พลังชุมชน เพื่อถนนปลอดภัย
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
ภาพประกอบจากแฟนเพจ ปชส. จังหวัดภูเก็ต
ภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยจัดการสัมมนาวิชาการด้านความปลอดภัยทางถนนภาคใต้ครั้งที่ 5 พลังชุมชนเพื่อถนนปลอดภัย (Community for Road Safety) สร้างประสิทธิภาพในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
เมื่อวันที่ 21ก.พ.62 ที่โรงแรมโนโวเทลภูเก็ตโภคีธราอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคายรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการด้านความปลอดภัยทางถนนภาคใต้ครั้งที่ 5 "พลังชุมชนเพื่อถนนปลอดภัย (CommunityforRoadSafety) โดยมี นายธนิศ เสริมแก้ว นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตพล.ต.ตธีระพล ทิพย์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 นางอรชร อัฐทวีลาภ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม
นางอรชร อัฐทวีลาภ กล่าวว่า ด้วยแผนงานสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัดภาคใต้ (สอจร.ภาคใต้) ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะทำงานสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด (สอจร.) กำหนดจัดสัมมนาวิชาการความปลอดภัยทางถนนภาคใต้ครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด "พลังชุมชนเพื่อถนนปลอดภัย (CommunityforRoadSafety) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดรูปแบบในการทำงานด้านการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการทำงานที่เป็นนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจากผลงานวิชาการ และเป็นแนวทางให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง ตลอดจนเป็นการกระตุ้นและสร้างความตื่นตัวของชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน และเกิดความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนในการบูรณาการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนมากขึ้น
การสัมมนาในครั้งนี้มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมจาก 14จั งหวัดภาคใต้รวมทั้งสิ้น 219 คน ประกอบด้วย เครือข่ายด้านสาธารณสุข (สสจ./รพ./สสอ./รพ.สต.) ตำรวจ กรมการปกครองขนส่ง แขวงทางหลวงป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ศูนย์ปภ.เขต/ปภ./ปภ.สาขา )สถาบันศึกษา (ครู/เยาวชน) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นประชาสัมพันธ์สื่อมวลชนสถานประกอบการเอกชนประกันภัยและสมาคมมูลนิธิต่าง ๆ
นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย กล่าวว่า ปัญหาเรื่องของอุบัติภัยบนท้องถนนเป็นปัญหาสำคัญของทุกประเทศทั่วโลกที่กำลังเผชิญอยู่ทุกปี มีการประมาณการกันว่ามีคนมากกว่า 1.2 ล้านคน เสียชีวิตและบาดเจ็บหรือพิการอีกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเองเสียชีวิตปีละกว่า 20,000 คน ซึ่งประเทศไทยแม้จะมีความพยายามทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มของการบาดเจ็บที่ลดลง แต่การเสียชีวิตและพิการยังคงที่และความสูญเสียที่เกิดขึ้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง และถ้าเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลปีใหม่ ยอดเสียชีวิตต่อวันจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 2 เท่า และที่สำคัญ 1 ใน 3 ของผู้ที่เสียชีวิตเป็นแกนหลักในการดูแลและหารายได้ให้แก่ครอบครัว ซึ่งการใช้พลังชุมชนมามีส่วนร่วมในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้การเกิดอุบัติเหตุลดลงได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป