต้องทำกับคนทั้งองค์กร โดยทำเป็นขั้นตอนเริ่มจากเตรียมการและการปรับกระบวนทัศน์ด้านการพัฒนาจิตแก่ทีมนำขององค์กร จากนั้นให้ผู้ปฏิบัติงานเรียนรู้คุณค่าภายในของตนเองผ่านทักษะการฝึกสมาธิและสร้างสติ แล้วนำไปใช้ทั้งในการทำงานและการประชุม เมื่อผู้ปฏิบัติงานเห็นประโยชน์ในการนำไปใช้ จากในองค์กรก็ขยายไปสู่ผู้รับบริการหรือลูกค้า ยิ่งผลตอบรับดีก็จะมีการขยายนำไปสร้างประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม


          ขณะที่ปัจจัยความสำเร็จขององค์กรที่เข้าสู่โปรแกรมพัฒนาจิตไม่ได้อยู่ที่อื่นใด หากเป็นความมุ่งมั่นและ/data/content/25329/cms/e_afgijlntuwz7.jpgบทบาทของผู้นำองค์กร ต่อการกำหนดทิศทาง ผลักดัน ให้การสนับสนุนมีระบบพัฒนาจิตในองค์กร ที่สำคัญสุดคือมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทำตนเป็นแบบอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านองค์กรเองก็ต้องออกแบบระบบการพัฒนาจิตในเชิงกลยุทธ์ ที่สอดคล้องไปกับแผนพัฒนาบุคลากร คุณภาพงาน และการเติบโตของหน่วยงานหรือบริษัท  แล้วสื่อสารกับคนทำงานทุกระดับให้ชัดเจน พร้อมจัดตั้งผู้อุทิศตนขึ้นเป็นทีมหลักมารับผิดชอบงาน ซึ่งต้องมีการประเมินผลเป็นระยะและพัฒนางานพัฒนาจิตอย่างต่อเนื่อง


          "ถ้าเราได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้ นำเอาความสำเร็จในเรื่องนี้มาใช้ในองค์กร ไม่เพียงแต่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังทำให้สังคมมีทางออกเป็นความหวังสำหรับอนาคตของประเทศไทยด้วย"นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์  หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวสาธารณสุขกล่าวเสริมถึงข้อดีของการนำเอาระบบพัฒนาจิตไปใช้ในองค์กร.


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code