ผ่าวิกฤต ‘เด็กพิการด้อยโอกาส’ ด้วย ‘แม่ฮ่องสอนโมเดล’

          /data/content/24703/cms/e_filnvxy15678.jpg


          จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สสค.ชวนผ่าวิกฤตเคอร์ฟิว ‘เด็กพิการด้อยโอกาส’ ด้วย ‘แม่ฮ่องสอนโมเดล’ ผู้ว่าฯ แม่ฮ่องสอน ย้ำ “ไม่ใช่แค่การเปิดศูนย์ฯ” แต่เป็นผลสะท้อนความร่วมมือทั้งในระดับ “ท้องถิ่น-จังหวัด” โดยอาศัยระบบสารสนเทศเชื่อมโยงส่งต่อข้อมูลเด็กด้อยฯทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน


           เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 34 อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) สำนักงานการศึกษาพิเศษ องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเวทีเสวนาบทเรียนการขยายผล “แม่ฮ่องสอนโมเดมล” ซึ่งเป็นระบบการช่วยเหลือเด็กพิการด้อยโอกาสจากศูนย์ฯนำร่องอำเภอแม่สะเรียง ขยายผลสู่ศูนย์ฯอำเภอปาย และปิดท้ายที่ศูนย์ฯอำเภอปางมะผ้า เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด โดยอาศัยระบบสารสนเทศเชื่อมต่อส่งข้อมูลพิการเด็กด้อยโอกาสให้ได้รับการดูแล จาก 4 หน่วยงานหลักในพื้นที่ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานพยาบาล ศูนย์การศึกษาพิเศษ และหน่วยงานสังกัดพ.ม. เพื่อส่งต่อเด็กเยาวชนตั้งแต่แรกเกิด สร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งล่าสุดได้ขยายผลไปยัง 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พิษณุโลก อำนาจเจริญ และน่าน 


          นายสุทธา สายวาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเด็กพิการในวัยเรียน ประมาณ 1,000 คน สามารถอยู่ในระบบการศึกษา 767 คน อยู่นอกระบบการศึกษา 233 คน และมีเยาวชนเพียง/data/content/24703/cms/e_belmqux36789.jpgหนึ่งในสามของจังหวัดเท่านั้นที่เข้ารับบริการขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดให้ได้ และแม้จะมีศูนย์ศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้บริการแล้ว แต่ด้วยข้อจำกัดในความยากจน และความทุรกันดารห่างไกลของพื้นที่ จึงเป็นที่มาในการเปิด“ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาส”ขึ้น โดยใช้อ.แม่สะเรียงเป็นพื้นที่นำร่อง ภายใต้ชุดโครงการวิจัยหลักประกันโอกาสทางการศึกษา โดยมี สสค.และมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้ามาจุดประกาย ผ่านโครงการ “ครูสอนดี” ทำให้ตลอด  2 ปีที่ผ่านมา สามารถช่วยเหลือเด็กพิการด้อยโอกาสได้จำนวนมากกว่า 80 คน พร้อมกับการฝึกอาชีพให้พ่อแม่ และปรับทัศนคติพ่อแม่และชุมชนต่อเด็กพิเศษอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่มาของการขยายผลยกระดับสู่ “แม่ฮ่องสอนโมเดล” โดยการเปิด “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วม” ที่ อ.ปาย เมื่อปีที่แล้ว


          “สำหรับการเปิดศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาส แบบมีส่วนร่วม อ.ปางมะผ้า เบื้องหลังจึงสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันทั้งในระดับท้องถิ่น และจังหวัด มิใช่เพียงภาพความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ในช่วงข้ามคืน แต่ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ที่มีใจช่วยเหลือลูกหลานในท้องถิ่น ผ่านการระดมทุนขั้นต่ำจำนวน 1.5 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างแรงบันดาลใจแก่พื้นที่อื่นให้ลุกขึ้นมาช่วยเหลือเด็กเยาวชนของตนในพื้นที่ จนได้รับการยอมรับ ทั้งในระดับชาติและในระดับนานาชาติ”


          นายพะโยม ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กล่าวว่า ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนพิการในการดูแลจำนวน 340,000 คนทั่วประเทศ ประกอบด้วยเด็กพิการด้านต่างๆจำนวน 3 แสนคน และเด็กด้อยโอกาสที่ได้รับการสงเคราะห์จำนวน 4 หมื่นคน ซึ่งครอบคลุมเด็กพิการได้ร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการที่ยังไม่ครอบคลุม โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แบ่งการดูแลเป็น 2 ส่วน คือ 


