พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส เกี่ยวกับความสามัคคี
พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส เกี่ยวกับความสามัคคี
“…ความสามัคคีนี้ หมายถึงว่ามีสิ่งใดที่อาจ ขัดแย้งซึ่งกัน และกันบ้าง ก็ต้องปรองดองกันเสีย และหา ทางออกโดยที่ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง กันเพราะความสามัคคีเป็นกำลังอย่างสูงสุดของ หมู่ชน…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่กลุ่มชาวไร่ หมู่บ้านตัวอย่าง โครงการไทย-อิสราเอล
จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๓
“…ความพอพระราชหฤทัยของพระราชาอยู่ที่ว่า แต่ ละคนจะทำหน้าที่ของตัวด้วยความตั้งใจ มีความคิดพิจารณาที่รอบคอบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง กัน ส่งเสริมความสามัคคี และปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับ พระราชทานเหรียญราชรุจิ
ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน
วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๑๓
“…ชาติของเรารักษาเอกราชอธิปไตยมาได้จนถึงทุก วันนี้ด้วยความสามัคคี ผู้ใดเดือดร้อนก็ได้รับการ บรรเทาความเดือดร้อนนี่เป็นหลักสำคัญของการปกครอง ประเทศไทยมาแต่โบราณกาล…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารและอาสาสมัคร มูลนิธิราชประจำนุเคราะห์ฯ
ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร
วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๐๘
“…ประเทศไหนถ้าประชาชนพลเมือง มีความสามัคคีกลมเกลียว กันดี มีระเบียบวินัย ประเทศนั้นก็เจริญและอยู่ ในฐานะดีจึงเห็น ได้ว่าความสามัคคีกลมเกลียวกันระหว่างคนในชาติ และ ความเข้าใจรักษาระเบียบวินัยเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่จะช่วยนำประเทศชาติสู่ความวัฒนาถาวร…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
เนื่องในโอกาสเสด็จฯ ออกให้ประชาชนเฝ้า
ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๐๔
“… การที่ประเทศของเราได้รักษาอธิปไตย และดำรงฐานะมา ด้วยดีได้ตลอดมานั้น ก็ด้วยอาศัยความร่วมมือ ของทุกๆฝ่าย ต่างช่วยกันปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วย ความสามัคคีและความพร้อมที่จะเสียสละ เพื่อประโยชน์ ของส่วนรวม…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพีธีตรวจพลสวนสนาม เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ลานพระราชวังดุสิต
๓ ธันวาคม ๒๕๐๔
“…สามัคคี คือการเห็น แก่บ้านเมืองและช่วยกันทุก วิถีทางเพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วย การเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างตรงไปตรง มา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม เพราะประโยชน์ส่วนรวม นั้น คือความมั่นคงของบ้านเมือง…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๙
“…เมืองไทยนี้อยู่ได้ด้วยความสามัคคี ด้วยความเข้ม แข็ง ด้วยความเสียสละ อาศัยความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งกันและกัน และถ้ารักษาความ เห็นอกเห็นใจนี้แล้ว ประเทศชาติของเราก็จะ เป็นที่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์และน่าสบายต่อไปชั่ว กาลนาน…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านจังหวัดขอนแก่น
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
“…บ้านเมืองไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้โดยดี เพราะว่าจิตใจสามัคคีและแสดงออกซึ่งสามัคคี ถ้าตราบใด เรารักษาความสามัคคีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกัน และกันไว้ได้ เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความ สุขตราบนั้น…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะประชาชนจังหวัดราชบุรี
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
“…ความสามัคคีนั้นหมายถึงความเห็นใจซึ่งกันและกัน ทั้งในทางส่วนบุคคลทั้งในด้านวิชาการ ต้องเห็น ใจว่าแต่ละคนมีหน้าที่ มีความรู้ในวิชาการของ แต่ละคน ถ้าดำเนินวิชาการนั้นๆไปตามลำพัง หรือตามแนวเดียว เท่านั้นเอง ก็จะไม่สามารถที่จะดำเนินได้โดยดี…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานสุรสีห์รำลึก
ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน
วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๒๒
“… ความสามัคคีนี้ เป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งหมู่ชน อยู่รวมกันจำเป็นต้องมี ต้องถนอมรักษาและ ต้องนำมาใช้อยู่สม่ำเสมอ ถ้าแต่ละฝ่ายเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยความ ตั้งใจดี ด้วยความสามัคคี ความรู้ความสามารถ และ ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ งานก็สำเร็จสมบูรณ์งด งามตามประสงค์ทุกอย่าง…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
