พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส เกี่ยวกับความซื่อสัตย์
พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส เกี่ยวกับความซื่อสัตย์
“…คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความ มั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะ สร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒
“…ความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นพื้นฐานขอความ ดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้ เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมี ประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๓๑
“…ผู้ที่ทีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้ จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้ แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความ รู้มากแต่ไม่มีความสุจริตไม่มีความบริสุทธิ์ใจ…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะคณาจารย์โรงเรียนต่างๆ
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๓
“…การที่ประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นรากฐานสำคัญ และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิด แก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙
“…ทุกคนในชาติมีหน้าที่ของตัว และถ้า แต่ละคนทำให้ได้อย่างเข้มแข็ง ซื่อสัตย์ สุจริต ประเทศชาติก็ย่อมต้องปลอดภัย และก้าวหน้าไปอย่างดี…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ในโอกาสวันเฉลิมประชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
“…ความเจริญนั้นจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้อง อาศัยเหตุปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง นอก จากวิทยาการที่ดีแล้ว จะต้องอาศัยความยุติธรรมเที่ยงตรง และความสะอาดสุจริต ซึ่งต้องเป็นไป พร้อมทั้งในความคิดและการกระทำ…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๘
“…การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๒๐
“…เมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องทำใจ ให้มั่นคงเป็นกลาง มีเหตุมีผล ความจริงใจและสุจริตเที่ยงธรรม เพื่อความคิดจักได้กระจ่างแน่วแน่ เห็นถึงจุดหมายและประโยชน์ที่แท้ ของภารกิจของตน อย่างถูกต้องครบ ถ้วนมีอิสรภาพ…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๓๓
“…การที่จะประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและย่อมที่จะ บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาส อีกด้วย…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙
“…คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความ โลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียน คนอื่นน้อยถ้ามีความคิดอันนี้ มีความ คิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอ ประมาณซื่อตรง ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
“…ผู้ที่มีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามสิ่งที่ ยึดมั่นนั้นคือ ความดีเป็นผู้ที่เจริญ เพราะว่าคนเราถ้าทำงานอะไร ไม่มีความคิดที่แจ่มใส ไม่มีความ คิดที่บริสุทธิ์ไม่สามรถที่ปฏิบัติงานได้เป็น ผลสำเร็จที่ดีงามและยั่งยืน…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณ สวนอัมพร
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
“…คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคน นั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็น แก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นความ ไม่มักง่ายหยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เป็นพิเศษ คือความขยันหมั่นเพียรด้านความซื่อสัตย์สุจริต…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณ สวนอัมพร
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
Update 02-12-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : อารยา สิงห์สวัสดิ์