          1.เป็นสำนักฯที่ดูแลโรงเรียนที่ทำงานโดยตรงกับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ประกอบด้วย 1.1) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์/ราชประชานุเคราะห์ จำนวน 51 แห่ง 1.2) ศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 77 แห่ง 1.3) โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 46 แห่ง


          2.การเข้าไปกำกับดูแลร่วมในลักษณะเสมือนเขตพื้นที่การศึกษาในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนร่วมจำนวน 18,000 แห่งทั่วประเทศ 


          ซึ่งจากการประมวลผลล่าสุดของดร.นิโคลัส เบอร์เนตต์ อดีตผู้บริหารระดับสูงของ UNESCO และธนาคารโลกพบว่า หากเราช่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่หลุดออกจากระบบการศึกษาคืนสู่ห้องเรียนได้ จะช่วยให้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GPD) สูงขึ้นราว 3% ซึ่งเท่ากับการเติบโตของประเทศไทยในแต่ละปีในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา


           “สำหรับศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสที่ตั้งขึ้นที่อ.แม่สะเรียง อ.ปาย และอ.ปางมะผ้าถือเป็นนวัตกรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นความพยายามร่วมกันหาทางออกให้เด็กพิการด้อยโอกาสที่ยังเข้ารับบริการไม่ทั่วถึง โดยผมมีความพยายามจะขยายศูนย์ให้ครบทุกอำเภอทั่วประเทศ จำนวน 787 แห่ง เพื่อตั้งให้เป็น “ศูนย์การเรียน 1 ศูนย์ 1 อำเภอ” โดยมี “แม่ฮ่องสอนโมเดล” เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งนับ/data/content/24703/cms/e_chostuvwz258.jpgเป็นนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อสำนักบริหารงานศึกษาพิเศษในการขับเคลื่อนขยายผล และการตั้งงบประมาณสนับสนุนในระบบได้อย่างเหมาะสม ผมเชื่อว่า การสร้างความยั่งยืนให้กับเด็กเหล่านี้ต้องเน้นเรื่องทักษะการประกอบอาชีพให้ทั้งตัวเด็ก และครอบครัว ซึ่งปัจจุบันแรงงานคนพิการที่มีฝีมือเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก หากเรายกระดับเด็กกลุ่มนี้ขึ้นมาได้ ก็จะลดภาระประเทศได้” ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กล่าว


            นายอิชิโร มิยาซาวา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้หนังสือ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า บทเรียนสำคัญที่ได้จากแม่ฮ่องสอนโมเดล คือ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การแชร์ข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อส่งต่อเด็ก การเอื้อประโยชน์ในการตั้งศูนย์การเรียนรู้ฯในโรงเรียนเรียนร่วม หรือแนวคิดการปลดล็อคเรื่องงบประมาณสนับสนุนโดยคนในท้องถิ่น เหล่านี้เป็นกรณีตัวอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจให้พื้นที่อื่นๆได้ เพราะบางครั้งแม้โมเดลที่ดีก็ไม่สามารถขยายเต็มพื้นที่ได้เพราะขาดเงินสนับสนุน นวัตกรรมที่เกิดจากความมีส่วนร่วมจากท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะพลังจากภาคประชาสังคมของแม่ฮ่องสอนที่ยินดีออกมาแบ่งปันความร่วมมือทั้งด้านงบประมาณสนับสนุน และแชร์ข้อมูลเพื่อส่งต่อเด็กพิการด้อยโอกาสให้ได้เข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐานเป็นประสบการณ์ที่ผมตั้งใจนำไปแลกเปลี่ยนในวงวิชาการระดับชาติต่อไป


           ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า การเปิดศูนย์ที่ปางมะผ้าจึงเป็นการเน้นย้ำว่า ทั้งองค์กรในระดับประเทศ และองค์กรระดับนานาชาติ มีความมั่นใจในทิศทางการทำงานในลักษณะที่ดึงเด็กที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา เข้ามาสู่ระบบให้ได้ โดยที่ใช้ท้องถิ่นเป็นฐานในการสนับสนุนการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ผ่านสำนักการบริหารงานพิเศษ ที่มีศูนย์การศึกษาพิเศษดูแลอยู่ 77 ศูนย์ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการประกาศให้เห็นว่า ถ้าจังหวัดใดที่สนใจขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กเยาวชนในพื้นที่ของเขา ก็สามารถลุกขึ้นมาทำได้เอง เพราะกลไกทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระเบียบกฎหมายทุกอย่างเอื้ออำนวยให้สามารถทำได้ เพื่อขยายผลสร้างโอกาสในการเรียนรู้ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ได้ในอนาคต


 


 


           ที่มา : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)


           ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