ในการเสด็จออกมหาสมาคม งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
“…คราวใดที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความสุขความ เจริญ แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้อง ประสบเคราะห์กรรมกันทั้งชาติ จึงเป็นหน้าที่ของ เราทั้งหลาย ที่จะต้องร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ ให้ดีที่สุด…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีสวนสนามทหารรักษาพระองค์
ณ ลานพระราชวังดุสิต
วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๐๕
“…ความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งหมู่คณะ ที่จะเกิดมี ขึ้นได้นั้น ย่อมจะเนื่องมาจากความคิด ความเห็น และใจจริงที่มุ่งหมายและยึดมั่นในสิ่งใดสิ่ง หนึ่งรวมกัน…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่สมาคมนักเรียนไทยในรัฐเยอรมันฯ เพื่ออัญเชิญลงพิมพ์ในหนังสือ เพื่อนไทย
สิงหาคม ๒๕๒๑
“…ประเทศของเรารักษาเอกราช อธิปไตยและอิสรภาพให้ สมบูรณ์มั่นคงมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะคนไทย ทุกหมู่เหล่ารู้รักความสามัคคี และรู้จักทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ประสานส่งเส ริมกัน เมื่อทุกคนมุ่งใจปฏิบัติดังนี้ ความถูก ต้องเรียบร้อย ความพัฒนาก้าวหน้า และความมั่นคง เป็นปึกแผ่นจึงบังเกิดขึ้น…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนามทหารรักษาพระองค์
ณ ลานพระราชวังดุสิต
วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๔
“…ประเทศชาติกำลังพัฒนาในทุกด้านและต้องการ ความสามัคคีความเรียบร้อย ผลดีทั้งปวงดังกล่าวจะ เกิดขึ้นได้ ด้วยประชาชนมีหลักของใจอันมั่นคง มีศรัทธาและปัญญาอันถูกต้อง ปฏิบัติตนอยู่ในทาง ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร
ณ จังหวัดกาฬสินธุ์
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕ ๑๒
“…สามัคคีหรือการปรองดองกันไม่ได้หมายความว่าคน หนึ่งพูดอย่างหนึ่งคนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย ต้องมีความแตกต่างกัน แต่ต้องทำงานให้สอด คล้องกัน แม้จะขัดกันบ้างแต่ต้องสอดคล้องกัน…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖
“…ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับความ รักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้องสอง ประการนี้ คือ คุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…”
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๓๒
“…ทุกๆคนในชาติ ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ ถ้า แต่ละคนต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นผลดีที่ สุดที่จะกระทำได้ ด้วยความรักชาติและมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน แล้วชาติของเราจะเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
ณ ลานพระราชวังดุสิต
วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๐๔
“…ความสามัคคี เป็นคุณสมบัติประจำตัวของคนไทย ที่ได้ อบรมสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษโดยไม่ขาดสาย ทั้งนี้ เพราะคนไทยตราบตระหนักว่าหมู่ คณะที่มีสามัคคีแน่นแฟ้นสมบูรณ์ย่อมมีกำลังกล้า แข็งทั้งในการคิดและการปฏิบัติ…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานในการประชุมใหญ่สามัคคีสมาคม
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔
“…ตามประวัติศาสตร์ของเราจะเห็นได้ว่า คราวใด ที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ชาติก็รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความเจริญรุ่งเรือง แต่ คราวใดที่ขาด ความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้องประสบเคราะห์กรรมทั้ง ชาติ…”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
ณ ลานพระราชวังดุสิต
วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๐๕
“…ความสามัคคีนี้ เป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งหมู่ ชนผู้อยู่ร่วมกันจำเป็นต้องมี ต้องถนอมรักษา และต้องนำมาใช้อยู่สม่ำเสมอ เนื่องด้วยสรรพกิจการงานที่เป็นส่วนรวมทุกด้าน ทุกระดับ ต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายร่วมกันทำกิจกรรม
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
ในการเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
Update 01-12-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : อารยา สิงห์สวัสดิ์