พระอัจฉริยภาพด้านหัตถกรรม

พระอัจฉริยภาพด้านหัตถกรรม

 

พระอัจฉริยภาพด้านหัตถกรรม

                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัย ในงานช่างตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ขณะที่ประทับอยู่ที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงร่วมกับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ประดิษฐ์ของเล่นของใช้หลายๆ แบบเมื่อพระชนมายุ ๑๐ พรรษา ทรงประกอบวิทยุโดยซื้อหาอุปกรณ์ มาทำเองจนสำเร็จ สามารถฟังวิทยุที่ส่งได้ พระองค์สนพระทัยในการทำเรือแบบต่างๆ ด้วยไม้ ทรงจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยา และทรงประดิษฐ์หุ่นเครื่องบินเล็ก เรือใบจำลอง และเครื่องร่อนต่างๆ และเมื่อทรงประดิษฐ์สิ่งใด เพื่อความสวยงามแล้ว จะทรงคำนึงประโยชน์ใช้สอยของสิ่งนั้นด้วย

 

                    เรื่อใบลำแรกที่ทรงต่อเอง เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๐๗ เป็นเรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class) ชื่อ เรื่อราชปะแตน และลำต่อมาชื่อ เรือเอจี โดยทรงต่อตามแบบสากล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแข่งขันแล่นเรือใบหลายครั้ง ทั้งในและนอกประเทศ เช่น ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ ทรงใช้เรือราชปะแตนแข่งขันกับดุ๊ค ออฟ เอดินเบอระ (The Duke of Edinburgh) พระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ โดยใช้เส้นทางไป – กลับ ระหว่างพัทยา – เกาะล้าน

 

พระอัจฉริยภาพด้านหัตถกรรมพระอัจฉริยภาพด้านหัตถกรรม

                    ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ ทรงต่อเรือใบประเภทโอเค (International OK Class) ตามแบบสากลลำแรกที่ทรงต่อชื่อ เรือนวฤกษ์ หลังจากนั้นทรงต่อเรือใบประเภทนี้อีกหลายลำ เช่น เรือเวคา ๑ เรือเวคา ๒ และเรือเวคา ๓ เป็นต้น

 

พระอัจฉริยภาพด้านหัตถกรรมพระอัจฉริยภาพด้านหัตถกรรม

                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงออกแบบและต่อเรือใบประเภทม็อธ (International Moth Class) จำนวนหลายลำ เรือประเภทนี้ เป็นเรือที่กำหนดความยาวของตัวเรือไม่เกิน ๑๑ ฟุต เนื้อที่ใบไม่เกิน ๗๕ ตารางฟุต ส่วนความกว้างของเรือ รูปร่างลักษณะของเรือ ความสูงของเสา ออกแบบได้โดยไม่จำกัด วัสดุที่ใช้สร้างเรือ อาจทำด้วยโลหะ ไฟเบอร์กลาส หรือไม้ก็ได้ เรือม็อธ ที่ทรงออกแบบ และทรงต่อด้วยพระองค์เอง ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ – ๒๕๑๐ มีอยู่ ๓ แบบ ซึ่งได้พระราชทานชื่อดังนี้ เรือมด เรือซูเปอร์มด และเรือไมโครมด

 

 

 

 

 

 

ที่มา: เวปไซต์ไทยแฮนด์ดิเวิร์คส์ดอทคอม

 

 

 

Update: 1-12-52

อัพเดทเนื้อหาโดย: ภราดร เดชสาร

Shares:
QR Code :
QR Code